โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้หรือเปล่า?
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว หรือ Fibromyalgia เป็นโรคทางกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเราจะมีอาการอักเสบแค่เฉพาะบางบริเวณเท่านั้น แต่โรคกล้ามเนื้อชนิดนี้ จะมีสาเหตุหลักๆ มาจากระบบประสาทที่เกิดอาการผิดปกติบางอย่างจึงส่งผลให้เกิดอาการอักเสบกล้ามเนื้อไปทั่วร่างกาย อย่างไรก็ดี โรคกล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมทั้งอาจนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท โรคนี้ไม่อาจรักษาให้หายขาด แพทย์จึงจะประคับประคองอาการโดยให้ผู้ป่วยรับประทานยา ออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเครียดเป็นหลักเท่านั้น
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว คืออะไร ทำไมคนส่วนใหญ่จึงไม่รู้จัก?
โรค “ไฟโบรมัยอัลเจีย” คือ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ผู้ป่วยจะมีความทรมานจากการปวดกล้ามเนื้อ เจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลา และยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากกว่าปกติจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดไปทั้งตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อกล้ามเนื้อเลย อาการปวดรบกวนคุณภาพชีวิตจนอาจมีปัญหาในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบในวัยทำงาน วัยกลางคนราวอายุ 30-50 ปีมากที่สุด ทั้งนี้ ปัญหาของผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย คือ มักเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการปวดได้ยาก ต้องเปลี่ยนวิธีการตรวจมากกว่า 1 ครั้ง เพราะอาจพบแพทย์แผนกกล้ามเนื้อก่อน และไม่อาจพบสาเหตุได้จากการตรวจเลือด
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว คืออะไร?
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวเป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากภูมิต้านทานตนเองมาทำลายกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย โรคนี้มีลักษณะเด่น คือ มีการอักเสบของกล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกาย ทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเป็นกับกล้ามเนื้อได้ทุกมัด
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อชนิดนี้ คือ…
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Fibromyalgia แต่เชื่อว่าอาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความผิดปกติของระบบสมอง
อาการปวดทั่วร่างกายอาจเป็นผลมาจากการมีสารสื่อประสาทที่กระตุ้นให้รู้สึกเจ็บปวดในปริมาณมากขึ้น และตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดของสมองตอบสนองไวกว่าปกติ
ปัญหาทางการนอนหลับ
แพทย์ไม่ทราบแน่ชัดว่าการนอนไม่หลับหรือหลับไม่เต็มอิ่มนั้นเป็นอาการหรือสาเหตุของโรคนี้กันแน่ เพราะเป็นไปได้ว่าปัญหาด้านการนอนหลับอาจกระทบต่อระดับสารเคมีในสมองบางชนิดและส่งผลให้เกิดโรค
สิ่งกระตุ้นบางชนิด
อาการบาดเจ็บทางร่างกาย ความบอบช้ำทางจิตใจ หรือการติดเชื้อ แม้ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่อาจกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้แสดงอาการป่วยออกมาได้
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
นักวิจัยเชื่อว่าร่างกายมียีนบางตัวที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด การกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรก คือ อาการปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ ตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต้นของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการลุกเดินลำบาก ยกแขนไม่ค่อยขึ้น หรือไม่สามารถยกศีรษะขึ้นจากหมอนเวลานอน ในบางรายอาจมีปัญหากับกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือถ้าเป็นกับกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ ระบบการหายใจล้มเหลว เป็นต้น ในบางรายอาจมีผื่นบริเวณใบหน้าและลำคอร่วมด้วย
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงกับการเป็นโรคนี้
โรคนี้พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย อายุที่พบอยู่ในช่วงประมาณ 30-50 ปี
แนวทางการรักษาโรคนี้ ประกอบด้วย…
การรักษาโรคนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
การรักษาทางยา
การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นเวลานาน เพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงมาก ผู้ป่วยจึงต้องติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจพิจารณาใช้ยากดภูมิคุ้มกันในการรักษาด้วย
การทำกายภาพบำบัด
มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษา การทำกายภาพบำบัดจะเป็นการป้องกันไม่ให้กล้าม เนื้อหดตัวแข็ง ป้องกันข้อติดและส่งเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ เป็นการให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพและช่วยเหลือตนเองได้เร็วขึ้น
แนวทางการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
- เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์ ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- เครื่องอบความร้อนลึก ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น
โดยในระหว่างการรักษาในแต่ละครั้งนักกายภาพบำบัดเราจะติดตามอาการและประเมินผลการรักษาโดยการสอบถามระดับความรู้สึกเจ็บปวดหลังการรักษาในทุกๆครั้ง เพื่อนำมาวางแผนการรักษาในครั้งถัดไป กรณีอาการยังไม่ทุเลาหรือยังไม่ดีขึ้นจะมีการตรวจประเมินวิเคราะห์อาการซ้ำ และเปลี่ยนแนวทางการรักษาให้ตรงกับอาการมากขึ้น
แนวทางการป้องกันไฟโบรมัยอัลเจีย
เนื่องจากยังไม่อาจสรุปสาเหตุการเกิดโรค Fibromyalgia ได้แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล การรักษาแบบประคับประคองอาการร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ทำได้ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนให้ตรงเวลา และพยายามไม่งีบหลับระหว่างวัน เพื่อป้องกันการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ในระยะแรกการออกกำลังอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองเมื่อทำเป็นประจำ
- จัดการความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ เป็นต้น
โดยนอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับกายภาพบำบัดเพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ รวมถึงเข้าร่วมการทำกิจกรรมบำบัดเพื่อเรียนรู้การปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและการจัดวางร่างกายระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ส่วนผู้ป่วยที่รู้สึกเครียดหรือหดหู่ ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาจากองค์กรที่เชื่อถือได้ เพื่อเรียนรู้การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ชนิดของกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง? ส่วนไหนเกิดโรคได้ง่ายที่สุด
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- รักษาด้วยเลเซอร์- วิธีทางกายภาพบรรเทาอาการปวด