กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้มั้ย? ไขข้อข้องใจ แก้ไขให้ถูก
กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้มั้ย ? เป็นข้อสงสัยที่มีกันมาอย่างยาวนาน เพราะปกติเมื่อเรามีอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ “การนวด” ถือเป็นวิธีอันดับต้นๆ ในการช่วยบรรเทาอาการปวดให้เราได้ เนื่องจากพอนวดแล้ว อาการปวดเหล่านั้นก็หายไปอย่างปลิดทิ้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การปวดดังกล่าวกลับกลายเป็นอาการที่รุนแรงขึ้นคือ “กล้ามเนื้ออักเสบ” ซึ่งอาการที่แสดงออกก็คล้ายๆ กันกับการเมื่อยธรรมดา แต่ในครั้งนี้ดันต่างกันออกไปตรงที่ว่าเราไม่อาจนวดได้เช่นเดิมนั่นเอง
กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้มั้ย ถ้าหากนวดไม่ดีอาการจะหนักขึ้น จริงหรือ ?
เชื่อได้ว่าหลายคนต้องมีอาการปวดเมื่อยบางอย่างแน่นอน ซึ่งอาจมองข้ามว่าแค่ปวดเมื่อยเดี๋ยวก็หาย แต่เมื่อนานเข้าอาการที่เป็นอาจเริ่มแปรเปลี่ยน จากแค่เมื่อยก็กลายเป็นกลุ่มอาการของโรคได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี การนวด ยังคงเป็นหนทางที่เรามักใช้เป็นทางออกอยู่เสมอเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งในบางครั้งในขณะที่นวดเราอาจเจอก้อนบางอย่าง หรือจุดตึงๆ ก็ยิ่งนวดลงไปแรงขึ้นเพราะรู้สึกว่าบรรเทาได้ดี แต่แท้จริงแล้วก็ทำเช่นนั้นอาจมีอาการร้าวไปยังส่วนอื่นของร่างกาย อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อทำงาน หรือมีการเคลื่อนไหวได้ด้วย
“Trigger point” หรือ “จุดกดเจ็บ”
เป็นจุดปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งซึ่งมีขาดประมาณ 3-6 เซนติเมตรและมีความไวต่อการกระตุ้น ซึ่งจุดกดเจ็บเช่นนี้ถือเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อเพราะมันไม่เพียงเกิดอาการปวดเพียงจุดเดียว แต่อาจแผ่ไปยังจุดอื่นๆ ได้ด้วย หรือที่เรียกว่า referred pain เช่น กดที่ไหล่ แต่ไปรู้สึกที่ขมับ เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของ “จุดกดเจ็บ”
- อาการปวดจะสามารถร้าวไปบริเวณกล้ามเนื้อมัดข้างเคียงร่วมได้ (Refer Pain)
- สาเหตุที่ทำให้เกิด “จุดกดเจ็บ”
- อยู่ในท่าทางใด ท่าทางหนึ่ง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน (มากกว่า1ชั่วโมง) เช่น การใช้สมาร์ทโฟน และ การนั่งจ้องหน้าคอม เป็นต้น
- ท่าทาง สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์สำนักงาน ที่ไม่เหมาะในการทำงาน
สรุปแล้ว “นวดได้” แต่ต้อง “รู้จุด”
อย่างไรก็ดี หากอยากทราบว่าทำอย่างไรถึงจะแก้ไขเจ้าก้อนนี้ออกไปสิ่งแรกคือเราจะต้องทราบก่อนว่าต้องนี้อาการปวดของเรานั้นเป็นแบบไหน
โดยจุดกดเจ็บหลายนี้นักวิชาการได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม นั้นคือ
1. Acute MPS
2. Sub-acute MPS
มีอาการปวดที่มากกว่า 2 เดือน แต่ไม่ถึง 6 เดือน การแก้ไขคือหากเลยระยะเวลาอักเสบหรือปวด บวม แดง ร้อน แล้วสามารถประคอบด้วยความร้อนหรือเจลร้อนที่เป็นยาทา ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับนวดบริเวณดั่งกล่าวเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเลือดและลดการคั่งค้างของของเสีย
3. CHRONIC MPS
มีอาการปวดมากกว่า 6 เดือนที่มีการรบกวนต่อกิจวัตรหรือการทำงาน การนอน และสุขภาพจิตอาจทำวิธีจาก Sub-acute แต่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือคุณเองต้องสำรวจด้วยว่าอาการดั่งกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และพยายามหลีกเลี่ยงก่อน หากกิจกรรมดังกล่าวไม่สามารถหยุดหรือเลิกทำ สิ่งทำคัญที่จะช่วยแก้ไขในระยะยาวคือหลังจากอาการปวดดีขึ้นคุณจะต้องเริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่กล้ามเนื้อ
การดูแลรักษาทาง กายภาพบำบัด
- ใช้คลื่นกระแทก (Shock Wave) เพื่อคลายจุดกดเจ็บออก (Trigger point)
- ทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อลดการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น
- ประคบร้อน ประคบเย็น
- ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับท่าทางให้ถูกต้องตามโครงสร้างร่างกาย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ชนิดของกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง? ส่วนไหนเกิดโรคได้ง่ายที่สุด
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- รักษาด้วยเลเซอร์- วิธีทางกายภาพบรรเทาอาการปวด