ปวดหลังส่วนบน ลามไปถึงไหล่ ทำยังไงดี?
“ปวดหลังส่วนบน” อาการที่หลายๆ คนมักจะต้องเผชิญ ยิ่งโดยเฉพาะในวัยทำงานที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นิ่งๆ ทั้งวันโดยไม่ได้ขยับไปไหนมากนัก หรือผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้แรงในการยกหรือแบกของหนักๆ ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องใช้หบังของตนเองในการประคองสิ่งของที่ยกนั้นๆ นั่นเอง หากแต่เมื่อปวดหลังแล้วมันดันไม่สิ้นสุดอยู่แค่นั้น หากแต่ยังลุกลามปวดมาจนหัวไหล่และมีแนวโน้มว่าในระยะอันใกล้อาจจะลามมาจนถึงปลายแขนก็เป็นได้
“ปวดหลังส่วนบน” เกิดจากอะไร แล้วมีอาการอย่างไร?
อาการปวดหลังชนิดนี้เป็นอาการปวดที่คนในปัจจุบันเป็นกันมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการเคลื่อนไหวของการใช้ชีวิตประวันไม่เหมาะสม เช่น การนั่งทำงานนานๆ การแบกขนสิ่งของหนักๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ทั้งนี้อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยบางรายมีประวัติเกี่ยวกับกระดูกร่วมด้วยนั่นเอง
สาเหตุของการปวดหลังส่วนบน
- อาจเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนหลัง
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- ข้อต่อและกระดูกส่วนหลังอาจเริ่มมีความเสื่อม
- มีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมจนล้มทับเส้นประสาท
ลักษณะอาการ
โดยอาการของผู้ป่วยนั้นจะมีหลายลักษณะ เช่น อาจจะมีการปวดตั้งแต่กลางหลัง หรืออาจเจ็บจี๊ดๆ ที่กลางหลังคล้ายเจ็บเส้นเอ็น โดยบางรายอาจลุกลามไปจนถึงช่วงหัวไหล่และช่วงแขนส่วนบน (หัวไหล่จนถึงศอก) ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น ต้องรีบรักษาเพราะมิเช่นนั้นอาจมีอาการปวดเรื้อรังและรักษายากขึ้นในที่สุด
แนวทางการรักษา
รักษาด้วยการฉีดยา
โดยแพทย์อาจจะฉีดยาสเตียรอยด์เข้ากระดูกสันหลังเพื่อบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วย ซึ่งการรักษาเช่นนี้การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังส่วนใหญ่เป็นการฉีดยาผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา ฉีดเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังหรือใกล้กับบริเวณที่มีอาการปวดซึ่งจะมีผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพหากมีการรักษาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดด้วยเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อไปในตัวด้วยนั่นเอง
รักษาด้วยการผ่าตัด
โดยวิธีนี้สามารถผ่าตัดได้หลัก 3 แบบ คือ การผ่าตัดกระดูต้นคอจากทางด้านหน้า การเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนคอ และการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโด-สโคป โดยทั้ง 3 วิธีจะเน้นไปในส่วนของการปรับเปลี่ยนกระดูกที่อยู่บริเวณหลัง คอ และหัวไหล่ ซึ่งอาจสามารถป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้อีกด้วย
รักษาแบบประคับประคองอาการ
ซึ่งผู้ป่วยที่ที่ได้รับการรักษาเช่นนี้ อาจมีความรุนแรงไม่มากจึงสามารถรักษาเช่นนี้ได้ โดยจะเป็นการรับยาตามคำสั่งแพทย์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันบางอย่างเท่านั้น เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ปรับทางนั่ง และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เป็นต้น
วิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการปวด
1.พยายามอย่านั่งหลังค่อม ประคองหลังตนเองให้ตรงเสมอไม่ว่าจะมีกิริยาใดๆ 2.ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวบ้าง โดยอาจทำการยืดหรือดัดหลังเล็กน้อยเพื่อบรรเทาอาการปวด 3.นวดเบาๆ ได้หากมีอาการ หรือ ทำการประคบร้อน-เย็นตรงบริเวณที่ปวดก็สามารถช่วยได้
3 ท่ากายภาพง่ายๆ สำหรับยืดหลัง
ท่าที่ 1
ผู้ป่วยต้องนอนหงาย และใช้มือช้อนใต้เข่าดึงขามาชิดหน้าอกทีละข้าง ค้างไว้สักครู่ กลับสู่ท่าเดิม แล้วทำซ้ำในด้านตรงข้าม
ท่าที่ 2
นอนหงาย มือสองข้างช้อนใต้เข่าดึงมาชิดหน้าอก และผงกศีรษะเข้าไปหา ลำตัวจะงอเข้าหากัน
ท่าที่ 3
นอนหงาย ชันเข่าสองข้าง ไขว้ขาซ้ายทับขาขวา ใช้มือขวาดึงเข่าซ้ายให้ราบลงทางด้านขวามือ ทำซ้ำด้านตรงข้ามใน อย่างไรก็ดี อาการปวดหลังส่วนบน จนลุกลามไปเรื่อยๆ เช่นนี้ไม่ใช่อาการที่ควรจะปล่อยกวนใจ ดังนั้น หากใครที่มีอาการควรรีบเดินทางไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง เพราะไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังและเมื่อรักษาหายก็ควรดูแลตนเอง ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ หรือทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการรักษาให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเดิมได้ไวขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย