ยืนทำงาน นานๆ ปวดขาและเท้า แก้ยังไงดี?
“ยืนทำงาน” เป็นพฤติกรรมของคนในยุคนี้ที่พบกันได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีอาชีพมากมายที่ต้องยืนทำงานนานๆ เช่น รปภ. พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟ เป็นต้น หรืออยู่ในสถาการณ์ที่ไม่อาจนั่งพักได้ จึงเป็นเหตุให้ตามมาเท้าอาการปวดเท้าและลามมาถึง น่อง และขานั่นเอง และหากจะถามว่าพวกเขาเหล่านี้อยากหายจากอาการปวดหรือไม่ ก็สามารถตอบโดยไม่ต้องสงสัยเลยว่าอยากหายอย่างแน่นอน แต่เนื่องด้วยกิจวัตรของการทำงานของพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนได้ ดังนั้น สิ่งใดบ้างที่จะสามารถแก้ไขอาการปวดนี้ได้ คือคำถามที่เราต้องหาคำตอบ
“ยืนทำงาน” สาเหตุของการปวดเท้าของคนทำงาน
เนื่องจากในปัจจุบันนั้น ลักษณะของอาชีพของแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงวิธีการทำงานด้วย ซึ่งวิธีของการทำงานของแต่ละอาชีพก็ถูกแบ่งออกไปไม่กี่อย่าง บางอาชีพก็นั่ง บางอาชีพก็เดิน บางอาชีพก็ยืน ซึ่งกิริยาเหล่านี้ไม่ได้ทำเพียงชั่วครู่เท่านั้นหากแต่ต้องทำเป็นเวลานานๆ อย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน โดยอย่างต่ำๆ ก็ประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อวัน นั่นจึงทำให้ไม่เป็นที่สงสัยเท่าไหร่ว่าทำไมผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องมีกิจวัตรการทำงานเช่นนี้จะมีความปวดเมื่อยตามเท้าและขา โดยอาการจะแสดงทันทีหลังจากเลิกงานนั่นเอง
อาชีพที่มีความเสี่ยงในการปวดเท้าลามมาถึงขา
-
พนักงานต้อนรับตามร้านอาหาร
-
พนักงานเสิร์ฟ
-
พนักงานเก็บเงินของร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต
-
พ่อครัว แม่ครัว
-
พนักงานรักษาความปลอดภัย
พวกเขาเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในหลากหลายอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาของการปวดเท้าจากการยืนทำงานนานๆ ทั้งสิ้น โดยปัญหาการปวดเท้านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะแม้จะไม่ได้ส่งผลอันตรายในระยะแรก แต่ก็การันตีไม่ได้ว่าจะไม่ส่งผลในระยะยาว
วิธีแก้ปัญหาปวดเท้าจากการทำงาน
1.การปรับพฤติกรรม
เนื่องจากผู้ป่วยบางรายนั้นมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐาน จึงทำให้เท้ารับน้ำหนักที่เกินควร ดังนั้นจึงควรลดและควบคุมให้น้ำหนักมีความพอดีกับกำลังเท่าที่สามารถรับน้ำหนักของเจ้าของร่างกายได้
-
ยืดกล้ามเนื้อ
ไม่ว่าจะก่อนเข้างานหรือหลังเลิกงาน ผู้ป่วยควรหมั่นยืดกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะเท้าและขา เพื่อเป็นการลดความตึงและการเสี่ยงที่จะการบาดเจ็บอื่นๆ ด้วย
-
หาเวลาผ่อนคลาย
โดยอาจะเป็นช่วงพักเบรคหรือพักกลางวันที่พอมีเวลาว่างๆ หากมีอาการปวดก็ควรนั่งพักและยืดกล้ามเนื้อสักหน่อยในสถานที่ที่อำนวยให้สามารถทำได้
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะได้รับฟื้นฟูที่ดีที่สุดจากเวลานอน ดังนั้น หากมีเวลาได้พักผ่อนก็ควรนอนให้เต็มที่ จะสามารถสร้างความแข็งแรงให้ได้
2.การเลือกรองเท้า
-
เลือกใส่รองเท้าที่พื้นไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป
โดยพื้นรองเท้าในที่นี้หมายถึงส่วนพื้นในที่สัมผัสกับเท้า ไม่ได้หมายถึงพื้นด้านนอกที่สัมผัสกับพื้น) รองเท้าที่พื้นแข็งเกินไปจะทำให้เจ็บ ส่วนรองเท้าที่พื้นนุ่มนิ่มเกินไปก็จะไม่ค่อยช่วยในการทรงตัว ทำให้ต้องเกร็งเท้าจนเมื่อย พื้นในของรองเท้านี้แนะนำว่าควรเป็นพื้นเรียบน่าจะปลอดภัยที่สุด
-
พื้นรองเท้าด้านนอกควรทำจากวัสดุที่ไม่ลื่น
ซึ่งอาจเป็นแบบพื้นเรียบในกรณีของรองเท้าผ้าใบ หรือเป็นพื้นที่มีปุ่มกันลื่นในกรณีของรองเท้าทหารหรือรองเท้าเซฟตี้ รองเท้าที่พื้นไม่ลื่น ใส่แล้วเวลาเดินจะได้ไม่ต้องเกร็งขามากทำให้ไม่เมื่อย อีกทั้งยังได้ความปลอดภัยเพราะลดโอกาสลื่นหกล้มด้วย
-
ขนาดของรองเท้าที่พอดี
ขนาดของรองเท้าที่ใส่ทำงานควรพอดี และไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้การเดินไม่สะดวกและอาจนำมาซึ่งการเดินที่ไม่เหมาะสม
-
ลักษณะรองเท้าที่เหมาะสม
โดยต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยหรือผู้ที่สมใส่ทำงานอะไร หากเป็นพนักงานต้อนรับ หรือพนักงานประชาสัมพันธ์ การใส่รองเท้าคัตชูหรือรองเท้าส้นสูงที่ส้นไม่สูงจนเกินไป เพราะจะได้ถูกตามระเบียบของสถานที่ทำงานรวมทั้งยังเป็นมิตรกับสุขภาพเท้าด้วย
3. การทำกายภาพ
โดยวิธีการรักษาเช่นนี้ นักกายภาพอาจจะพิจารณาให้ผู้ป่วยทำกายบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อส่วนเท้ารวมไปถึงช่วง น่อง แข้ง และต้นขาเพื่อสร้างความแข็งแรง รวมไปถึงฟื้นฟูเอ็นตามบริเวณเท้า เช่น เอ็นร้อยหวาน หรือตามบริเวณข้อต่อ เพื่อให้เท้ากลับมาทำงานได้ปกตินั่นเอง อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลตนเอง ในการทำงานเราอาจไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสามารถดูแลตนเองได้ตลอดทั้งวัน หากแต่เมื่อมีเวลา เราก็ควรเอาใจใส่ตนเองให้มากๆ ยิ่งถ้าหากเท้าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการประกอบอาชีพด้วยแล้วล่ะก็ การละเลย เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากการปวดเท้าเช่นนี้กลายเป็นอาการเรื้อรัง ก็จะยิ่งทำให้การดำเนินชีวิตยากขึ้นตามไปด้วย ——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ข้อเท้าเคล็ด vs ข้อเท้าแพลง ต่างกันอย่างไร?
- “ข้อเท้าอักเสบ”อย่าละเลย ปล่อยไว้อาจเจ็บเรื้อรัง
- บริหารข้อเท้า 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้กำลังฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