“หลอดเลือดหัวใจ” โรคอันตรายที่ควรระวัง
“หลอดเลือดหัวใจ” ฟันเฟืองที่สำคัญของการทำงานในระบบสูบฉีดเลือด เรียกได้ว่า “หัวใจ” นั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งของคนเราเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นรบบสูบฉีดเลือด การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดของเราก็เกิดขึ้นจากระบบนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหัวใจและการทำงานของมันจึงสำคัญกับเรานัก ยิ่งไปกว่านั้นในการสูบฉีดเลือดจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดเครื่องมือสำคัญอย่างหลอดเลือดในหัวใจเพราะต้องคอยลำเลียงเลือดในตลอดเวลาการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ หากอวัยวะชนิดนี้มีความผิดปกติเพราะจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยตรง
“หลอดเลือดหัวใจ” ทำหน้าที่อะไร และทำงานอย่างไร?
หลอดเลือดหัวใจ (coronary arteries) เป็นหลอดเลือด ชนิดหลอดเลือดแดงใน การไหลเวียนของเลือดรอบหัวใจ (coronary circulation) ซึ่งขนส่งเลือดที่เติมออกซิเจนแล้วไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนต่อเนื่องตลอดเวลาในการทำงานและดำรงอยู่ได้ เช่นเดียวกันกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย หลอดเลือดหัวใจพันรอบหัวใจทั้งหมด สองแขนงหลักคือหลอดเลือดแดงหัวใจซ้าย (LCA) และหลอดเลือดแดงหัวใจขวา (RCA) หลอดเลือดหัวใจสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามพื้นที่ของหัวใจที่ให้การไหลเวียน หมวดหมู่เหล่านี้คือ หลอดเลือดเยื่อบุหัวใจชั้นนอก (epicardial) อยู่เหนือเยื่อบุหัวใจชั้นนอกสุด (epicardium) และหลอดเลือดเล็ก (microvascular) อยู่ใกล้เยื่อบุหัวใจชั้นใน (endocardium)
การทำงานของหลอดเลือดหัวใจ
การทำงานที่ลดลงของหลอดเลือดหัวใจสามารถนำไปสู่การลดการไหลของออกซิเจนและสารอาหารไปยังหัวใจ สิ่งนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติหรือโรคของหลอดเลือดหัวใจอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย และแม้กระทั่งเสียชีวิต
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ และมีชื่อว่าอเธอโรมา (Atheroma) การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) รวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่
- คอลเรสเตอรอล
- ความดันโลหิต
- การสูบบุหรี่
- ภาวะหลอดเลือดอุดตัน
อาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจที่สามารถสังเกตได้
-
เจ็บหน้าอก
ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอกบริเวณกลางหรือด้านซ้ายของหน้าอกลามไปจนถึงช่วงแขน คอ กราม ใบหน้าหรือช่องท้อง และอาจบรรเทาลงได้เมื่อนั่งพัก หรือหยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด โดยสาเหตุมักเกิดจากการที่หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย หรือความเครียด เป็นต้น
-
หายใจติดขัด
ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจติดขัดหรือหอบเหนื่อยรุนแรง หากหัวใจไม่ได้รับเลือดที่เพียงพอในการส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
-
หัวใจวาย
หลอดเลือดอุดตันอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายและอาจถึงตายได้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลา ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกและปวดบริเวณหัวไหล่หรือแขน ประกอบกับการหายใจติดขัดและเหงื่อออกก่อนเกิดภาวะหัวใจวาย หากผู้ป่วยมีภาวะความดันตกหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติและเสียชีวิตได้
-
หัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจอ่อนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจติดขัดจากภาวะน้ำท่วมปอด เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือหากมีอาการน้ำท่วมปอดรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การรักษาด้วยตนเอง
- งดสูบบุหรี่
- ลดน้ำหนักส่วนเกิน
- ควบคุมความเครียด
- หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
- ออกกำลังกายหรือกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือปรับเปลี่ยนเมนูอาหารต่างๆ ที่เคยรับประทานให้มีคอลเรสเตอรอลน้อยลง
การรักษาด้วยการใช้ยา
หากอาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งมีหน้าที่ลดความดันโลหิตหรือขยายหลอดเลือดเพื่อให้การไหลเวียนและการสูบฉีดเลือดในหัวใจดีขึ้น ยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงจึงควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดใช้ยาหากไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่ออาการที่ดีขึ้น โดยการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น
-
การทำบอลลูนหัวใจ
มักเป็นวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉิน โดยการรักษาวิธีนี้บอลลูนที่พองตัวจะช่วยผลักไขมันที่อุดตันออกจากหลอดเลือดหัวใจ
-
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการทำบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดชนิดนี้มักใช้กับภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ โดยมีจุดประสงค์ให้หัวใจของผู้ป่วยสามารถไหลเวียนเลือดได้เอง
-
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยยาได้แล้ว ต้องทำการเปลี่ยนหัวใจใหม่ โดยหลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการข้างเคียงหรือผลการตอบรับระหว่างร่างกายและหัวใจใหม่อยู่เสมอ ท้ายที่สุด สิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาคือการป้องกันและดูแลตัวเอง เมื่อสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจให้แน่ใจ เพราะโรคหัวใจหรือหลอดเลือดต่างๆ ของหัวใจไม่ควรปล่อยหรือละเลยให้อาการมีความเรื้อรัง เนื่องจากจะคอยแต่ส่งผลเสียให้กับสุขภาพเท่านั้น ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดให้มากที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน