ข้อเท้าเคล็ด vs ข้อเท้าแพลง ต่างกันอย่างไร?
“ข้อเท้าเคล็ด” และ “ข้อเท้าแพลง” สองอาการนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? เนื่องจากการบาดเจ็บเกี่ยวกับข้อเท้านั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เคล็ด พลิก แพลง อักเสบ เป็นต้น และแต่ละแบบก็มีอาการที่คล้ายๆ เหมือนๆ กันหมด จึงทำให้หลายๆ คนเกิดการเข้าใจผิดและสับสนว่าแท้จริงแล้วอาการบาดเจ็บของตนเองคืออะไรกันแน่ ยิ่งไปกว่านั้นคือเมื่อเข้าใจอาการบาดเจ็บผิดๆ ก็นำไปสู่วิธีการรักษาที่ผิดๆ นั่นเอง ซึ่งนอกจากอาการเดิมจะไม่หายแล้วก็อาจจะทำให้บาดเจ็บไปเรื่อยๆ อีกด้วย ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือทุกคนต้องรู้จักอาการบาดเจ็บของข้อเท้าต่างๆ ว่าแท้จริงแล้วแต่ละแบบต่างกันอย่างไร
ข้อเท้าเคล็ด vs ข้อเท้าแพลง เหมือนหรือต่างกันแน่?
1.ข้อเท้าเคล็ด คือ
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในการบาดเจ็บของข้อเท้า โดยต้นเหตุของการบาดเจ็บมักเกิดจากการที่เท้ายึดติดกับพื้นในขณะที่ข้อเท้ามีการบิดไม่ว่าจากแรงเฉื่อยของตัวหรือจากน้ำหนักตัว ส่งผลให้เกิดการบิดหมุนของข้อเท้าเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นประกับด้านข้าง (collateral ligament) ของข้อเท้า โดยส่วนมากข้อเท้าเคล็ดเส้นเอ็นประกับข้างของข้อเท้า ที่พบบ่อยคือ เส้นเอ็น anterior talofibular ligament
สาเหตุ
เกิดจากการฉีกขาดของตัวเอ็นประกับด้านข้างของข้อเท้า มักสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็นระดับต่างๆ เช่น การขาดสมบูรณ์กับการขาดบางส่วน หรือ อาจใช้การตรวจความรุนแรงของการบาดเจ็บของเอ็นปะกับ โดยแบ่งดูจากความหย่อน ออกเป็น 1-3 ระดับ ซึ่งการประเมินความรุนแรงมักต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตามคลินิคกล้ามเนื้อต่างๆ
อาการ
จะพบลักษณะปวดบวมข้อเท้าบริเวณด้านข้าง มักพบร่วมกับการบวมเฉพาะจุดของข้อเท้าไปจนถึงบวมรอบข้อเท้า ภาวะการเดินลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่จนถึงการเดินลงน้ำหนักไม่ได้เลย
แนวทางการรักษาอาการข้อเท้าเคล็ด
ในระยะแรกของการบาดเจ็บโดยมากมักจะให้ผู้ป่วยพักการใช้งาน อาจพิจารณาการใส่อุปกรณ์ดาม เช่น เฝือกอ่อน (ในระยะสั้นๆ) การประคบเย็นเพื่อลดและหยุดขั้นตอนการบวม การลดการลงน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระแทก ในข้อเท้า การยกเท้าสูง หลีกเลี่ยงการห้อยขาเพื่อลดการบวม เป็นต้น การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดรักษาข้อเท้าเคล็ดมักจะพิจารณาในกลุ่มที่ความรุนแรงมากหรือเอ็นข้อเท้าฉีกขาดโดยสมบูรณ์ ภาวะกระดูกแตกหักแบบเอ็นฉีกกระชาก หรือคือการที่มีการบาดเจ็บฉีกขาดในหลายๆ ส่วนของข้อเท้าร่วม และเจาะจงในกลุ่มที่อาจได้ประโยชน์จากการเย็บยึดให้ข้อเท้าให้มีความมั่นคง เช่น ในกลุ่มนักกีฬาซึ่งจะคาดหวังผลในการผ่าตัดที่ดีกว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่นักกีฬาจึงมักได้รับการรักษาโดยการไม่ผ่าตัดก็เพียงพอ โดยสามารถแบ่งการผ่าตัดได้เป็น 2 แบบ คือ
-
การผ่าตัดเย็บเส้นเอ็นแบบเปิด
การผ่าตัดวิธีนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลากหลายวิธี แต่เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดแบบเปิด คือ การมีแผลขนาดใหญ่ ซี่งมีโอกาสติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดเนื่องจากความสกปรกบริเวณข้อเท้า อีกทั้ง ผิวหนังบริเวณผ่าตัดมีโอกาสไม่สมานติดได้ เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้มีความตึงสูง
-
การส่องกล้องเย็บเส้นเอ็นด้านข้างของข้อเท้า
ได้พัฒนามาใช้เทคนิคที่ไม่ต้องมีการผูกปมโดยสามารถเย็บรวบเส้นเอ็นด้านข้างและเนื้อเยื่อข้างเคียงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเท้าให้กลับขึ้นมาได้ โดยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีแผลผ่าตัดขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร จำนวน 3-4 แผลเท่านั้น ซึ่งจะลดโอกาสการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด ลดโอกาสที่แผลผ่าตัดไม่ติดหรือแผลแยก ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวและพบได้บ่อยจากการผ่าตัดแบบเปิดบริเวณเท้าและข้อเท้า อย่างไรก็ดี ในบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช้นักกีฬาอาชีพอาจพิจารณาการผ่าตัด ในกรณีของภาวะที่ข้อเท้ามีภาวะไม่มั่นคงจากการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้า ซึ่งแม้รักาษาโดยการอนุรักษ์นิยมแล้วไม่หาย หรือภาวะการบาดเจ็บร่วม เช่น พบการหักของกระดูกอ่อนผิวข้อ หรือการมีเศษแตกในข้อส่งผลให้เป็นเศษลอยในข้อเท้า ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดจะได้ประโยนช์มากกว่านั่นเอง
2. ข้อเท้าแพลง คือ
คือ อาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเท้าพลิก จนทำให้เอ็นช่วยยึดกระดูกระหว่างข้อเท้ากับกระดูกขาเกิดอาการยึดตึงเกินปกติหรือฉีกขาด เมื่อเกิดข้อเท้าแพลง จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวช่วงข้อเท้าได้ตามปกติ ผู้ป่วยข้อเท้าแพลงสามารถรักษาดูแลอาการด้วยตนเองได้ที่บ้าน หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ซึ่งขั้นตอนและวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการข้อเท้าแพลง
สาเหตุ
ข้อเท้าแพลงเกิดจากข้อเท้าพลิกหรือเกิดเหตุที่ทำให้ข้อเท้าอยู่ในท่าผิดไปจากปกติ จนเส้นเอ็นยึดข้อเท้ากับกระดูกขาเกิดการยึดตึง หรือฉีกขาด ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดข้อเท้าแพลง ได้แก่
- ก้าวพลาด หรือหกล้ม
- ทิ้งตัวลงมาผิดจังหวะจากการกระโดดหรือหมุนตัว
- การวิ่งหรือการก้าวเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ
- การสวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า
- การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนจนข้อเท้าแพลงได้ เช่น การเล่นเทนนิส บาสเก็ตบอล ฟุตบอล
- การมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุจนข้อเท้าแพลงได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้ามาก่อน
อาการ
- เจ็บปวดบริเวณข้อเท้าที่แพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลงน้ำหนักที่เท้าหรือได้รับแรงกด
- ข้อเท้าบวม
- บริเวณข้อเท้าที่แพลงมีรอยช้ำเลือด หรือผิวหนังบริเวณนั้นมีสีที่เปลี่ยนไป
- ข้อเท้าบริเวณที่แพลงเกิดอาการยึดตึงและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
- ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงเส้นเอ็นพลิกในขณะที่เกิดข้อเท้าแพลง
แนวทางการรักษาอาการข้อเท้าแพลง
-
รับประทานยา
หากผู้ป่วยเจ็บปวดจากอาการข้อเท้าแพลง ให้รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน
-
พันรัดบริเวณข้อเท้าแพลง
ใช้ผ้ายืดพันรัดรอบบริเวณที่ข้อเท้าแพลง เพื่อลดอาการบวม ให้พันผ้าไว้จนกว่าอาการบวมจะหายไป โดยระมัดระวังไม่พันรัดรอบข้อเท้าจนแน่นเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาการไหลเวียนของเลือด
-
ประคบเย็น
ใช้ถุงน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ข้อเท้าแพลงเป็นเวลา 15-20 นาที และประคบซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน ในวันแรกที่ข้อเท้าแพลง หลังจากนั้นให้ประคบเย็นอีกทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงใน 2 วันให้หลัง แต่หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือกำลังป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคเบาหวาน หรืออาการป่วยทางประสาทสัมผัสการรับรู้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาด้วยวิธีนี้
ยกข้อเท้าขึ้น
ควรยกข้อเท้าขึ้นหรือใช้หมอนช่วยรองให้ข้อเท้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจขณะนอนราบ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยให้ของเหลวส่วนเกินที่คั่งอยู่ไหลออกจากบริเวณที่บาดเจ็บ ทำให้อาการบวมลดลงได้
-
พักผ่อน
เพื่อให้ข้อเท้าที่บาดเจ็บได้พักฟื้น ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มน้ำหนัก แรงกด หรือการกระทบกระเทือนที่อาจทำให้ข้อเท้าบาดเจ็บซ้ำอีก
-
การบำบัด
หลังอาการบวมและบาดเจ็บหายไป ผู้ป่วยอาจต้องฝึกออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะบริหารบริเวณข้อเท้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อ และฝึกการทรงตัวให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ สรุป ทั้งข้อเท้าเคล็ดและข้อเท้าแพลงเป็นการบาดเจ็บที่มีจุดเหมือนกันตรงที่ ทั้งสองอาการจะเป็นการบาดเจ็บเส้นเอ็นที่ข้อเท้าหากแต่จุดที่ต่างคือตำแหน่งของเส้นเอ็น โดยข้อเท้าเคล็ดจะเป็นของตำแหน่งเส้นเอ็นเส้นเอ็นใต้ตาตุ่มด้านข้างหรือที่เรียกว่า anteroir ส่วนข้อเท้าแพลง จะเป็นการบาดเจ็บเอ็นที่ช่วยยึดกระดูกระหว่างข้อเท้ากับกระดูกขานั่นเอง อย่างไรก็ดีทั้ง 2 อาการนี้ควรได้รับการรักษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยตัวผู้บาดเจ็บหรือผู้ดูแลอาจทำได้เพียงปฐมพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถทำการรักษาเองได้ หากเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดอาการขึ้นควรรีบปฐมพยาบาลและพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน