“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” ภัยเงียบที่ต้องเฝ้าระวัง
“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” หากพูดถึงโรคนี้หลายๆ คนคงเข้าใจความหมายจากชื่อโรคว่าคงเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อเท่านั้นและคงไม่ร้ายแรงอะไร หากแต่ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อโรคนี้ส่งผลอันตรายให้กับร่างกายและชีวิตของเรามากกว่านั้นเนื่องจากมันยังส่งผลกระทบไปยังส่วนประสาทอื่นๆ อีกด้วย ทั้งนี้เจ้าโรคร้ายชนิดนี้ยังไม่มีสัญญาณเตือนว่าจะมาเมื่อไหร่ นั่นจึงไม่ผิดนักที่จะเรียกว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบ อย่างไรก็ดีในเมื่อความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นโรคที่ร้ายแรง ฉะนั้นจึงควรรีบรักษาก่อนที่มันจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพและสายจนเกินไปจนลุกลาม
“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” คืออะไร และมีสาเหตุมากจากอะไร
เมื่อกล่าวถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หลายคนอาจจะคิดว่าโรคนี้ต้องเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ซึ่งแท้จริงแล้วโรคนี้ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นมาโรคนี้เป็นภัยเงียบ นั่นเป็นเพราะโดยโรคนี้มักจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนเราไม่อาจรู้ตัว และอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวมักจะเกิดอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเสียแล้ว ดังนั้นเรามาทำความรู้จักโรคนี้ก่อนที่จะลุกลามไปกันใหญ่
สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ซึ่งเซลล์ประสาทในส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยสมมติฐานเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือสารเคมีบางชนิดที่อาจทำให้ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการ ในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลัก และมีโอกาสที่จะพบโรค ALS ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรค ALS ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า แต่มีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยอาจเริ่มจากที่มือ เท้า หรือแขน จากนั้นจะค่อยๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- กล้ามเนื้อแขน ทำให้แขนไม่มีแรง กำมือไม่ได้ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นแขนจะเริ่มลีบลง แล้วจะลามไปยังแขนอีกข้างหนึ่ง
- รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง อาจเกิดอาการกระตุก รวมทั้งบริเวณแขน ไหล่ และลิ้นอาจมีอาการแข็งเกร็ง ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ บางรายอาจมีอาการหนักจนไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้
- ไม่สามารถควบคุมกระบังลมได้จึงทำให้หายใจไม่สะดวก
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อชนิดนี้ทำอย่างไร
การวินิจฉัยโรคนี้อาจต้องมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และตรวจโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม ดังนี้
- การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรง
- การตรวจชักนำประสาท เพื่อกระตุ้นเส้นประสาท วัดการทำงานของเส้นประสาท
- การตรวจ MRI SCAN เพื่อตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูก
- การเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางและสมอง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด
สำหรับวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะเป็นการรักษาตามอาการและเน้นการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน
วิธีการป้องกัน
โรคนี้ไม่พบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดจึงยังไม่มีวิธีป้องกันได้ 100 % แต่เราสามารถให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
- พยายามหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสารเคมี หรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
ปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้อชนิดนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้โดย การมีสุขอนามัยทีดี หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากเกินไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน