รักษาข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น (Frozen Shoulder)
รักษาข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น (Frozen Shoulder)
รักษาข้อไหล่ติด ข้อไหล่ยึด (Frozen shoulder) หรือสามารถเรียกได้อีกชื่อในทางการแพทย์คือ ภาวะเอ็นข้อไหล่อักเสบ (Adhesive Capsulitis) ซึ่งในความหมายของมันก็หมายถึงการเจ็บข้อไหล่ร่วมกับมีอาการติดขัด เป็นผลมาจากการอับเสบของข้อไหล่และพังผืดรอบๆ ข้อไหล่ที่ทำให้การเคลื่อนไหวของถูกจำกัด ภาวะข้อไหล่ติดนั้นเป็นอีกอาการปวดที่สามารถพบได้บ่อยทั่วไปในคนไข้ที่มีอาการปวดไหล่ และการรักษาข้อไหล่ติดนั้นหากได้รับการวินิจฉัย และได้รักษาที่รวดเร็วจะทำให้การรักษาข้อไหล่ติดหายได้ไวเช่นกัน
อาการของภาวะข้อไหล่ติด?
อาการภาวะข้อไหล่ติดนั้นจะมีอาการปวดตื้อๆ หรือ รู้สึกเจ็บบริเวณหัวไหล่ และมักจะรู้สึกปวดมากขึ้นเวลาที่คนไข้ยกแขน เคลื่อนไหว หรือ ขยับหัวไหล่ โดยคนไข้สามารถสังเกตอาการได้ง่ายๆจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการเคลื่อนไหวของหัวไหล่มาเกี่ยวข้องด้วยเช่น:
- ยกแขนขึ้นได้ไม่สุด หรือยกได้ไม่เกินระดับหัวไหล่
- ขว้างลูกบอลไม่ได้
- เอื้อมแขนไปด้านหน้าไม่ได้
- เอามือไปด้านหลังไม่ได้ เช่น ถอดชุดชั้นใน หรือ เกาหลัง
- เอื้อมมือไปด้านข้างไม่ได้ ต้องใช้ลำตัวบิดช่วย เช่น การเอื้อมมือเพื่อดึงสายเข็มขัดนิรัดภัยของรถยนต์
- นอนทับข้างที่มีอาการปวดไม่ได้
ภาวะข้อไหล่ติดนั้นในบางครั้งจะมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับ ภาวะเอ็นใต้สะบักอักเสบ ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อรักษาข้อไหล่ติดนั้น หากวินิฉัยได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะทำให้คนไข้รักษาหายได้ในระยะเวลาไม่นาน นอกจากนี้อาการปวดไหล่อาจมีสาเหตุมาจากได้อีกเช่นกัน เช่น ข้อไหล่เสื่อม หรือ เอ็นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ฉีกขาด
สาเหตุที่พบบ่อย หรือ เป็นต้นเหตุของภาวะข้อไหล่ติด
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนถึงต้นเหตุของการเกิดภาวะข้อไหล่ติด และยังไม่สามารถระบุได้ว่าทำไมคนไข้ถึงเริ่มมีอาการข้อไหล่ติดได้ แต่จากการตรวจพบคนไข้ที่มีอาการข้อไหล่ติดนั้น มักพบเจอในผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 40-60ปี ที่มีประวัติด้านโรคประจำตัว กับ ประวัติเคยรับการผ่าตัดบริเวณหัวไหล่มาก่อน
1. ปัญหาโรคประจำตัว คนไข้ที่มีอาการภาวะข้อไหล่ติดนั้นมักมีปัญหาด้านโรคประจำตัวอยู่ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) และภาวะพร่องไทรอยด์ (hypothyroidism) ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนปกติทั่วไป
2. ประวัติการผ่าตัดบริเวณหัวไหล่ ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการผ่าตัดบริเวณหัวไหล่จะมีความเสี่ยงในการเป็นภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายบริเวณข้อไหล่ ดังนั้นผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพในช่วงระยะพักฟื้นของข้อไหล่หลัวได้รับการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะข้อไหล่ติดในภายหลัง
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆเพิ่มเติมที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติด
- มีการบาดเจ็บข้อไหล่ หรือเกิดอุบัติเหตกับข้อไหล่มาก่อน
- การติดเชื้อ
- การไม่ค่อยได้ใช้ข้อไหล่นานๆ
- โรคภูมิคุ้มกัน
- มะเร็งกระดูกสันหลังส่วนคอ
ความรู้พื้นฐานเพื่อรักษาข้อไหล่ติด
คนไข้ที่มีภาวะข้อไหล่ติด เกิดจากการอักเสบเอ็นข้อไหล่ทำให้เอ็นข้อไหล่มีการหดสั้นลงกว่าปกติ และมีการหนาตัวขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อขยับข้อไหล่ และระยะของการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง จากรูปด้านล่างจะเห็นว่าเอ็นข้อไหล่ (shoulder capsule) เป็นชั้นที่อยู่ในสุดของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อไหล่ และมีหน้าที่ในการทำให้ข้อไหล่วางตัวอยู่ในเบ้าข้อไหล่ (shoulder socket) เมื่อเอ็นข้อไหล่มีการหนาตัวขึ้น และหดสั้นลงจะเป็นอย่างรูปขวามือ
ระยะการติดของภาวะข้อไหล่ติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 Freezing Phase
เป็นระยะที่มีการอักเสบและการปวดมากบริเวณรอบข้อไหล่โดยเฉพาะขณะนอนหลับ และจึงตามมาองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ที่ลดลง ถ้าหากมีการส่องกล้องดูด้านใน (Arthroscopic Surgery) จะเห็นว่าสีของเอ็นข้อไหล่มีการอักเสบเป็นสีแดง และมีการไหลของเลือด ในบางครั้งจึงเรียกระยะนี้ว่า RED phase
- ระยะที่ 2 Frozen Phase
เป็นระยะที่มีอาการปวดน้อยลงกว่าระยะที่ 1 แต่องศาการเคลื่อนไหวจะน้อยลงขึ้นไปอีก เนื่องจากมีการติดมากขึ้นจึงทำให้เริ่มสังเกตเห็นการจำกัดด้านกิจวัตรประจำวันง่ายขึ้น เช่น การหวีผม การเอื้อมหยิบของ หรือการยกแขน ในระยะนี้สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า Pink Phase
- ระยะที่ 3 Thawing Phase
ระยะฟื้นตัวเป็นระยะที่การเคลื่อนไหวของข้อไหล่เริ่มค่อยๆดีขึ้น และมีอาการปวดลดลง ซึ่งระยะนี้อาจกินระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี (Kelley et al 2009, Walmsley et al 2009, Hannafin et al 2000)
จากการวิจัยพบว่าการรักษาข้อไหล่ติดควรเริ่มจากการลดอาการปวดในช่วงระยะแรก และเพิ่มมุมองศาของข้อไหล่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้นด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด (Hanchard et al., 2011)
การผ่าตัด หรือ การวางยาสลบในคนไข้ภาวะข้อไหล่ติด
เหมาะสำหรับคนไข้มีที่อาการติดข้อไหล่อย่างมาก ไม่สามารถขยับได้ทุกทิศทาง และพบว่าการตอบสนองต่อการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่ดีขึ้น แพทย์จึงอาจจะเลือกใช้วิธีการวางยาสลบและดัดหัวไหล่ หรือวิธีการผ่าตัดเพื่อยืดเยื่อหุ้มข้อหัวไหล่ที่หดตัวอยู่ หลังจากจึงทำเริ่มกระบวนการรักษาและฟื้นฟูเยื่อหุ้มข้อไหล่ด้วยวิธีกายภาพบำบัดอีกครั้ง อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยพบว่าคนไข้ประมาณ 60-80 เปอร์เซนต์จะตอบสนองต่อการรักษาข้อไหล่ติดได้ดีเมื่อได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด เพราะระยะเวลาการฟื้นตัวของภาวะข้อไหล่ติดในคนไข้ส่วนใหญ่นั้นนานถึง 18-24 เดือน (Grant et al., 2013, Castellarin et al., 2004)
5 ท่ายืดสลักเพชร ปวดแค่ไหนก็หายได้
ยืดกล้ามเนื้อยืดถูกวิธีจะช่วยลดปวดได้หลายส่วน
วิธีการรักษาข้อไหล่ติด โดยกายภาพบำบัด และ บริหารข้อไหล่
การรักษาข้อไหล่ติดด้วยวิธีทำกายภาพบำบัดต้องพิจารณาถึงระยะอาการของภาวะข้อไหล่ติด และเป้าหมายการเพิ่มองศาข้อไหล่ของคนไข้แต่ละคน โดยการรักษานั้นจะเน้นความสำคัญไปที่การลดอาการปวดข้อไหล่ของคนไข้ และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวเพื่อให้กลับมาใช้งานข้อไหล่ได้เหมือนเดิม ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขยับข้อต่อหัวไหล่ การติดเทปกระตุ้นกล้ามเนื้อ การยืดและการออกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อรอบข้อต่อหัวไหล่ (Page & Labbe 2010) แต่วิธีที่พบว่าได้ผลดีมากที่สุดนั้น คือ การรักษาด้วยวิธีการขยับกระดูกร่วมกับการเคลื่อนไหว (Mobilization with Movement) และการบริหาร หรือ ออกกำลังกายทางกายภาพบำบัด (Doner et al., 2013, Yang et al., 2007) ด้วยท่าตัวอย่างด้านล่าง
1. การยืดด้วยท่า Pendulum
การบริหาร หรือ ออกกำลังกายเพื่อรักษาข้อไหล่ติด ท่าแรกแรกจะเรียกว่า Pendulum โดยโน้มตัวก้มลงโดยเอามือข้างที่ไม่เจ็บค้ำยันไว้บนเก้าอี้หรือโต๊ะ ส่วนข้างที่มีอาการข้อไหล่ติดให้ปล่อยทิ้งสบายๆลงแนวตั้ง 90 องศงกับพื้น หลังจากนั้นหมุนข้อไหล่เป็นวงกลมเล็กๆ ทำประมาณ 10 รอบ หลังจากนั้นก็หมุนทวนกลับในทิศทางตรงกันข้ามอีก 10 รอบ ให้ทำ 1 ครั้ง ทุกๆวัน และถ้าหากดีขึ้น ให้ลองเพิ่มระดับการองศาของการหมุนวงกลมให้กว้างงขึ้น หรือ เพิ่มน้ำหนักโดยการถือดัมเบลน้ำหนักเบา การเพิ่มองศาและการเพิ่มน้ำหนักต้องค่อยๆทำ ไม่ฝืนกับอาการเจ็บ เพราะจะทำให้เจ็บมากขึ้นได้ (ที่มาวีดีโอแสดงสาธิตด้านล่าง: Chiropractic Health Centre)
2. การยืดด้วยท่า Towel Stretch
ให้ใช้ผ้าเช็ดผม หรือ ผ้าเช็ดหน้า เอาไว้ด้านหลังของร่างกายและใช้มือทั้ง 2 จับผ้าให้แน่น โดยให้ผ้านั้นวางเป็นแนวนอนขนาดกับพื้น หลังจากนั้นให้ใช้แขนข้างที่ไม่มีอาการปวดดึงผ้าขนหนูขึ้นเพื่อยืดหัวไหล่ข้างที่มีปัญหา อย่าลืมว่าห้ามฝืนเกิดไปเพราะอาจจะทำให้เกิดการปวด หรือ อักเสบมากขึ้นได้ และให้ทำวันละประมาณ 10-20 ครั้ง (ที่มาวีดีโอแสดงสาธิตด้านล่าง: CHRISTUS Health)
3. การยืดด้วยท่า Finger Walk
เริ่มจากหันหน้าเข้าหากำแพง และยืนห่างจากกำแพงในระยะประมาณ 3 ใน 4 ของความยาวแขน หลังจากนั้นให้ตั้งข้อศอกขึ้น งอลงเพียงเล็ก ให้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางแต๊ะกำแพง และค่อยๆไต่นิ้วทั้ง 2 ขึ้นไปตามกำแพงช้าๆ จนกระทั่งแขนขึ้นไปสูงที่สุดเท้าที่ทำได้ หลังจากนั้นให้กลับมาเริ่มต้นและทำใหม่จนครบประมาณ 10-20 ครั้งต่อวัน (ที่มาวีดีโอแสดงสาธิตด้านล่าง: Kinetic Sports Rehab)
4. ออกกำลังกายหัวไหล่ Internal Rotation
หาผ้าขนหนูมาพับทบและสอดเข้าใต้รักแร้ของแขนข้างที่มีอาการปวด ยกท่อนแขนขึ้นขนาดกับพื้นและตั้งฉากกับข้อศอก หลังจากนั้นให้ใช้มืออีกข้างที่ไม่มีอาการปวดดันบริเวณฝ่ามือของข้างที่มีอาการปวดออก ขณะเดียวกันให้เกร็งมือข้างที่มีอาการปวดต้านกลับ เพื่อเพื่อความแข็งแรงของหัวไหล่ที่ทำหน้าหมุนเข้าด้านใน (ที่มาวีดีโอแสดงสาธิตด้านล่าง: NHS Ayrshire & Arran)
5. ออกกำลังกายหัวไหล่ External Rotation
การออกกำลังนี้จะวางทำแหน่งเหมือนกับท่า Internal Rotation ในข้อที่ 3 เพียงแต่ออกแรงฝั่งตรงข้ามกัน สามารถดูจากวีดีโอสาธิตด้านล่าง (ที่มาวีดีโอแสดงสาธิตด้านล่าง: NHS Ayrshire & Arran)
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- โยคะแก้ปวดเอว ท่าบริหารง่ายๆ ด้วยตนเอง
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม
ทำไมต้องเลือก Newton Em Clinic
Newton Em Clinic เป็นคลินิกภายภาพที่มุ่งเน้นการบริการทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดตามส่วนต่างๆ เช่น หลัง บ่า เข่า และข้อ เป็นต้น ด้วยบริการต่างๆ ดังนี้ กายภาพบำบัดทั่วไป กายภาพบำบัดหลังผ่าตัด การรักษาอาการบาดเจ็บทางกีฬา นวดการกีฬา โปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ โปรแกรมเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาก่อนแข่ง โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังแข่ง การตรวจโครงสร้างทางร่างกาย โปรแกรมออกกำลังกายในน้ำ โปรแกรมออกกำลังกายรักษาอาการปวด พิลาทิส รับปรึกษาแผนการพัฒนาความคิดและพฤติกรรมสำหรับเด็ก และกายภาพบำบัดในท่อน้ำนมอุดตันสำหรับหญิงหลังคลอด ซึ่งเรามีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายตามมาตรฐานด้วยเทคนิคเฉพาะทาง การดูแล และให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ เพราะเรามีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์โดยตรง เหมาะสำหรับกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะจำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดเช่น สมองพิการในเด็ก คุณแม่หลังคลอด และผู้สูงอายุ ปัจจุบันเรามีคลินิกที่พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีการให้บริการ การรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน และยังมีการให้บริการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละสาขา โดยนักกายภาพที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมเฉพาะด้านเพื่อผลิตผู้รักษาให้ตรงตามอาการของผู้ป่วยทุกคน คลินิก Newton Em พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา
- สาขาลาดพร้าว เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาราชดำริ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาทองหล่อ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขากาญจนาภิเษก เบอร์โทร 099-553-9445, 083-559-5954
.เวลาทำการ: วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 10:00 น. – 19:00 น.
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
Tel: 099-553-9445