บริหารข้อเท้า 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้กำลังฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ
“บริหารข้อเท้า” วิธีการสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูการบาดเจ็บให้ดีและไวขึ้น เป็นปกติหลังจากการบาดเจ็บที่คนเราเจอนั้น ขั้นตอนที่สำคัญๆ ก็ประกอบด้วยหลายขั้นตอน เช่น การปฐมพยาบาล การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟู โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องผ่าตัด การทำกายภาพและการฟื้นฟูต่างๆ จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องคอยดูแลให้แผลสมานตัวและกลับมาทำงานได้ตามปกติเช่นเดิมนั่นเอง
“บริหารข้อเท้า” ทำได้ง่ายๆ ช่วยผู้ป่วยผ่าตัดฟื้นตัวได้ไวยิ่งขึ้น
การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังการผ่าตัดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และช่วยให้คนไข้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ด้วยลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง เหมาะสม การผ่าตัดกระดูกและข้อส่วนใหญ่จะส่งผลให้ผู้ป่วยยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีในช่วงแรก บางรายหากมีการใส่อุปกรณ์เทียมตามข้อในร่างกาย จึงต้องมีความระมัดระวังในการเปลี่ยนอิริยาบถของการทำกิจกรรมต่างๆ
อาการบาดเจ็บของข้อเท้าที่พบเจอบ่อยที่สุด
อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับข้อเท้านั้น สามารถพบเจอได้หลายแบบ เช่น
-
จากโรคข้อเท้าต่างๆ
เช่น โรครองช้ำ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาและทำกายภาพจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นสำคัญ เนื่องจากในบางกรณีที่อาจจะต้องใช้เครื่องมือจากทางทีมกายภาพ และอาจจะต้องทานยาตามคำสั่งหมอร่วมด้วย
-
จากอุบัติเหตุ
โดยผู้บาดเจ็บอาจจะได้รับอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันก็เป็นได้ โดยสาเหตุนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นต้องเป็นเพศใดเพศหนึ่งหรือช่วงวัยใดวัยหนึ่งเท่านั้น โดยอาจจะพลัดตกจากที่สูง ลื่นล้ม และการใส่ส้นสูง เป็นต้น ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่มักเป็นข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลง
-
จากกีฬา
การเกิดข้อเท้าพลิก ทำ ให้เกิดโรคข้อเท้าแพลง พบในขณะ เล่นหรือแข่งกีฬา เกือบทุกชนิด สาเหตุมาจากการบิดหมุนหรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำ ให้เอ็นยึดข้อต่อหรือเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาด ซึ่งอาจเป็นการฉีกขาดเพียงบางส่วนหรือฉีกขาดทั้งหมดก็ได้ อาการข้อเท้าพลิกอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า
ความผิดปกติของเท้าและข้อเท้า
ความผิดปกติของเท้าและข้อเท้าพบได้ทุกส่วนของเท้า โดยสามารถแบ่งส่วนของเท้าออกเป็น 3 ส่วน คือ
“การผ่าตัด” นิยมใช้รักษาอาการบาดเจ็บข้อเท้าในกรณีใดบ้าง
1.กรณีที่ต้องการซ่อมกระดูกอ่อน
ข้อเข่า และ ข้อเท้า ซึ่งอวัยวะทั้งสองส่วนนี้ มีลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นงอ การพับ แต่สำหรับข้อเข่าแล้ว การรองรับน้ำหนักตัวมักจะเป็นปัญหาได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่อยู่ภายในข้อเข่า ก็คือ “กระดูกอ่อน” นั่นเอง
2.กรณีที่ต้องซ่อมกระดูกงอก
