“หางตากระตุก” โชคราง หรือ สัญญาณโรค?
“หางตากระตุก” เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอกับอาการนี้มาก่อน ไม่ว่าจะหางตาข้างซ้ายหรือจะขวาก็ต้องต่างเคยเป็นกันทั้งสิ้น แต่ความน่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่านอกจากอาจจะเป็นอาการป่วยต่างๆ ทางร่างกายนั้น อาการปลายตากระตุกยังถือว่าเป็นความเชื่อของคนไทยเราในเรื่องของโชครางอีกด้วย โดยจะเชื่อกันว่ากระตุกข้างขวาร้าย กระคุกข้างซ้ายดี นั่นเอง อย่างไรก็ดี อาการนี้ไม่ได้จู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาเอง แต่มีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดขึ้นมา แล้วสัญญาณตากระตุกนี้หากไม่เกี่ยวกับเรื่องโชคแล้วล่ะก็ จะมีอันตรายหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราต้องหาคำตอบ
“หางตากระตุก”เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
อาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่จะพบว่าอาการไม่มีความรุนแรงใดๆ แต่บางรายอาจพบว่ามีอาการกระตุกอย่างรุนแรงจนทำให้รู้สึกต้องการที่จะหลับตาลงหรือก่อความรำคาญ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มักจะเกิดกับเปลือกตาบนและมักเกิดกับตาทีละข้างมากกว่า
สาเหตุ
1. อาการเมื่อยล้าทางสายตา
อาการเมื่อยล้าทางสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการเมื่อยล้าทางสายตาจากอุปกรณ์ดิจิตอล จากการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากเกินไป ซึ่งนี่ยังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของเปลือกตากระตุก
2. ความเครียด
แน่นอนว่า ความเครียดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการตากระตุก โยคะ ฝึกการหายใจ ใช้เวลากับเพื่อนหรือสัตว์เลี้ยง และใช้เวลาในกิจวัตรประจำวันมากขึ้นเป็นวิธีลดความเครียดอันเป็นสาเหตุให้เกิดตากระตุกได้ดี
3. ความล้า
การนอนหลับไม่เพียงพอถือว่าเป็นอีกสาเหตุหลักๆ ของการเกิดตากระตุก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรนอนให้เพียงพอและจัดตารางการนอนให้สม่ำเสมอสามารถช่วยได้
4. ภูมิแพ้
ผู้ซึ่งมีอาการ ภูมิแพ้ที่ตา อาจจะรู้สึกคัน บวม และตาแฉะ การขยี้ตาเนื่องจากอาการภูมิแพ้จะปล่อยสารฮีสตามีนเข้าไปในเนื้อเยื่อเปลือกตาและฟิล์มน้ำตาซึ่งอาจทำให้ตากระตุกได้
5. คาเฟอีน
การดื่มคาเฟอีกมากเกินไปอาจทำให้เกิดตากระตุก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรลดเครื่องดื่มที่มีสารชนิดนี้ลง และลองดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ทดแทน
ตากระตุกแบบไหนที่ถือว่าผิดปกติ
โดยทั่วไปแล้วหากเกิดอาการตากระตุกไม่ถือว่าเป็นสัญญาณของโรคร้ายใดๆ แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความแน่ใจ เช่น
-
ตากระตุกติดต่อกันทุกวันเกิน 1 สัปดาห์
-
ตากระตุกแรงมากจนตาปิด รบกวนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
-
มีอาการกระตุกที่บริเวณอื่นด้วย เช่น มุมปาก
-
ตากระตุกพร้อมกันทั้งสองข้าง
-
มีอาการผิดปกติที่ตาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตาแดง มีขี้ตามาก เป็นต้น
โรคที่มีความเป็นไปที่จะเกิดขึ้น
-
กล้ามเนื้อเปลือกตาเขม่น (Eyelid Myokymia)
คือ ภาวะที่เปลือกตามีอาการเต้นหรือกระตุก เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยมีอาการเต้นหรือกระตุกเฉพาะบริเวณเปลือกตา
-
กล้ามเนื้อเปลือกตาเกร็งกระตุก (Blepharospasm)
ภาวะที่กล้ามเนื้อเปลือกตาหดตัวผิดปกติ ทำให้กะพริบตาบ่อยขึ้น หลับตาทั้งสองข้างโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเริ่มจากอาการกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกเล็กน้อย และอาการค่อย ๆ เป็นมากขึ้น จนอาจรบกวนการมองเห็น
-
กล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งกระตุกครึ่งซีก (Hemifacial Spasm)
เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งจะเป็นรูปแบบของการ “กระตุก” ของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเกิดที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง อาการกระตุกจะเกิดขึ้นในกลุ่มของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
แนวทางการป้องกันและรักษา
1.เริ่มต้นด้วยการกระพริบแรงๆ
โดยผู้ป่วยต้องปิดตาให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วลืมตาขึ้นให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยการทำเช่นนี้ด้วยความเร็วที่ต่อเนื่องจะเป็นการกระจายน้ำตาห่อหุ้มทั่วตา วิธีนี้จะผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา เปลือกตา เป็นการยืดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและเพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่ตา
2.ผ่อนคลายด้วยการนวด
นวดเบาๆ บริเวณด้านล่างของเปลือกตาของผู้ป่วย ในลักษณะเป็นวงกลมโดยใช้นิ้วกลาง นวดเปลือกตาที่กระตุกประมาณสามสิบวินาที เพื่อเป็นการเพิ่มการไหลเวียนเลือดเช่นเดียวกับการกระตุ้นและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน
3.ลองใช้วิธีวารีบำบัด
พรมน้ำลงบนเปลือกตาที่ปิดอยู่ โดยสลับกันระหว่างน้ำเย็นและน้ำอุ่น น้ำเย็นจะหดหลอดเลือดและน้ำอุ่นจะขยายหลอดเลือดเดียวกันนั่นเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ตาซึ่งสามารถช่วยเรื่องอาการกระตุกได้ โดยให้ทำขั้นตอนนี้ซ้ำ 7-8 ครั้ง
4.ปิดเปลือกตาลงครึ่งหนึ่ง
เพราะการหรี่ตาและการช่วยให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น คือการไม่ใช้ดวงตาจนหักโหมเกินไป เพราะนี่อาจส่งผลให้เกิดอาการกระตุกเนื่องจากอาการล้าของดวงตาได้นั่นเอง อย่างไรก็ดี แม้การที่ตากระตุกจะไม่ได้ส่งผลร้ายแรงโดยทั่วไป แต่ถ้าหากเกิดการกระตุกที่ผิดสังเกตตามข้างต้ยนที่ได้กล่าวไว้ ผู้ป่วยควรรีบพาตนเองไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคกล้ามเนื้ออื่นๆ ก็เป็นได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ผู้ป่วยต้องดูแลตนเอง นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และใช้สายตาอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพของกล้ามเนื้อตาและสมรรถภาพที่ดีของประสาทการมองเห็นร่วมด้วย
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นวดประคบร้อน-เย็นไม่เหมือนกัน หากใช้ผิดอาจส่งผลเสีย
- “เทปบำบัด”หนึ่งเทคนิคลดอาการปวดที่นักกีฬาควรรู้
- “จิตวิทยาการกีฬา” สิ่งสำคัญในการแข่งที่ขาดไม่ได้