หน้าเบี้ยว-มือชา อาการแบบนี้เป็นอะไรกันแน่?
“หน้าเบี้ยว” “มือชา” อาการที่ดูเหมือนเป็นอาการเล็กๆ ไม่ร้ายแรง แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าอาการเพียงเท่านี้ก็เป็นสัญญาณบอกอะไรได้หลายอย่างมากๆ เนื่องจากหลายโรคร้ายแรงก็มีอาการเช่นนี้ที่แสดงให้เห็นได้ชัด แต่หากจะกล่าวกันตามจริงอาการ หน้าเบี้ยว มือชา หรือลิ้นแข็ง จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยทันที โดยมักจะมีอาการเตือนมาก่อน เช่น การปวดหลังหู ปิดตาไม่สนิทและแสบตา ทั้งนี้โรคนี้เกิดขึ้นกับใครก็ได้ พบได้บ่อยในคนทุกวัยทุกเพศ ทุกอาชีพและทุกเชื้อชาติ โอกาสในการเกิดโรคนี้สูงถึง 1 ใน 500 คนเลยทีเดียว
หน้าเบี้ยว – มือชา อาการแบบนี้คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร?
อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) เกิดจากการทำงานผิดปกติของเส้นประสาท และเป็นโรคอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
สาเหตุ
อาการนี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกเกิดการอ่อนแรง ท้าให้หลับตาได้ไม่สนิท มุมปากตก และขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้โดยเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 โรค Bell’s palsy พบในช่วงระหว่าง 13-34 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ถึง 3 เท่าในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์หรือในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และในผู้ที่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง
อาการ
อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง โดยจะมีอาการ ดังนี้
- มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
- ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุมปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
- บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู
- มีอาการระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
- รับรสชาติได้น้อยลง
หน้าเบี้ยวแบบนี้ถือว่าเป็นอัมพาตหรือไม่?
โรคหน้าเบี้ยวกับโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตนั้นเป็นคนละโรคกัน โดยโรคหน้าเบี้ยวจะเกิดความผิดปกติขึ้นที่เส้นประสาท แต่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดความผิดปกติขึ้นที่เนื้อสมอง แม้จะมีอาการหน้าเบี้ยวเหมือนกัน แต่โรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แขนและขาอ่อนแรง มีอาการชาตามแขน เป็นต้น
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
-
หญิงตั้งครรภ์
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า หญิงตั้งครรภ์หรือจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย รวมถึงหลังคลอดบุตรด้วย
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว
เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
-
กรรมพันธุ์
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทและหลอดเลือด
-
ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ
ซึ่งอาจได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง โดยอาจส่งผลถึงเส้นประสาทที่เป็นตัวความคุมการเคลื่อนไหวของใบหน้าได้
-
ผู้ที่มีความเครียดสูง
โดยอามีความเครียดมาจากงานหรือชีวิตส่วนตัว ร่วมด้วยการพักผ่อนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
แนวทางการรักษา
1.รักษาด้วยยา
โรคนี้จะดีขึ้น และสามารถหายได้เองโดยใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณ 65 % แต่หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึง 97 % โดยโรคนี้จะมีวิธีการรักษา ดังนี้
- ใช้ยาสเตียรอยด์
เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ควรเริ่มใช้หลังจากเกิดอาการภายใน 72 ชั่วโมง โดยจะต้องรับประทานประมาณ 2 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง และจะมีการปรับยาตามที่แพทย์แนะนำ
- ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัส
จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม และงูสวัด
2.รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
- การใช้แผ่นความร้อนไฟฟ้า
ประคบบริเวณใบหน้าข้างที่อ่อนแรง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
- การกระตุ้นไฟฟ้า
เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงไม่ให้ฝ่อลีบเล็กลง
- การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า
เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อในขณะที่รอการฟื้นตัวของเส้นประสาท
ตัวอย่างท่าบริหารใบหน้า
ท่าที่ 1 ให้ฝึกยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง
ท่าที่ 2 ให้ฝึกขมวดคิ้วเข้าหากัน
ท่าที่ 3 ให้ฝึกย่นจมูก
ท่าที่ 4 ให้ฝึกหลับตาหลับตาปี๋
ท่าที่ 5 ให้ฝึกทำจมูกบาน
ท่าที่ 6 ให้ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก
ท่าที่ 7 ให้ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้น
ท่าที่ 8 ให้ฝึกทำปากจู๋
อย่างไรก็ดี แม้โรคนี้จะสามารถหายเองได้ตามเวลา แต่การปล่อยทิ้งไว้นานก็ไม่ใช่เรื่องดี ดังนั้น หากใครที่ส่งสัยว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทหรือหลอดเลือด รวมถึงผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำการรักษาและรู้วิธีป้องกันได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน