“ข้อไหล่อักเสบ” อาการที่ควรระวัง ปล่อยเรื้อรังไม่ดี
“ข้อไหล่อักเสบ” หนึ่งในโรคหัวไหล่ที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง หากไม่รีบรักษาอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพได้ เพราะแม้ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับข้อหัวไหล่แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อระบบอื่นๆ และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ เนื่องจากเป็นจุดรวมของเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้ออื่นๆ จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่การที่เรามีอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่ เราจะปวดขึ้นมายังต้นคอหรือลุกลามมาจนถึงท้ายทอยด้วยนั่นเอง อีกทั้งหากยิ่งเป็นโรคร้ายแรง เช่น ข้อไหล่อักเสบ แบบนี้ การระมัดระวังตนเองจึงต้องยิ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเพราะหากเป็นขึ้นมาจริงๆ การรักษาให้หายขาดอาจเป็นเรื่องยาก
“ข้อไหล่อักเสบ” คืออะไร มีสาเหตุจากอะไรบ้าง
หลายๆ คนคงเคยมีประสบการณ์การปวดไหล่กันพอสมควร โดยเฉพาะเวลาบิดหมุนข้อไหล่ อาการปวดไหล่มีสาเหตุในการเกิดมากมายหลายอย่าง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาภายในข้อไหล่เอง อาจจะเกิดจากการอักเสบของของข้อไหล่หรือกล้ามเนื้อโดยรอบ ซึ่งอาการปวดไหล่มักจะมีอาการแย่ลงและปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ อาการปวดมักจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ และร้าวไปยังบริเวณต้นแขน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงสาวที่อาจจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่เมื่อหมุนไหล่ในการใส่เสื้อชุดชั้นในหรือเสื้อยืด บางครั้งอาการปวดหัวไหล่อาจเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมายังที่บริเวณหัวไหล่ตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
สาเหตุของข้อไหล่อักเสบ
อาการปวดไหล่ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาการอักเสบ และการเสื่อมของเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น มากกว่าเกิดจากกระดูก โดยมักแบ่งเป็น
-
เส้นเอ็นหรือถุงน้ำอักเสบ
เส้นเอ็นมีลักษณะเป็นเส้น ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก เส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกระบวนการเสื่อมสลายที่เกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปวดไหล่เพียงเล็กน้อย อาการจะเป็นๆ หายๆ เริ่มมีอาการอ่อนแรงของข้อไหล่ และข้อไหล่เคลื่อนไหวลำบาก โดยเฉพาะท่าที่ยกแขนขึ้นไปเหนือศีรษะ ทั้งนี้หากเป็นอาการอักเสบแบบฉับพลัน ความเจ็บปวดก็จะหายไปโดยผู้บาดเจ็บต้องหยุดทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อการอักเสบของข้อหัวไหล่ด้วย เพื่อให้ไหล่ได้พักและอาจประคบร้อนเพื่อให้ทุเลาอาการปวดลง แต่หากการอักเสบรุนแรงกว่านั้นผู้ป่วยอาจจะต้องฉีดยาสเตียลอยด์หรือทานยาเพื่อลดอาการ
- การเกิดหินปูนภายในเส้นเอ็นที่ยึดเกาะบริเวณข้อไหล่
ก่อให้เกิดการอักเสบ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน ไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้เพราะมีอาการเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
อาการของข้อไหล่อักเสบ
ที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1) โรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกค่อย ๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวจนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น 2) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยและเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชาย ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงก็เป็นได้เช่นกัน ข้ออักเสบรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการลดกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบกับข้อ ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อ เช่น การออกกำลังกายที่ระดับความหนักน้อย เช่น การวิ่งจ็อกกิง ไปจนถึงระดับความหนักปานกลาง เช่น การขี่จักรยาน เป็นต้น
แนวทางการรักษา
- ยาลดการอักเสบและยาบรรเทาปวด เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อไหล่สามารถกลับมาใช้งานและเคลื่อนไหวให้ได้เหมือนเดิม การประคบด้วยความร้อน
- การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
- ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นอาจจะต้องทำการ MRI Scane เพื่อดูว่ามีปัญหาของพายาธิร่วมด้วยหรือไม่
ท้ายที่สุด สิ่งสำคัญคือการไม่รอให้อาการเจ็บปวดจนบานปลายและลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนควรทำคือการหมั่นดูแลและคอยสังเกตตนเองเสมอ เนื่องจากกิจกรรมในแต่ละวันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งการอักเสบของหัวไหล่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ชีวิตปกติของเราด้วยก็เป็นได้ อย่างไรก็ดีการมีสุขภาพไหล่ที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะบางครั้งหัวไหล่อาจไม่ใช่แค่อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายหากแต่เป็นเครื่องมือที่ไว้ใช้ในการเลี้ยงชีพด้วยนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน