การทำกายภาพบำบัดกับผู้ใช้ “อวัยวะเทียม”
“อวัยวะเทียม” สิ่งที่ช่วยเติมเต็มใครหลายๆ ให้ใช้ชีวิตได้ปกติเช่นคนอื่นๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเราทุกคนต่างมีอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นรถ บ้างเป็นโน้ตบุ๊ค หรือบ้างเป็นโทรศัพท์ แต่สำหรับผู้พิการแล้ว “อวัยวะเทียม” คือสิ่งที่ทำให้พวกเขามั่นใจและคอยอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขาในทุกๆ วัน ให้ใช้ชีวิตได้ปกติ ทำงานได้ปกติ เดินได้ปกติ ทานข้าวได้ปกติ หากแต่เมื่อพวกเขาต้องใส่ทุกวันความเจ็บปวดหรือเมื่อล้าตามอวัยวะของร่างกายก็ย่อมต้องเกิดขึ้น ดังนั้นจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อบรรเทาอาการปวดดังกล่าว
“อวัยวะเทียม” เครื่องช่วยอำนวยความสะดวกและความมั่นใจให้ผู้พิการ
อวัยวะเทียม หรือเรียกอีกอย่างว่า “ อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้กับร่างกาย ในความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน มักจะหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ เป็นต้น
งานกายอุปกรณ์ คือ
งานกายอุปกรณ์ คือ การตรวจวัดขนาด ออกแบบ ประดิษฐ์ ผลิต ดัดแปลง แก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว ซึ่งงานกายอุปกรณ์ต้องอาศัยทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะบุคคลค่อนข้างสูง ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านกายวิภาคประยุกต์ ด้านชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวประยุกต์พอสมควร
กายอุปกรณ์เทียม คือ (
หมายถึง กายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหายไป เช่น ขาเทียม แขนเทียม นิ้วมือเทียม เป็นต้น ในทางกายอุปกรณ์สำหรับแขนขา หมายถึง อุปกรณ์ใดๆก็ตามภายนอกร่างกาย ที่นำมาทดแทนส่วนของระยางค์ (แขน-ขา) ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งไม่เคยมีอยู่เลยหรือขาดหายไป
ผู้ช่วยด้านต่างๆ ของผู้พิการ
-
นักกายอุปกรณ์
คือ อาชีพที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับแพทย์และพยาบาลด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา โดยทำหน้าที่ฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยที่มีปัญหาสูญเสียอวัยวะหรือมีอวัยวะภายนอกส่วนหนึ่งส่วนใดผิดปกติ โดยพวกทำหน้าที่สร้าง “กายอุปกรณ์เทียม” ทดแทนอวัยวะที่หายไป และสร้าง “กายอุปกรณ์เสริม” ช่วยให้อวัยวะผิดปกติกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง
-
นักกายภาพบำบัด
คือ ผู้ที่มีความชำนาญในการให้บริการทั้งในผู้ป่วยระบบประสาทและกระดูกกล้ามเนื้อ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้หลักการของการเคลื่อนไหว กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ที่ผสมผสาน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย ได้แก่ การแนะนำการออกกำลังกาย
กายอุปกรณ์เทียมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ระยางค์บน และ ระยางค์ล่าง
-
ส่วนระยางค์บน ได้แก่
- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกปลายแขน
- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อศอก
- แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกต้นแขน
-
ส่วนระยางค์ล่าง ได้แก่
- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อสะโพก
- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา
- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า
- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง
- ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเท้า
- กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของเท้า
หน้าที่ของกายอุปกรณ์เทียม
- จำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- บรรเทาอาการเจ็บปวด
- ช่วยส่งเสริมให้กระดูกที่หัก ติดกันเป็นปกติ
- ป้องกันอวัยวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ข้อเคลื่อนหลุด เอ็นฉีกขาด เป็นต้น
การทำกายบำบัดให้ผู้พิการที่ต้องใช้อวัยวะเทียมแต่ละประเภท
-
การทำกายภาพบำบัดในผู้พิการแขน
1. Forequarter amputation
ผู้ป่วยที่ได้รับการทํา Forequarter amputation จะไม่เหลือ shoulder joint และ scapular ดังนั้นในการออกกําลังกล้ามเนื้อ จึงมักมุ่งไปที่กล้ามเนื้อภายนอก กลุ่มที่ใช้ควบคุมแขนเทียมโดย ซึ่งมักเป็นกล้ามเนื้อไหลอีกข้างหนึ่งกล้ามเนื้อทอง และกล้ามเนื้ออก ฉะนั้นจึงจําเป็นต้องออกกําลังกล้ามเนื้อเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพราะการทํา Forequarter prosthesis นั้นยากมากโดยเฉพาะการควบคุมแขนเทียมให้ทํางานได้ดีส่วนใหญ่แขนเทียมลักษณะนี้มักจะทําเพื่อความสวยงามเท่านั้น
2. Shoulder-disarticulation และ Very-short AE amputation
ในผู้ป่วยที่ได้รับการทําผ่าตัด shoulder disarticulation หรือผู้ป่วยที่มีตอแขนสั้นมากนั้น นอกจากจะเพิ่มกําลังกล้ามเนื้อจากอวัยวะส่วนที่เหลือให้ดีแล้ว ควรจะเน้นการออกกําลังกล้ามเนื้อกลุ่ม elevation และ depression, protraction ของ scapular รวมทั้ง การออกกําลังของ scapular ด้านตอแขนเท่าที่จะทําได้ การออกกําลังอาจจะใช้วิธีให้ผู้ป่วยออกแรงของตอแขน ต้านแรงจากนักกายภาพบําบัด หรือออกแรงยกแผ่นน้ำหนักซึ่งสามารถผูกยึดติดกับตอแขนได้
3. Medium และ Long AE amputations
ในผู้ป่วยที่ได้รับการทําตัดแขน และตอแขนค่อนข้างยาว (ตอแขนยิ่งยาวยิ่งดี) นั้น การออกกําลังแขนข้างปกติควรออกกําลังเหมือน shoulder disarticulation คือเน้น elevation, depression และ protraction ของ scapular ของ 2 ด้านปกติสําหรับที่ตอแขนนั้น ควรจะเพิ่ม flexion, extension adduction และ abduction โดยอาจใช้น้ำหนักจากถุงทราย, แรงต้านจากนักกายภาพบําบัด หรือ ระบบรอกและสปริงสําหรับออกกําลัง ควรจะเน้น flexion และ abduction ของตอแขนให้มากที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการตัดแขนลักษณะนี้ มักไม่พบปัญหาแทรกซ้อน เรื่อง การจํากัดของข้อไหล่ ดังนั้นจึงควรมุ่งฝึกให้ข้อไหล่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ rotation และ combi-movement ร่วมด้วย
-
การทำกายภาพบำบัดในผู้พิการขา-เท้า
1. นั่งข้างเตียง
ยันแขนทั้ง 2 ข้างบ้านหมอนหรือไม้ยกตัว เพื่อยกลำตัวขึ้นลง
2. นอนหงายยันเข่า
ท่านี้ให้ผู้ป่วยนอนหงายชันเข่าขาข้างที่ปกติ และยกสะโพกขึ้น-ลงช้าๆ
3. นอนตะแคงยกตอขา
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับขาข้างปกติ หลังจากนั้นออกแรงยกตอขาขึ้นด้านบนอย่างช้าๆ
4. หนีบขาเข้าหากัน
ท่านี้ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนบนเตียง เอาหมอนขั้นระหว่างขาข้างปกติและตอขา หลังจากนั้นให้ออกแรงหนีบขาทั้ง 2 ข้างเข้าหากันแล้วคลายออก
ท้ายที่สุด นอกจากการมีอวัยวะเทียมที่ดี แข็งแรง และทนทานแล้ว สิ่งสำคัญของการรักษาสุขภาพของผู้พิการคือการมีสุขภาพกล้ามเนื้อที่ดีเช่นเดียวกัน เพราะการใช้อวัยวะเทียมไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้แรงเป็นอย่างมากจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ในการขับเคลื่อนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นการดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพราะผู้พิการจะไม่ใช่แค่ใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไปเท่านั้น หากแต่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจว่าจะปลอดภัยด้วยนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน