นักกีฬา บาดเจ็บ เกิดจากอะไรได้บ้าง ฟื้นฟูร่างกายอย่างไร?
“นักกีฬา บาดเจ็บ” กลายเป็นสิ่งที่เห็นกันจนชินตาไปแล้วกับแฟนกีฬาแต่ละประเภท ที่จะเห็นนักกีฬาได้รับบาดเจ็บจากการแข่งขัน เนื่องจากในกีฬาบางประเภทต้องเจอการปะทะกับนักกีฬาฝ่ายตรงข้าม หรือบ้างก็ต้องใช้กำลังอย่างมหาศาลในการเล่นแม้ไม่ต้องเข้ารับการปะทะใดๆ อย่างไรก็ดี การบาดเจ็บนำพาบาดแผลและการเจ็บปวดมาสู่นักกีฬาไม่ใช่น้อย ซึ่งการบาดเจ็บนั้นๆ เกิดจากอะได้บ้าง ส่งผลให้นักกีฬาที่บาดเจ็บมีบาดแผลอย่างไร และรักษา ฟื้นฟูอย่างไรดี
“นักกีฬา บาดเจ็บ” สาเหตุ อาการ และการรักษา…
การออกกำลังกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดกับกีฬาทุกประเภท แต่กีฬาที่เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย เช่น กีฬาที่ต้องมีการปะทะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้มาก เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น และถึงแม้จะเป็นกีฬาประเภทที่ไม่ต้องมีการปะทะก็มีการบาดเจ็บได้ เช่น กีฬาที่ต้องใช้ความเร็ว เช่น จักรยาน กีฬาที่มีความสูงมาร่วม เช่น ยิมนาสติก หรือกีฬาที่ต้องใช้น้ำหนัก เช่น การยกน้ำหนัก เป็นต้น
การบาดเจ็บจากการกีฬา คือ…
การบาดเจ็บที่เกิดขึนระหว่างการเล่นกีฬา
ซึ่งอาจเกิดจาก
-
อุบัติเหตุ
-
การฝึกที่ผิด
-
การขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสม
-
ขาดการอุ่นเครื่องหรือยืดกล้ามเนือ
ประเภทของการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า การบาดเจ็บของนักกีฬานั้นไม่เหมือนกัน จึงสามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุต่างๆ ดังนี้
-
การบาดเจ็บที่เกิดจากภยันตราย (Traumatic injury)
เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน หลุด กล้ามเนือช้ำ ฉีกขาด เอ็นยึดข้อฉีก ข้อเท้าพลิก ฯลฯ
-
การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป (Overused injury)
เช่น เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ภาวะกล้ามเนื้อปวดตึง กระดูกหักล้า (Stress fracture) เป็นต้น
ระดับความรุนแรงของบาดแผลจากการเล่นกีฬา
สามารถแบ่งได้จากชนิดของกีฬาต่างๆ ดังนี้
1. กีฬาประเภทใช้ความเร็ว (Augmented speed sport)
เช่น กรีฑา ว่ายนำ้า จักรยาน
2. กีฬาประเภทชน (Collision sport)
เช่น รักบี้ อเมริกันฟุตบอล
3. กีฬาประเภทปะทะ (Contact sport)
เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ยูโด มวย ่ ซอฟท์บอล เทควันโด
4. กีฬาประเภทไม่ปะทะ (Non contact sport)
เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง ่ ยกนำ้าหนัก กอล์ฟ ฯลฯ
โครงสร้างส่วนที่มีโอกาสบาดเจ็บมากที่สุด
โครงสร้างที่มีการบาดเจ็บมากที่สุดคือ
ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อ ร้อยละ 47.6
รองลงมาคือ กล้ามเนื้อ ร้อยละ 23.8
อาการบาดเจ็บของนักกีฬาที่พบบ่อย
-
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้อ
เช่น ตะคริว กล้ามเนื้อฉีก เส้นเอ็นเข่าฉีกขาด เกิดจากการลงน้ำหนักแล้วมีการบิดเข่าอย่างรวดเร็ว หรือจากอุบัติเหตุ ลักษณะอาการจะมีการเจ็บภายในเข่าอย่างทันที
-
การบาดเจ็บที่ข้อต่อ และเอ็นยึดข้อ
เช่น ข้อเท้าพลิก เป็นการบาดเจ็บของเอ็นรอบข้อเท้า ซึ่งพบมากในนักกีฬาระหว่างเล่นกีฬา และการใช้ชีวิตปกติ อาการที่พบมาก ได้แก่ บวม ลงน้ำหนักข้างที่บาดเจ็บไม่ได้
-
การบาดเจ็บที่กระดูกหัก
กระดูกหักเกิดจากแรงกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้กระดูกไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ อาทิ หกล้ม กระดูกหักจากความล้าที่มาจากน้ำหนักเกิน โดยทั่วไปมักเกิดตรงบริเวณซี่โครง กระดูกไหปลาร้า ต้นแขน ข้อมือ กระดูกต้นขา ข้อเท้า และกลางเท้า
-
บาดเจ็บที่ผิวหนัง และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
เช่น การฟกช้ำ ห้อเลือด เกิดจากการกระแทกที่มาจากการเตะ ต่อย หรือกระทบ ทำให้เกิดอาการบวม ห้อเลือด หรือเลือดออกในหลอดเลือด โดยทั่วไปแล้วมักเกิดบริเวณหน้าอก แขน และข้อเข่า ส่วนการฟกช้ำของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการกดทับจะทำให้เซลล์ตายและเกิดแผลเป็น
แนวทางการรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บต่างๆ ของนักกีฬา
-
ตะคริว (muscle cramp)
การหดเกร็งมัดกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเจ็บปวด
สาเหตุ:
ขาดน้ำ เกลือแร่ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง วิ่งหรือใช้งานมากเกินไป
การรักษา :
หยุดพักทันที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 5-10 นาที นวดด้วยน้ำมันร้อนเบาๆ ห้ามบีบ นวดแรงๆ
-
กล้ามเนื้อชอกช้ำ (Contusion)
สาเหตุ:
กล้ามเนื้อถูกกระแทก เลือดคลั่ง
การรักษา :
หยุดพักทันที ประคบเย็น 15-20 นาที จากนั้นพันผ้ายืด 1-2 วัน ให้ประคบร้อน หรือ นวดด้วยน้ำมันร้อนเบาๆ
-
กล้ามเนื้อฉีกขาด (muscle strain)
สาเหตุ:
จากแรงกระแทกภายนอก / จากตัวกล้ามเนือเอง
การรักษา :
กล้ามเนื้อฉีกขาดนั้นมีการบาดเจ็บได้หลายระดับ โดยการรักษาก็จะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงนั้นๆ รวมถึงระยะการฟื้นตัวก็จะมีความยาวนานไม่เท่ากันเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการรักษาเบื้องต้นหากกล้ามเนื้อฉีกไม่มีความรุนแรงมากนัก ก็ให้เริ่มจากหยุดพักทันที ประคบเย็น 15-20 นาที จากนั้นพันผ้ายืด ยกสวนปลายสูง ่ 1-2 วัน แล้วค่อยทำการประคบร้อน
-
การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Sprain)
สาเหตุ:
เกิดจากการฉีกขาดของเอ็นที่ยึดข้อต่อ พบบ่อย คือ ข้อเท้า ข้อเข่า
การรักษา :
พักข้อต่อ ยกสูงและประคบเย็นทันที และพันผ้ายืด ไว้ ประมาณ 3 วันจะหาย (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บด้วย การรักษาจะถูกพิจารณาไปตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ)
-
ข้อเคลื่อน ข้อหลุด (subluxation, dislocation)
สาเหตุ:
หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า อาจหลุดบางส่วนหรือหลุดออกหมด มีการฉีกขาดของเอ็น พังผืดและเนื้อเยื่อหุ้ม รอบข้อ ปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ ข้อผิดรูป
การรักษา :
ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ อาจทำการประคบเย็น และรีบนำส่งแพทย์
-
ข้อบวม (joint swelling)
สาเหตุ:
เกิดขึ้นขณะวิ่งหรือเล่นกีฬาและภายหลังการวิ่งหรือ เล่นกีฬา พบบ่อยคือ ข้อเข่า
การรักษา :
ตรวจให้ทราบว่าเป็นเอ็นฉีกขาดหรือ เยื้อหุ้มที่อักเสบเรื้อรัง หากเอ็นฉีกขาด อาจต้องผ่าตัด แต่ถ้าเกิดเพียงการอักเสบ ก็สามารถพักและบริหารกล้ามเนื้อเท่านั้น
-
การบาดเจ็บบริเวณกระดูก
สาเหตุ: เกิดจากแรงกระแทกโดยตรงและโดยทางอ้อม ทำให้มีการแตก หัก หรือร้าว
อาการ :
บวม กดเจ็บ ผิดรูป และหากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บขยับตัว อาจมีเสียงกรอบแกรบ
การรักษา :
ประคองให้ส่วนที่หักอยู่นิ่งๆ หลังจากนั้นให้รีบนำส่งแพทย์
สาเหตุ:
คือ ภาวะกระดูกหักที่เกิดจากการล้า การใช้งานมากเกินไปซ้ำๆ และมีการกระแทกบ่อยๆ
อาการ :
ปวดซ้ำๆ ทุกครั้ง เมื่อใช้งาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก ซึ่งอาจปวดตลอดเวลาหรือช่วงกลางคืน อาจเกิดการบวม และมีจุดกดเจ็บชัดเจน
การรักษา :
หากไม่ดีขึ้น ควรหยุดพักการเล่นกีฬาเสียก่อน โดยเบื้องต้นอาจนำการประคบเย็นเข้ามาช่วย หากเกิดกับบริเวณกระดูกอาจจะต้องลดน้ำหนักและใช้อุปกรณ์พยุง และพักการเล่นกีฬาไปช่วงหนึ่งจนกว่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ดี จริงอยู่ที่การเล่นกีฬาย่อมมีการบาดเจ็บเป็นธรรมดา แต่การระวังตัวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะนอกจากจะลดการเกิดอุบัติเหตุได้แล้ว ก็สามารถลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บได้ในกรณีที่ห้ามการเกิดอุบัติเหตุไม่ได้จริงๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาหรือเป็นบุคคลที่ชื่นชอบในการเล่นกีฬาก็ตาม ก็ควรระวังตัวในการเล่นกีฬานั้นๆ เพื่อที่เราจะได้เล่นมันไปได้อีกนานๆ นั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ความเย็นบำบัด” วิธีฟื้นฟูสำคัญสำหรับนักกีฬา
- “การบาดเจ็บจากกีฬา” ปัญหาที่แก้ได้ด้วยกายภาพ
- “กล้ามเนื้อฉีก” มีกี่ประเภท แต่ละแบบอันตรายอย่างไรบ้าง?