นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
“นวดไทย” และ “กายภาพบำบัด” ทั้งสองอย่างนี้เป็นวิธีการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่คนไทยรู้จักกันมาอย่างยาวนาน ถึงขั้นว่ามี “การนวด” เป็นแบบของไทยเอง อย่างไรก็ดี หลายๆ คนอาจะคิดว่าทั้งการ นวด และ การทำกายภาพ คือสิ่งที่เหมือนกันเนื่องจากมีจุดประสงค์ที่คล้ายกัน แต่ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นหากแต่มีความต่างกันอยู่ ดังนั้น เราจึงต้องรู้ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบนี้เพื่อที่จะได้เลือกวิธีการรักษากล้ามเนื้อได้ถูกจุดนั่นเอง
นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
กายภาพบำบัด ( Physical therapy)
กายภาพบำบัด คืออะไร?
การทำกายภาพ ( Physical therapy) เป็นวิธีทำกายบริหารต่างๆ เพื่อการฟื้นฟูและช่วยเสริมความสามารถในการใช้ร่างกายและการเคลื่อนไหวให้ดีมากขึ้น โดยมีเทคนิคในการทำกายภาพหลายประเภท เช่น การดึง การนวด การประคบ และการทำกายบริหารง่ายๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะเข้ารับการทำกายภาพจะถูกใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไป
จุดประสงค์ในการรักษา
ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้
- ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยหลังได้รับการบาดเจ็บ
ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่างๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก
- เสริมสร้างสุขภาพให้สำหรับบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู
เนื่องจากมีหลายคนที่กำลังรับมือกับปัญหาสุขภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ บางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัด การทำกายภาพจะช่วยให้บุคลเหล่านี้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
- รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ซึ่งในวัยต่างๆ ก็จะพบโรคเรื้อรังที่ต่างกัน เช่น ในผู้สูงวัย อาจพบโรคพาร์กินสัน ในเด็กอาจพบอาการสมองพิการ การทำกายภาพบำบัดจึงสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้
การทำกายภาพบำบัดมีกี่แบบ และมีแบบไหนบ้าง
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า การทำกายภาพ นั้นมีหลายเทคนิคและหลายวิธี มีหลายเครื่องมือและหลายตัวช่วยที่ใช้ในการรักษา ตั้งแต่แบบทั่วไป เช่น แผ่นประคบร้อน-เย็น ที่คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองจนกระทั่งการใช้เทคนิคไฟฟ้าและเลเซอร์รักษา โดยเครื่องมือดังกล่าวก็จะถูกใช้ในทางที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเภทในการทำกายภาพก็เช่นกันที่ถูกแบ่งออกเป็นหลายแบบ ดังนี้
- กายภาพสำหรับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- กายภาพสำหรับระบบประสาท
- กายภาพสำหรับการกีฬา
- กายภาพสำหรับระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ
- กายภาพสำหรับด้านอื่นๆ
ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด
จริงอยู่ที่จุดประสงค์หลักๆ ของการทำกายภาพนั้นคือการฟื้นฟูร่างกายให้ใช้งานได้ดีขึ้น แต่แท้จริงแล้วผู้ที่เข้ารับการทำกายบริหารเช่นนี้ยังได้รับประโยชน์อื่นๆ อีกมาก เช่น
- บรรทาอาการปวด
- ฟื้นฟูร่างกายที่บาดเจ็บและช่วยเสริมสร้างการใช้ร่างกายให้ดีขึ้น
- มีส่วนช่วยในการลดโอกาสที่จะพิการและประคองอาการป่วยจากโรคเรื้อรัง
- เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
นวดแผนไทย (Thai Massage)
นวดแผนไทย คืออะไร?
เป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ ซึ่งการนวดไทยนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น การนวดแผนไทย การนวดอโรมา นวดกดจุด เป็นต้น
จุดประสงค์ของการรักษา
การนวดแผนไทย นวดเพื่อบำบัดรักษาอาการต่างๆ เช่น ปวดยอก ปวดคอ ปวดหลัง ยอกหลัง ปวดสะโพก เคล็ด แพลง อาการชา เนื่องจากไหลเวียนเลือดไม่ดี เป็นต้น และยังเป็นการนวดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ ของการทำงานของร่างกายในส่วนที่ยังทำงานไม่ได้ปกติ เช่น นวดเพื่อฟื้นฟูเด็กพิการ นวดเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต นวดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ นวดเพื่อฟื้นฟูผู้หญิงหลังคลอด
นวดแผนไทยมีกี่แบบ และมีแบบไหนบ้าง
1. นวดน้ำมัน
การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ และกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย และคลายเครียด ด้วยกลิ่นหอม เฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่าง ทำให้กล้ามเนื้อไม่ หย่อนยาน สลายไขมันตามร่างกาย ความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวด จะซึมลึกเข้าไปผิวหนังและกล้ามเนื้อ ช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว 2. นวดผ่อนคลาย
การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิด การไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย
3. นวดฝ่าเท้า
การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
4. นวดสลายไขมัน – อโรมา
เป็นการนวดน้ำมัน เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย
5. นวด – ประคบ
เป็นการใช้ลูกประคบสมุนไพร ประคบตามร่างกาย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงหรือเครียดให้สบาย
6. นวด – ไมเกรน
เป็นการนวดเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ โดยจะกดจุดบริเวณศีรษะที่ปวด
7. นวดสปอร์ท
การออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้า การนวดสปอร์ท จึงเป็นการนวดคลายกล้ามเนื้อดังกล่าว ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
8. นวดจับเส้น
การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา ผ่อนคลาย
ประโยชน์ของการนวดแผนไทย
- ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง เพื่อให้เลือดสามารถนำออกซิเจน ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างทั่วถึง
- ขับของเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำเหลือง เพื่อไม่ให้มีการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย สุขภาพก็ดีขึ้น
- แก้อาการปวดต่างๆ เช่นปวดยอก ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก อาการชา เนื่องจากไหลเวียนเลือดไม่ดี เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่างการนวดแผนไทย และ กายภาพบำบัด
เทคนิคการนวด (Massage) ของนักกายภาพบำบัดเป็นเพียงส่วนเล็กๆของการรักษาทางกายภาพบำบัดเท่านั้น หากลงลึกไปในส่วนของการรักษาด้วยหัตถการ ก็จะทราบว่ามีความแตกต่างกับการนวดแผนไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะนักกายภาพบำบัดต้องเรียนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เรียนรู้โครงสร้างภายในของมนุษย์อย่างละเอียดไม่แพ้การเรียนแพทย์เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อต่อต่างๆ ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท เพื่อจะสามารถวินิจฉัย และรักษาอาการของผู้ป่วยได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นการใช้เครื่องมือทางกายภาพร่วมกับเทคนิคการออกกำลังกายที่นักกายภาพแนะนำให้คนไข้สามารถไปปฏิบัติด้วยตนเองได้ โดยจะคำนึงถึงอาการ และโรคของคนไข้แต่ละราย
นวดและภายภาพบำบัดเหมาะกับใครบ้าง?
- นวด
- กายภาพบำบัด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน