“พิลาทิส” คืออะไร เล่นยังไงให้ถูกวิธี?
“พิลาทิส” (Pilates) วิธีออกกำลังกายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อกันมาบ้างแล้ว โดยการออกกำลังกายชนิดนี้ถือเป็นการออกกำลังอีกวิธีหนึ่งที่ให้ประโยชน์กับร่างกายในหลายๆ ด้าน และมักจะเป็นที่ฮอตฮิตในกลุ่มหญิงสาวที่อาจจะเคยฝึกโยคะมาก่อนหรือเป็นเหล่า Beginer ที่อยากเริ่มการออกกำลังแบบเบาๆ ก่อนก็ได้นั่นเอง อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายคนที่อาจยังสับสับว่าแท้จริงแล้วก็ออกกำลังกายชนิดนี้คืออะไรกันแน่ แล้วนอกจากบรรดาหญิงสาวแล้วยังมีใครที่เหมาะกับการออกกำลังเช่นนี้อีก แล้วออกอย่างไรจึงถูกวิธี
“พิลาทิส” คืออะไร แตกต่างจาก “โยคะ” หรือไม่?
หลายๆ คนอาจยังสับสนระหว่าง “โยคะ” และ การออกกกำลังกายประเภทนี้อยู่แต่แท้จริงแล้วการออกกำลังทั้ง 2 อย่างมีความแตกต่างกันอยู่ เริ่มต้นด้วย
-
โยคะ
คือ ศาสต์แห่งกีฬาชนิดหนึ่งที่มีประวัติยาวนานมากว่า 5,000 ปี โดยเริ่มก่อกำเนิดจากทางตอนเหนือของอินเดีย การฝึกโยคะนั้นร่างกายจะทำได้ดีแค่ไหนเริ่มต้นจากจิตใจที่สงบนิ่ง ที่รวมไปด้วยทุกอย่างทั้งลักษณะทางกายภาพ สุขภาพ อาหาร ไปจนถึงลมหายใจ การผ่อนคลาย และความสามารถในการทำสมาธิและจะเน้นในเรื่องของการสร้างความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย
-
พิลาทิส
คือ รูปแบบการออกกำลังกายที่เสริมสร้างความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว มีส่วนช่วยแก้อาการหลังแอ่นหลังค่อม และช่วยผ่อนคลายจิตใจได้ดี อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่สามารถเล่นได้ในทุกเพศทุกวัยรวมไปถึงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็สามารถเล่นได้เช่นกัน
พิลาทิสเล่นยังไงให้ถูกวิธี?
หากจะกล่าวกันตามจริงนั้น การที่จะระบุเป็นข้อๆ แบบถูกเป๊ะคงเป็นไปได้ยาก เพราะการออกกำลังกายชนิดนี้จะมีท่าทางเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็เน้นเป็นบริเวณไป เช่น หากผู้เล่นต้องการจะพัฒนาบุคลิกของตนเองไม่ให้เดินหลังค่อม ก็จะมีท่าเฉพาะที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้เพื่อเสริมเรื่องบุคลิกที่ผู้เล่นต้องการนั่นเอง อย่างไรก็ดีการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายประเภทนี้ก็ยังพอที่จะอนุมานวิธีการเล่นได้ ดังนี้
-
ความซับซ้อน
จะเน้นที่ท่าออกกำลังกายให้ถูกต้องตามหลักกายวิภาค ซึ่งถือเป็นระบบที่ซับซ้อน
-
จุดที่เน้น
เน้นที่การสร้างกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงของแกนกลาง และเสริมด้วยความยืดหยุ่น
-
วิธีหายใจขณะเล่น
มีรูปแบบการหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากซึ่งต่างจากโยคะที่จะมีรูปแบบการหายใจเข้าและหายใจออกทางจมูกเท่านั้น
-
อุปกรณ์ที่ใช้
ฝึกได้ทั้งบนเสื่อและบนเครื่องอุปกรณ์ โดยทั้งนี้อาจมีปัจจัยขึ้นอยู่กับ เพศ วัย และเงื่อนไขของร่างกายของผู้เล่นในการเลือกอุปกรณ์ด้วย
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเล่นพิลาทิส
1.ลดน้ำหนัก
เป็นเหตุผลหลักของหญิงสาวหลายๆ คนที่เลือกมาเล่นการออกกำลังกายประเภทนี้ เนื่องจากสามารถช่วยลดส่วนเกินของร่างกายตามจุดต่างๆ ที่ไม่ต้องการได้
2. ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
เนื่องจากรูปแบบการออกกำลังกายชนิดนี้จะเน้นที่แกนกลางลำตัว ช่วงบ่า ไหล่ หลัง เอว และหน้าท้อง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของผู้เล่นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการออฟฟิศซินโดรมก็สามารถมาเล่นเพื่อช่วยแก้อาการปวดบริเวณหลังให้หายได้
3. พัฒนาบุคลิกภาพ
นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความแข็งแรงของกลางลำตัวแล้ว ยังเป็นตัวที่ช่วยสร้างสมดุลให้กับร่างกายของผู้เล่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทรงตัวรวมทั้งการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของข้อต่อ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการหลังแอ่น หลังค่อม และไหล่ห่อ จึงถือเป็นการช่วยพัฒนาบุคลิกของผู้เล่นให้ดีขึ้น
4. ป้องกันการบาดเจ็บ
เมื่อผู้เล่นได้ทำการออกกำลังกายชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดการยืดหยุ่น รวมถึงจะลดความตึงและเกร็งของการเนื้อลดลง ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอาการบาดเจ็บที่มาจากการเล่นกีฬา การออกกำลังประเภทนี้ก็สามารถช่วยได้
5. บรรเทาอาการอักเสบตามข้อต่างๆ
ช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ รวมทั้งโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ดี ผู้เล่นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ด้วย ท้ายที่สุด ไม่ว่าการออกกำลังกายชนิดนี้จะเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญคือการศึกษาให้เข้าใจและเล่นอย่างถูกวิธี โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องนั่นเอง เมื่อทำตามวิธีที่ถูก ประโยชน์ต่างๆ ของการออกกำลังชนิดนี้ก็จะตามมาด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน