ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร
อาการปวดข้อมือ เนื่องปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s Tenosynovitis) คือการอักเสบของกลุ่มเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือข้างนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดข้อมือ บริเวณโคนนิ้วโป้งและหลังข้อมือด้านนอกใกล้ปุ่มกระดูกและบางครั้งจะรู้สึกมีอาการชาร่วมด้วยลักษณะอาการ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ และการกระตุ้นที่ทำให้ปวดมากขึ้น
อาการปวดข้อมือ หลักที่พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่คืออาการปวดบริเวณข้อมือด้านข้าง (ฝั่งนิ้วโป้ง) ซึ่งอาจร้าวไปถึงบริเวณแขนท่อนล่าง เมื่อผู้ป่วยหยิบจับสิ่งของหรือการกระดกนิ้วโป้งขึ้น อาการเจ็บนั้นจะมีลักษณะ “อาการปวด ร้อน และตึงอยู่ตลอดเวลา” อาการเจ็บมักจะเป็นมากขึ้นเมื่อ- ยกของ
- กำมือ
- การบิดข้อมือ
- ไม่สามารถอ้านิ้วหัวแม่มือบริเวณข้อที่หนึ่งได้ เนื่องจากการหนาตัวของปลอกหุ้มเอ็นนิ้วโป้งมือบริเวณหลังมือ
- อาจมีเสียงดังในข้อระหว่างการขยับนิ้วโป้ง
- อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหรืออาการชาบริเวณมือ
- อาจมีการบวมบริเวณโคนนิ้วโป้ง หรือ อาการกดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อมือด้านนอกร่วมด้วย
สาเหตุ หรือ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดส่วนมากมาจากการที่ใช้งานข้อมือซ้ำๆและมากจนเกินไปในชีวิตประจำวัน หรือ อาจจะได้รับการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันจากการใช้ข้อมือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การหิ้วของที่หนักเกินไป การอุ้มลูกโดยใช้นิ้วโป้งและข้อมือรับน้ำหนักลูก จะพบว่ามีโอกาสที่ทำให้เกิดอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบมีดังนี้- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- พบบ่อยในผู้ที่มีอายุช่วง 30-50 ปี
- มีการทำงาน หรือ งานอดิเรกที่จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนไหวของข้อมือบ่อยๆ และซ้ำเป็นกิจวัตรประจำวัน (สาเหตุหลักที่พบบ่อย)
- เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณเอ็นข้อมือมาก่อนอยู่แล้ว
- ลูกแม่ที่ตั้งครรภ์ และมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์
การตรวจด้วยตัวเองว่าผู้ป่วย ปวดข้อมือ จากภาวะ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
การตรวจพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจว่าผู้ป่วยมีอาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Finkelstein’s Test ซึ่งคือการกำนิ้วโป้งด้วยนิ้วมือที่เหลือ และให้ผู้ป่วยงอข้อมือไปทางนิ้วก้อย ซึ่งหากมีอาการปวดบริเวณข้อมือด้านนอก จะเข้าข่ายการวินิจฉัยเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (สามารถดูวิธีตรวจเป็นรูปภาพได้จากวีดีโออธิบาย ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ใต้เนื้อหาบทความนี้)การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
เป้าหมายของการรักษาปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด จะเป็นวิธีการรักษาที่หลีกเลี่ยงการผ่าตัด และ การพึ่งยา เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงที่ตามมา จากวารสารการแพทย์ของประเทศอังกฤษได้พบว่ายาแก้ปวดในกลุ่ม NSAID มีผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจและเพิ่มเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นมากขึ้นถึงร้อยละ 30 ดังนั้นการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกที่ลดความเสี่ยงดังกล่าว และค่าใช้จ่ายถูกกว่าเมื่อเทียบกับการเข้ารับการผ่าตัดการรักษาด้วยกายภาพบำบัด
- การประคบเย็น/ร้อน – การรักษาด้วยความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงนั้นผ่อนคลาย และการรักษาด้วยความเย็นนั้นจะช่วยลดการอักเสบของผลอกหุ้มเอ็นได้
- การนวด – การนวดกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือที่โคนนิ้วหัวแม่มือจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกิดการเจ็บนั้นผ่อนคลายลง รวมถึงการรักษาด้วยอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดที่เรียกว่า IASTM (Instrument Assisted Soft Tissue Mobilization) โดยจะใช้รักษาร่วมกับออกกำลังแบบ Eccentric Exercise (เป็นการออกแรงขณะที่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อถูกยืดออก) ซึ่งจะช่วยให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นโดยการช่วยคลายเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อที่ยึดติดอยู่สลายออกจากกัน ยืดเหยียดเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบข้าง และช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีสภาพที่เหมาะกับการฟื้นฟู
- การยืดเหยียด – การยืดกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือที่โคนนิ้วโป้งในท่ากระดกและอ้านิ้วโป้งออกจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ
- การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การกระดกนิ้วมือแบบมีแรงต้าน
- ตำแหน่งหงายมือ – สำหรับความแข็งแรงในการกระดกและอ้านิ้วหัวแม่มือ
- ตำแหน่งชูนิ้วหัวแม่มือ – สำหรับความแข็งแรงในการกระดกและอ้านิ้วหัวแม่มือ
- การเอียงข้อมือไปทางนิ้วหัวแม่มือ
- ตำแหน่งชูนิ้วหัวแม่มือ
- การหงายมือแบบมีแรงต้าน
- ตำแหน่งชูนิ้วหัวแม่มือ
- การหุบนิ้วหัวแม่มือแบบมีแรงต้าน
- ตำแหน่งชูนิ้วหัวแม่มือ
- การเพิ่มระยะการขยับของข้อมือ การยืดเหยียดดังที่อธิบายข้างต้นสามารถช่วยเพิ่มระยะการขยับของข้อได้ การรักษาด้วยความร้อนหรือความเย็นจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเพื่อให้ได้ระยะการขยับของข้อที่มากขึ้นด้วย
- การเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อมือ นั้นมีผลในการช่วยลดอาการปวด เพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อ และช่วยให้ผู้ป่วยใช้งานข้อมือได้ดีขึ้น นักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า Radial Glide ที่บริเวณกระดูกมือแถวแรก โดยจะให้ผู้ป่วยออกแรงอ้าและหุบนิ้วหัวแม่มือ โดยทำซ้ำ 3 เซตๆละ 10 ครั้ง ร่วมกับการออกกำลังด้วยท่า Hammer Curl โดยใช้ยางยืดกายภาพบำบัด และการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ให้ผลดีต่อผลการรักษาหลังจากตรวจติดตามเป็นเวลา 6 เดือน
- การใช้เทปผ้าบำบัด เพื่อลดอาการปวด เพิ่มการไหลเวียนของเลือก และช่วยในการฟื้นฟูอาการปวด
- การรักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เป็นการรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลในลักษณะความร้อนลึก มีจุดประสงค์เพื่อลดอาการอักเสบ ลดอาการปวด อาการบวม และเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื้อ ขณะการรักษาผู้ป่วยควรรู้สึกตื้อๆเพียงเล็กน้อย
การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย
การทานยาแก้อักเสบ – ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากบางท่าน อาจจะรับประทานยาแก้อักเสบชนิด NSAIDs ร่วมด้วย เพื่อประคับประครองอาการปวดชั่วคราว การฉีดสเตียรอยด์ – การฉีดสเตียรอยด์เป็นอีกวิธีการลดอาการปวดที่ได้ผลค่อนข้างเร็ว เนื่องจากเป็นยาที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างรุ่นแรง จึงทำให้อาจมีผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น อาจทำให้กระดูกเปราะบางลง อารมณ์แปรปรวน ความดันโลหิตสูง หรืออ่อนเพลียง่ายการรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดจะจำเป็นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก โดยการผ่าตัดจะเป็นการตัดเอ็นข้อมือที่มีอาการบวมออก เพื่อเพิ่มช่องว่างให้เอ็นข้อมือสามารถเคลื่อนไหวได้ หลังจากผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อมือและนิ้วโป้ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง และผู้ป่วยควรหลีกเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆของการใช้ข้อมือในชีวิตประจำวันวีดีโออธิบาย ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ พร้อมรูปภาพ เข้าใจง่าย
——————————–ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
ทำไมต้องเลือก Newton Em Clinic
Newton Em Clinic เป็นคลินิกภายภาพที่มุ่งเน้นการบริการทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดตามส่วนต่างๆ เช่น หลัง บ่า เข่า และข้อ เป็นต้น ด้วยบริการต่างๆ ดังนี้ กายภาพบำบัดทั่วไป กายภาพบำบัดหลังผ่าตัด การรักษาอาการบาดเจ็บทางกีฬา นวดการกีฬา โปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ โปรแกรมเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาก่อนแข่ง โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังแข่ง การตรวจโครงสร้างทางร่างกาย โปรแกรมออกกำลังกายในน้ำ โปรแกรมออกกำลังกายรักษาอาการปวด พิลาทิส รับปรึกษาแผนการพัฒนาความคิดและพฤติกรรมสำหรับเด็ก และกายภาพบำบัดในท่อน้ำนมอุดตันสำหรับหญิงหลังคลอด ซึ่งเรามีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายตามมาตรฐานด้วยเทคนิคเฉพาะทาง การดูแล และให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ เพราะเรามีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์โดยตรง เหมาะสำหรับกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะจำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดเช่น สมองพิการในเด็ก คุณแม่หลังคลอด และผู้สูงอายุ ปัจจุบันเรามีคลินิกที่พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีการให้บริการ การรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน และยังมีการให้บริการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละสาขา โดยนักกายภาพที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมเฉพาะด้านเพื่อผลิตผู้รักษาให้ตรงตามอาการของผู้ป่วยทุกคน คลินิก Newton Em พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา- สาขาลาดพร้าว เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาราชดำริ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาทองหล่อ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขากาญจนาภิเษก เบอร์โทร 099-553-9445, 083-559-5954
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
Tel: 099-553-9445ปรึกษา หรือ ติดตามความรู้สุขภาพอื่นๆได้ตามช่องทางด้านล่าง
- https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3921
- https://familydoctor.org/condition/de-quervains-tenosynovitis/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/de-quervains-tenosynovitis/symptoms-causes/syc-20371332
- http://www.steroidsocial.org/steroid2.html