ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
“ปวดเอวเวลานอน” เราทุกคนทราบกันดีว่า การปวดที่จุดต่างๆ ตามร่างกายนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะแต่ละคนย่อมมีกิจกรรมในแต่ละวันที่สามารถส่งผลต่อการปวดนั้นๆ ได้ อย่างไรก็ดี แม้จะดูเป็นอาการที่ไม่อันตรายมาก แต่ถ้าหากส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องอื่นๆ ก็คงไม่ดีเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเวลานอนที่เราควรจะได้พักผ่อน ก็ดันมาปวดเอวจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน ยิ่งไปกว่านั้นหากปวดเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่นๆ อีกด้วย
“ปวดเอวเวลานอน” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะหาย?
อาการปวดหลังปวดเอวถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับที่ และจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ที่ส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับอาการที่เกิดจากการอักเสบและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดตามตัว รวมถึงปวดหลังเรื้อรังตามมา ซ้ำร้ายอาการปวดบางประเภทยังเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย
สาเหตุของการปวดเอว
เกิดจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ
จากท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานกล้ามเนื้อหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง การใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป นั่งเล่นเกมหรือทำงานนานเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไปทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง รวมถึงคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดลักษณะนี้ได้
เกิดจากกระดูกสันหลัง
หรือหมอนรองกระดูกสันหลังที่เอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมและเสียความมั่นคงแข็งแรงไป จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังปวดเอวเมื่อมีการขยับ และอาจมีการปวดร้าวลงขาได้เมื่อมีการกดทับเส้นประสาท
เนื่องมาจากไตอักเสบ
หรืออาจมีนิ่วที่ไต มักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ เวลาปัสสาวะอาจมีแสบ ขัด ขุ่น ถ้าเคาะเบาๆ ที่เอวด้านที่ปวดจะเจ็บมากจนทนไม่ไหวฃ
ลักษณะอาการ
มีอาการปวดตั้งแต่บริเวณบั้นเอวขึ้นไป อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ถ้าเป็นน้อยจะมีแค่อาการปวดเมื่อย ถ้ามีอาการมากจะปวดอยู่ตลอดเวลาและมีอาการหลังแข็งเกร็งทำให้เดินตัวเอียง สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่มีการหดเกร็ง หรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหลังบางส่วน เมื่อมีการบิดหรือเอียงตัวทันทีขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหรืออาจเกิดได้ จากการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การยืน การนั่ง การนอน หรือการบาดเจ็บจากการออกำลังกาย เล่นกีฬา รวมไปถึงการเสื่อมของกระดูกสันหลังเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
แนวทางแก้ไข
- พักผ่อนร่างกายเมื่อเกิดอาการปวดเอว เพื่อลดการเคลื่อนไหวของเอวให้น้อยลง
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้ออย่างเบาๆ เช่น การว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายในสระน้ำอุ่น
- จัดอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานอย่างเหมาะสม เช่น เก้าอี้ที่สามารถช่วยลดอาการปวดเอว หรือโต๊ะทำงานที่สูงในระดับที่เพียงพอ
- กายภาพบำบัดและจัดท่านอนใหม่ให้เหมาะสม
นอนอย่างไร ไม่ให้ปวดเอว
ตัวอย่างท่านอน
1.นอนตะแคงให้หมอนอยู่ระหว่างเข่าการนอนตะแคง
โดยใช้หมอนหนุนช่วยจะทำให้สะโพกเชิงกรานและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ดีขึ้นเพียงแค่นอนตะแคงข้างที่นัด โดยให้ไหล่ขวาหรือซ้ายของคุณสัมผัสกับที่นอน จากนั้นงอเข่าทั้งสองข้าง และวางหมอนไว้ระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าที่อยู่ด้านบนแตะที่นอนเพราะการที่หัวเข่าด้านบนแตะที่นอนจะทำให้กระดูกสันหลังส่งนล่างพลิก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้ อย่างไรก็ตามการนอนตะแคงก็ควรเปลี่ยนหรือสลับด้านนอนเป็นครั้งคราว เพราะการนอนหลับอยู่ข้างเดียว อาจทำเกิดปัญหาความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อได้
2.นอนคว่ำใช้หมอนหนุนหน้าท้อง
สำหรับผู้ที่ติดกับการนอนคว่ำ และไม่สามารถหลับในท่านได้ แต่ก็อยากลดอาการปวดหลังให้หันใบหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งและนำหมอนหนุนอีกใบวางไว้ใต้บริเวณสะโพก ใต้กระดูกเชิงกรานและหน้าท้องส่วนล่าง เพื่อบรรเทาแรงกดจากด้านหลัง ผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง และหากยังรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดอยู่ให้นำหมอนหนุนที่ศีรษะออก
3.นอนหงายวางหมอนใต้เข่าหลาย
เพราะการนอนหงายจะทำให้น้ำหนักของคุณจะกระจายไปทั่วบริเวณร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีจุดใดที่ถูกกดทับเป็นพิเศษ จากนั้นก็ให้วางหมอนไว้ใต้หัวเข่า ให้ส่วนเข่าอยู่ด้านบนของหมอน ทำให้ไม่เกิดช่องว่างบริเวณหลังส่วนล่าง การทำลักษณะนี้จะเป็นการรักษาแนวกระดูกสันหลังให้เป็นธรรมชาติ หากยังรู้สึกปวดอยู่ หรือรู้สึกว่ามีช่องว่างบริเวณหลังส่วนเอว ให้นำผ้าเช็ดตัวขนาดเล็กมาม้วนไว้ใต้หลังก็จะเป็นการช่วยซัพพอร์ต ลดอาการปวดหลังได้อีกทางด้วย
ตัวอย่างการปรับท่านอนและการเลือกหมอน
1.ชอบนอนคว่ำควรเลือกหมอนบางๆ
จริงๆ แล้วการนอนคว่ำเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้กระดูกส้นหลังส่วนเอวโค้งไปทางด้านหน้ามากเกินไป นอกจากนี้เวลานอนคว่ำก็ต้องตะแคงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กระดูกต้นคอบิดไปด้วย อาจเป็นอันตรายและสะสมจนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ หากคุณเป็นคนที่ติดการนอนคว่ำจริงๆ ก็ควรเลือกใช้หมอนที่บางที่สุดหรือไม่มีหมอนเลย หรือนำหมอนมาวางไว้บริเวณใต้ท้องแทน
2.ชอบนอนหงายเลือกหมอนยังไงดี?
นอกจากการปรับท่นอนแล้ว หมนก็มีส่วนสำคัญ หมอนที่ดีควรเดิมช่องว่างระหว่างคอและที่นอนได้ เพื่อรองศีรษะ-คอ และช่วยรองรับส่วนบนของกระดูกสันหลัง สำหรับคนที่ชอบนอนหงาย ไม่ควรใช้หมอนที่หนาหรือสูงจนเกินไป ควรเลือกหมอนที่มีความหนาระดับปานกลาง ไม่สูงไม่ต่ำจนเกินไปจะช่วยทำให้คอ อยู่ในระดับที่สมดุลกับแผ่นหลังส่วนบนและกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี
3.ชอบนอนตะแคงต้องหมอนแบบไหน?
ถ้าคุณชอบนอนตะแคงอาจจะต้องมองหาหมอนที่มีนื้อแน่นส้กหน่อย และควรเป็นหมอนที่สอดรับกับช่องว่างประหว่างคอและไหล่ให้พอดี เพราะการกระจายแรงกดทับ นอกจากนี้แล้วก็ควรวางหมอนไว้ระหว่างหัวเข่าเพิ่มด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังส่วนล่างพลิก หรือคดงอ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้องและเหมาะสม ในระยะเวลาเพียงไม่นาน อาการปวดเอวจะหายไปเองตามธรรมชาติภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรือประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าอาการปวดยังคงอยู่อย่างยาวนานถึงสามเดือน ถือเป็นสัญญาณเตือนของอาการปวดเอวเรื้อรังซึ่งอาจสร้างความรำคาญจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ หรืออาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายให้ทรุดลงก็ได้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์หรือนักกายภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- โยคะแก้ปวดเอว ท่าบริหารง่ายๆ ด้วยตนเอง
- นั่งนานปวดเอว หากไม่รีบแก้อาจเป็นเรื้อรัง
- ปวดหลังล่าง ปวดสลักเพชร ก้นกบ