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อกระดูกเสื่อม แตก หัก ซึ่งร่างกายจะนำแคลเซียมไปซ่อมแซมและจะทำให้กระดูกนั้นๆ เสียรูปทรง เป็นแคลเซียมที่หนาผิดธรรมชาติ จึงเรียกว่ากระดูกงอก โดยการรักษามีหลายแบบ ซึ่งมีบางรายตัดสินใจผ่าตัดเพื่อ เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเอ็นดีขึ้น และลดการอักเสบ
3.กรณีที่ต้องซ่อมเอ็นข้อเท้า
โดยในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ซึ่งอาจเสียหลักในขณะที่กำลังล่นกีฬาชนิดนั้นๆ ซึ่งหากเส้นเอ็นบาดเจ็บขึ้นมาก็อาจส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของเท้าด้วย เช่น เกิดการอักเสบ หากถึงขั้นฉีกขาด อาจเกิดอาการบวมที่เนื้อเยื่อ และมีอาการปวดร่วมด้วย เป็นต้น หรือตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ข้อเท้าพลิกคืออาการบาดเจ็บที่มักเจอจากการเล่นกีฬา ก็มักส่งผลกระทบที่เส้นเอ็นโดยตรง แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อหรือกระดูก
4.กรณีที่ต้องรักษากระดูกหัก
เช่น การถูกกระทบกระแทกของข้อเท้าต่อพื้นผิว หรือวัตถุแข็ง การกระแทกตามแนวดิ่ง หรือการบิดงอของข้ออย่างรุนแรง ทําให้เกิดการหักของกระดูกในบริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกเปราะบาง กระดูกพรุน หรือผู้สูงอายุ จึงอาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา
บริหารข้อเท้า 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้กำลังฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ
1.นั่งเก้าอี้แล้วเหยียดขาไปด้านหน้า
โดยท่านี้ให้ผู้ป่วยนั่งทำท่าบนบริหารบนเก้าอี้ เหยียดขาตรงไปทางด้านหน้า หลังจากนั้นใช้ปลายเท้าวาดเป็นตัวเลข 0 – 9 ในอากาศ เพื่อให้ข้อเท้าขยับในทุกทิศทาง ทำซ้ำ 2-3 รอบ บริหารวันละ 2-3 ครั้ง
2.นั่งราบกับพื้นเหยียดขาไปด้านหน้า
ใช้ผ้าขนหนูคล้องและดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาตัว ทำค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 5 – 10 ครั้ง จะช่วยฝึกความยืดหยุ่นของข้อเท้า
3.ยืนหันหน้าเข้ากำแพง
ใช้มือทั้งสองข้างยันกำแพงไว้ แล้วก้าวขาข้างหนึ่งไปด้านหลังโดยให้ปลายเท้าชี้มาด้านหน้า ส่วนขาอีกข้างงอเข่าลง จนรู้สึกตึงบริเวณข้อเท้าขาที่ก้าวไปด้านหลัง ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ทำสลับกันทั้งสองข้าง ข้างละ 5 – 10 ครั้ง จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อเท้า
4.ยืนขาเดียวบนพื้นราบ
ฝึกการทรงตัวเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับข้อเท้าด้วยการทำท่านี้ โดยเริ่มแรกผู้ป่วยต้องยืนขาเดียวบนพื้นก่อน หลังจากนั้นค่อยๆ กางแขนออกและลืมตา สลับกับการกอดอกแล้วหลับตา ทำข้างละ 5 – 10 ครั้ง หากทำได้คล่องแล้วสามารถเปลี่ยนมายืนบนพื้นที่ไม่มั่นคงได้ เช่น ผ้าขนหนูพับทบกัน 3 – 4 ชั้น
5.เดินต่อเท้า
เป็นการเดินโดยใช้เท้าเดินสลับต่อกันไปเรื่อยๆ ประมาณ 10 – 20 ก้าว ทำซ้ำ 5 – 10 ครั้ง เพื่อฝึกการทรงตัวและช่วยให้ข้อเท้าแข็งแรงขึ้น อย่างไรก็ดี การบริหารข้อเท้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ฟื้นฟูผู้ป่วยได้เห็นผลที่สุด ซึ่งต้องอาศัยการบริหารด้วยหลักที่ถูกต้องและทำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงอาจอยู่ในความดูแลของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบัดก่อนในช่วงแรก เพื่อจะได้รับการดูแลและคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยในบางรายอาจจะต้องทานยาร่วมด้วยเพื่อการช่วยให้แผลและระบบต่างๆ ของข้อเท้ากลับมาทำงานได้รวดเร็วและปกติ
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน