“ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม
“ฝังเข็ม” การรักษาที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน หลายๆ คนเข้าใจว่าการรักษาโดยใช้เข็มฝังลงไปตามผิวหนังนั้นเป็นการรักษาตามตำหรับตำราของแพทย์จีนโบราณ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ก็ไม่ผิดเพราะคนไทยเรานั้นมักจะได้เห็นตามละครและภาพยนตร์ของจีนที่นิยมนำการแพทย์เช่นนี้มาเผยแพร่ หากแต่แท้จริงแล้วการรักษาโดยการฝังเข็มไม่ได้มีเพียงแค่ฝั่งประเทศจีนเท่านั้น
“ฝังเข็ม” คืออะไรและมีกี่แบบ?
การักษาประเภทนี้ คือ การแทงเข็มลงไปตามจุดต่างๆ ตามร่างกายตามหลักการของแพทย์เพื่อให้ออกฤทธิ์ปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในสมดุลตามปกติ ทั้งนี้ยังช่วยในเรื่องของระบบภายในร่างกายโดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิตที่จะช่วยให้หมุนเวียนได้ดีขึ้นรวมไปถึงฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งการนำเข็มลงมาฝังบนร่างกายนั้นส่วนใหญ่จะฝังลงในหลายๆบริเวณของร่างกาย เช่น หัว ที่ตัว หลัง แขน ขา หรือแม้กระทั่งบนใบหน้า เป็นต้น
ประเภทของการฝังเข็มมี 2 ประเภท คือ
-
การฝังแบบจีน (Acupuncture)
โดยแบบจีนนั้น จะมุ่งเน้นในการฝังปลายเข็มลงไปตามจุดลมปราณทั้งหลักและย่อยเพื่อไปฟื้นฟูให้จุดที่มีความบกพร่องนั้นๆ อาการดีขึ้น รวมทั้งปรับสมดุลที่ของร่างกายหรือที่เรารู้จักในนาม “หยินและหยาง” ให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยผู้เข้ารับการรักษาสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ผลของการฝังอยู่ในระยะสั้นหรือยาว โดยหากหวังผลระยะสั้นการฝังนั้นก็จะเน้นไปที่อวัยวะจุดเดียว แต่หากหวังผลระยะยาวก็จะเน้นฝังตัวเข็มลงบนเนื้อเยื่อที่กว้างออกมา
-
การฝังแบบตะวันตก (Dry Needling)
การฝังแบบตะวันตกเพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจะเน้นไปที่การฝังไปที่จุดปวด (Triger Point) เท่านั้น หรือเน้นฝังปลายเข็มไปที่จุดเดียวเลยนั่นเองหรือเรียกอีกอย่างว่า “การฝังเข็มเฉพาะที่” โดยการฝังแบบตะวันตกจะช่วยให้ปมที่จุดปวดเกิดการกระตุกและคลายออกในที่สุด
การฝังเข็มแบบจีนและแบบตะวันตกต่างกันอย่างไร
-
การฝังแบบจีน
-
ประโยชน์ : ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าสามารถลดการอักเสบและรักษาได้หลายโรค
-
จำนวนเข็ม: 5-20 เล่ม
-
ระยะเวลาในขั้นตอนการฝัง: กรณีใช้ไฟฟ้ากระตุ้น 10-15 นาที/ แบบปกติ 20-30 นาที
-
ความเจ็บ: เจ็บน้อยกว่า
-
เหมาะกับ: ผู้ที่ต้องการรักษาหลายๆ โรคและมีเวลาในการเข้ารับการฝังอย่างต่อเนื่อง
2.การฝังแบบตะวันตก
-
ประโยชน์: เน้นการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อของโรคและภาวะผิดปกติ
-
จำนวนเข็ม: แล้วแต่กรณีของจุดปวด จำนวนเข็มจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนจุดปวดที่พบ
-
ระยะเวลาในขั้นตอนการฝัง: 5-10 นาทีเป็นอย่างต่ำ
-
ความเจ็บ: เจ็บมากกว่า เนื่องจากเข็มที่ใช้เป็นเข็มฉีดยาและฝังลงตรงจุดปวดพอดี
-
เหมาะกับ: ผู้ที่ต้องการจะรักษาอาการเจ็บกล้ามเนื้อเรื้อรังและทนเจ็บได้
การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มสามารถช่วยรักษาโรคได้อย่างไร?
ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยฝังปลายเข็มบนร่างกายนั้นทำให้เกิดการหลั่งของสารชีวเคมีในร่างกายเพิ่มขึ้น มากกว่า 35 ชนิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่นำเข็มไปฝังด้วย โดยจะส่งผลให้ร่างกายสามารถระงับอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเฉพาะที่ได้ รวมทั้งเสริมภูมิคุ้มกันที่ร่างกายพึงมีทำงานได้ดีมากขึ้น
ใครบ้างที่เหมาะกับการบำบัดด้วยวิธีนี้?
ทุกคนอาจพอทราบกันแล้วว่าการรักษาด้วยการฝังปลายเข็มตามจุดของร่างกายนั้นไม่ว่าจะแบบจีนหรือแบบตะวันตกก็ต่างช่วยฟื้นฟูในเรื่องของกล้ามเนื้อและโรคต่างๆ หากแต่ก็ยังมีอีกหลายๆ บุคคลที่มีปัญหากับอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็สามารถทำการบำบัดด้วยเข็มได้
อาการดังกล่าวประกอบด้วย
-
ผู้ที่ไม่ต้องการใช้ยาในการรักษา
-
ผู้ที่เสพติดการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด เป็นต้น
-
ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพและปรับสมดุลของร่างกาย
-
ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ โดยรักษาร่วมกับจิตบำบัด
-
ผู้ที่ต้องการเลิกสารเสพติด บุหรี่ ลดน้ำหนัก
-
ผู้ที่มีปัญหากับระบบขับถ่าย ท้องอืด ท้องผูก เป็นต้น
ว่าด้วยเรื่อง “เข็ม” และ “ออฟฟิศซินโดรม”
“ออฟฟิศซินโดรม” เป็นโรคที่เกิดจากการนั่งทำงานอย่างไม่เหมาะสม เช่น นั่งโต๊ะทำงานงานๆ หลายชั่วโมง หรือ การไม่ได้ลุกหรือขยับไปไหน ส่งผลให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานและส่งผลต่อระบบในร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ หรือบางรายอาจมีอาการชาตามมือและเท้า และส่งผลให้สมรรถภาพในร่างกายถดถอยลงในที่สุด
ออฟฟิศซินโดรมรักษาด้วย “เข็ม” ได้อย่างไร
การรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้นต้องฝังปลายเข็มลงไปยังบริเวณที่มีอาการปวด ร่วมกับการฝังเพื่อปรับสมดุลในร่างกาย (ผสมผสานระหว่างการฝังแบบจีนและตะวันตก) เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีด้วย โดยการทำเช่นนี้น้องจากจะลดอาการปวดแล้วยังลดการเกิดซ้ำอีกนั่นเอง อย่างไรก็ดี การทำกายภาพด้วยวิธีนี้ต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์ นักกายภาพ และผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เนื่องจากค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการรักษาควรศึกษาให้ดีและเลือกให้เหมาะสมกับอาการของตนเองเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับตนเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน