“อาการเกร็ง” สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
“อาการเกร็ง” เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหานี้กันมาบ้างแล้ว เกี่ยวกับการเกร็งตามจุดต่างๆ ตามร่างกาย และหากจะกล่าวกันตามจริงแล้วอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกๆ ชนิดของเรา อีกทั้งเราไม่สามารถควบคุมมันได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นตอนไหน โดยส่วนใหญ่แล้วอาการเกร็งจะดูไม่มีความรุนแรงอะไรและสามารถหายเองได้ แต่หากเป็นบ่อยๆ เข้า อาการนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงก็เป็นได้
“อาการเกร็ง” เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร?
อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง (muscle spasms) สามารถเกิดได้กับทุกกล้ามเนื้อในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscles) ตามน่อง หลัง ต้นขา หรือมือ และกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscles) ตามทางเดินอาหาร อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเกิดเอง บังคับหรือควบคุมไม่ได้
สาเหตุ
โดยปกติแล้ว อาการนี้มักมีสาเหตุมาจากการขาดน้ำ ใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไป หรือขาดเกลือแร่ที่จำเป็น บางทีก็เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นเส้นประสาท การรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเห็นผลดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นกล้ามเนื้อตรงไหนและสาเหตุของอาการ แต่ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง ดูแลตัวเองที่บ้านก็หายได้
อาการ
อาการเกร็งอาจเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจมีความรุนแรงน้อยจนไปถึงรุนแรงมากและมักพัฒนาขึ้นตามระยะ โดยอาการอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรืออาจมีอาการเป็นพักๆ แล้วหาย โดยอาการดังกล่าวอาจรุนแรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรืออ่อนเพลีย และอาจเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้
- มีอาการสั่น
- ควบคุมการกะพริบตาไม่ได้ ตากระตุก และตาแห้ง
- คอบิดเกร็งไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
- พูดลำบาก น้ำลายไหล พบปัญหาในการเคี้ยว และการกลืน
- เสียงพูดเบาลงจนคล้ายเสียงกระซิบ
- เดินลากขา หรือเป็นตะคริวที่เท้า
- ปลายเท้าบิดเข้าด้านใน
- เป็นตะคริวที่มือหรือปลายแขนเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้มืออย่างการเขียนหนังสือ หรือการเล่นดนตรี
อาการเกร็ง กับ โรคหลอดเลือดสมอง
อาการเกร็ง ในโรคหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการที่พบได้บ่อย หากไม่รีบแก้ไขอาจสายเกินไป ซึ่งอาการนี้เป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วย อัมพาต ครึ่งซีกโดยร่างกายไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ทำให้เกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ จะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้ออกแรงที่มากกว่าปกติการ หาว ไอ การออกแรงมากๆ หรือ พยายามเคลื่อนไหวที่มากเกินไปอาจมีอาการเกร็งเกิดขึ้นได้สามารถเกิดได้ทั้งแขนและขา อาการเกร็งดังกล่าวจะเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นอัติโนมัติ ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้เพราะระบบประสาทที่ควบคุมการตึงตัวของกล้ามเนื้อจะสูญเสียการทำงาน หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยไว้ในท่าเกร็งนานๆ กล้ามเนื้อจะเสียสภาพและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาคือกล้ามเนื้อหดส้ันและข้อยึดติด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวทำให้ระดับความสามารถของการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง
แนวทางการรักษา
การรักษาอาการเกร็งในกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทาง ดังนี้
1.รักษาด้วยการทานยา
โดยแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ อาจฉีดโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum Toxin) หรือโบท็อกซ์เข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ได้รับผลกระทบเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็ง และช่วยปรับท่าทางของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฉีดยาทุก 3-4 เดือน
2. รักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการทานยามากเท่าที่ควร แพทย์อาจทำการพิจารณาผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก โดยจะเป็นการผ่าตัดนำขั้วไฟฟ้าลงไปในสมอง โดยกระบวนการทำงานจะเชื่อมต่อกับตัวปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ถูกฝังอยู่ในหน้าอก เพื่อกระตุ้นสมองส่วนที่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการของภาวะนี้ได้
3. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ารับการทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด เพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้การทำงานของร่างกายดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเสียงอาจเข้ารับการทำอรรถบำบัด เพื่อพัฒนาทักษะการพูด นอกจากนี้ การยืดกล้ามเนื้อและการนวดอาจช่วยบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อได้
การทำกายภาพเพื่อลดอาการเกร็งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
1. การเหยียดยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
ใช้หลักการเหยียดยืดเอ็นและกล้ามเนื้อที่หดเกร็งของกล้ามเนื้อในทิศทางตรงกันข้ามทั้งส่วนแขนและขา โดยเริ่มจากการเหยียดข้อนิ้วมือส่วนต้น, ส่วนปลาย และข้อระหว่างข้อนิ้วมือและนิ้วมืออย่างช้า ๆ และค่อยๆยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขน ทำค้างนานประมาณ 20-30 วินาที ระหว่างการยืดไม่ควรทำให้เจ็บ
2. การจัดท่าควรจัดท่าในลักษณะที่ผ่อนคลาย
ไม่ควรจัดในท่าที่กระตุ้นในเกิดอาการเกร็งขณะนอน ควรอยู่ในลักษณะนอนหงาย หรือนอนตะแคงไม่ทับด้านที่อ่อนแรงควรเหยียดแขนและขาออกให้ สุดโดยมีหมอนรองไม่ควรนำหมอนมารองใต้ฝ่าเท้าด้านที่อ่อนแรงของผู้ป่วยเพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการเกร็งของขา
3. อุปกรณ์พยุงข้อมือและมือ
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการค้างของข้อ มือและนิ้วมือโดยข้อมืออยู่ ในลักษณะเหยียดตรงและนิ้วมือเหยียดกางออกเพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณมือในกรณีที่มีอาการเกร็งจนเกิดการหดรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณมือ
การป้องกันอาการเกร็งสำหรับบุคคลทั่วไป
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อป้องกันโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะนี้
- ระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บที่สมอง
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษบางชนิดอย่างก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์และโลหะหนักอย่างตะกั่ว
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้
- รีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการใดๆ ที่เป็นสัญญาณของภาวะนี้
อย่างไรก็ดี แม้อาการนี้จะยังไม่มีการป้องกันที่แน่นอน แต่ทุกคนก็สามารถทำตามคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากที่กล่าวมาได้ในเบื้องต้น ซึ่งหากใครที่มีอาการที่รุนแรงเกินกว่าจะรับมือได้เอง ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะได้รู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ และเตรียมตัวตั้งรับได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกจุดและมีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถหายได้และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกตินั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน