ถุงน้ำดีอักเสบ-โรคนี้ส่งอาการปวดที่จุดไหนบ้าง?
“ถุงน้ำดีอักเสบ” มักเกิดขึ้นจากอาการอักเสบของถุงน้ำดี โดยปัจจัยที่พบบ่อยมักเกิดจากการขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี ถุงน้ำดีมีหน้าที่หลักในการเก็บสำรองน้ำดีที่ผลิตจากตับ แล้วก็ทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้นน้ำดีช่วยในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกไขมัน หากเกิดการอุดตันของทางเดินน้ำดี จะส่งผลให้ถุงน้ำดีบวมนั่นเอง อย่างไรก็ดี อาการสำคัญอีกอย่างของโรคนี้คือการที่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต่างๆ ตามร่างกาย ซึ่งจะปวดตรงไหนบ้างนั้น เราต้องหาคำตอบ
ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง?
ถุงน้ำดีมีหน้าที่หลักในการเก็บสำรองน้ำดีที่ผลิตจากตับ แล้วก็ทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น น้ำดีช่วยในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกไขมัน หากเกิดการอุดตันของทางเดินน้ำดี จะส่งผลให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ นั่นเอง
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินน้ำดีหรือถุงน้ำดีแบ่งได้ 2 ประเภท
1.เกิดจากนิ่ว (Calculous Cholecystitis)
นิ่วในถุงน้ำดีจัดเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด โดยผู้ป่วยร้อยละ 95 เป็นโรคนี้จากนิ่วในถุงน้ำดี ทั้งนี้ นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการสะสมของไขมันและเกลือที่อยู่ในน้ำดี โดยนิ่วจะเข้าไปอุดตันในท่อถุงน้ำดี ทำให้น้ำดีไม่สามารถไหลผ่านได้และสะสมอยู่ภายในถุงน้ำดี ส่งผลให้ถุงน้ำดีบวมและเกิดการอักเสบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 5 ยังติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
2. สาเหตุอื่นที่พบได้น้อยมากหากเทียบกับอาการที่เกิดจากนิ่ว (Acalculous Cholecystitis)
เช่น การเกิดพังผืดอุบัติเหตุที่ทำให้ถุงน้ำดีฉีกขาด การติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยหนัก เป็นต้น
ประเภทของกลุ่มอาการถุงน้ำดี
มีได้ทั้งการอักเสบแบบฉับพลันหรือเรื้อรัง สาเหตุส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับนิ่วในถุงน้ำดี หรือรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
1.ถุงน้ำดีอักเสบฉับพลัน
จะมีอาการปวดมากทันทีบริเวณท้องด้านขวาใต้ชายโครง และอาการปวดกำเริบมากขึ้นเป็นช่วง ๆ และปวดร้าวไปไหล่ขวาและหลังได้ มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและไข้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงวัยกลางคนร่วมกับการรับประทานอาหารมัน ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันสามารถพบได้ในภาวะถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง อาการจะเป็นเช่นเดียวกับการอักเสบเฉียบพลันของถุงน้ำดี ในช่วงโรคสงบของถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง จะมีอาการเด่นชัด คือ หลังทานอาหารจะรู้สึกแน่นอึดอัดท้องช่วงบน เรอ กลัวอาหารมัน มักมีอาการปวดร้าวไปไหล่ขวา และหลังร่วมด้วย อาการจะเป็นมากขึ้น เมื่อยืนขึ้น เคลื่อนไหว หรืออาบน้ำเย็น
2.ถุงน้ำดีอักเสบ
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดีอุดตันทางเดินของท่อน้ำดี ทำให้เกิดการคั่งของน้ำดี ท่อน้ำดีบวม เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ E. coli และกลุ่มเชื้อ Bacteroides และเกิดการอักเสบของผนังของถุงน้ำดี เกิดการขาดเลือดเน่าตายและฉีกขาด มีการลุกลามของเชื้อโรคไปสู่อวัยวะข้างเคียง เช่น ลำไส้และกระบังลม สาเหตุส่วนน้อยเกิดจากการอักเสบโดยไม่มีนิ่วในถุงน้ำดี มักพบในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ
3.นิ่วในถุงน้ำดี
เมื่อเกิดการอุดตันจะก่อให้เกิดการปวดท้องกะทันหัน ในกรณีที่เป็นถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง มักจะเกิดการอักเสบที่ไม่รุนแรง โดยผนังของถุงน้ำดีจากหนาตัวขึ้นมาก
ลักษณะอาการ
-
ปวดบริเวณท้องส่วนบนด้านขวาหรือตรงกลาง
ซึ่งมักปวดไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือปวดตุบ ๆ บริเวณดังกล่าว
-
อาการปวดท้อง
ปวดร้าวไปที่หลังหรือบริเวณใต้สะบักด้านขวา รวมถึงอาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
-
เกิดอาการปวดท้องหลังรับประทานอาหาร
โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารในปริมาณมาก หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเยอะ
-
รู้สึกระบมที่ท้องด้านขวา
ทั้งนี้ เมื่อกดบริเวณท้องจะปวดมาก และอุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน
แนวทางการรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นถุงน้ำดีอักเสบจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์จะคอยดูแลอาการอักเสบของถุงน้ำดีและอาการป่วยอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
ซึ่งแนวทางการรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีดังนี้
1.การรักษาเบื้องต้น
ในการรักษาเบื้องต้นนี้ ผู้ป่วยจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพื่อลดการบีบตัวของหูรูดที่ถุงน้ำดี ลดการระบายสารต่างๆ ออกมา รวมทั้งช่วยให้ถุงน้ำดีไม่ทำงานหนัก อย่างไรก็ตาม แพทย์จะเจาะหลอดเลือดดำให้น้ำเกลือทีละหยดแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ รวมทั้งให้ยาแก้ปวดผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบให้ทุเลาลง
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดถุงน้ำดีใช้เวลาผ่าตัดแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของอาการป่วยและแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างและหลังผ่าตัด ซึ่งโดยปกติ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีในกรณีที่เกิดการอักเสบซ้ำ หรือประสบภาวะแทรกซ้อนอื่น ได้แก่ เนื้อเยื่อตาย (Gangrene) ถุงน้ำดีทะลุ ตับอ่อนอักเสบ เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี หรือท่อน้ำดีอักเสบ หากเกิดอาการป่วยรุนแรง ผู้ป่วยจะได้รับการใส่ท่อผ่านหน้าท้องเข้าไปที่ถุงน้ำดี เพื่อระบายน้ำดีที่อุดตันออกมา โดยการผ่าตัดก็สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทซึ่งจะถูกนำมาใช้อย่างไรก็จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนนั่นเอง
กายภาพบำบัด กับ อาการถุงน้ำดีอักเสบ
ในการรักษาหรือผ่าตัดอาการป่วยชนิดนี้มีจุดเด่นคือ การมีแพทย์เฉพาะทางหลายๆ แขนงเข้าร่วมการรักษา หนึ่งในนั้นคือทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพ ซึ่งมาเป็นผู้ช่วยในการรักษาทางกายวิภาคและเป็นทีมที่ช่วยแนะนำจากทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว กลับไปทำงานหรือออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ท้ายที่สุด กลุ่มอาการถุงน้ำดีมีทั้งที่ป้องกันได้และไม่ได้ เช่น อาการอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น แต่เราก็ยังสามารถป้องกันกลุ่มอาการอื่นๆ ได้ เช่น การเกิดนิ่ว ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ต้องลดการรับประทานอาหารที่มีความมัน ออกกำลังกายให้มากขึ้น และถ้าหากมีข้อสงสัยในการดูแลตนเองในข้อใดการสามารถเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน