ผ่าตัด นิ้วล็อค มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
ผ่าตัด นิ้วล็อค (Trigger Finger) เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยสำหรับคนในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีหลายพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดอาการเช่นนี้ขึ้นมา “นิ้วล็อค” นั้นเป็นภาวะอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยในภาวะนี้จะใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างลำบากเนื่องจากไม่สามารถใช้มือหรือนิ้วมือได้อย่างถนัดมากนัก อย่างไรก็ดีแม้จะไม่มีอันตรายอะไร แต่ก็ควรรักษาให้หายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง
ผ่าตัด นิ้วล็อค มีกี่แบบ แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ซึ่งก่อนที่คนไข้จะศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดนั้น ก็ต้องมาทำความรู้จักกับอาการนิ้วล็อคกันก่อน ว่าภาวะนี้เกิดจากอะไร มีระยะอาการแบบไหน เนื่องจากหลาย ๆ คนอาจคิดว่าอาการนิ้วล็อคจะแสดงอาการเพียงแค่อาการปวดเท่านั้น จึงไม่ได้เอาใจใส่ในการรักษามากเท่าที่ควร ซึ่งเหตุผลนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ แม้จะรักษาแล้วก็ตาม ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คนไข้ต้องมาทำความรู้จักกับภาวะนี้แบบพอสังเขปเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนนั่นเอง
โรคนิ้วล็อค คือ…
สาเหตุเกิดจาก
ระยะอาการ
สำหรับนิ้วล็อคนั้นสามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
-
ระยะที่ 1
-
ระยะที่ 2
-
ระยะที่ 3
-
ระยะที่ 4
แนวทางการรักษาอาการนิ้วล็อคด้วยการผ่าตัด
โดยทั่วไปแล้วการรักษาโรคนิ้วล็อคสามารถทำได้หลายวิธี แต่สำหรับการผ่าตัด สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
การผ่าตัดแบบเปิด
เป็นวิธีมาตรฐาน โดยฉีดยาชาเฉพาะที่มีแผลผ่าตัด เพื่อกรีดผ่าปลอกหุ้มเอ็น เสร็จแล้วกลับบ้านได้ แต่หลังผ่าตัดต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานหนักและการสัมผัสแผล ประมาณ 2 สัปดาห์
การผ่าตัดแบบปิด
โดยการใช้เข็มเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออกผ่านผิวหนังโดยแทบไม่มีแผลให้เห็น แต่อาจมีอันตรายต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทที่อยู่บริเวณข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวดแผลเวลาขยับนิ้วมือ ข้อนิ้วติดแข็ง มีอาการชาปลายนิ้ว
ผลลัพธ์หลังผ่าตัด
สำหรับการรักษาแบบผ่าตัดนั้น แน่นอนว่าผลลัพธ์คือสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่ต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ โดยการรักษาจะต้องหากิจกรรมที่กระตุ้นให้เป็นนิ้วล็อคให้ได้ก่อน และปรับ หรือลดการใช้งานนิ้ว รวมถึงการทานยา และกายภาพบำบัดด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นิ้วมือกลับมาใช้งานได้ปกติและไม่กลับมาเป็นซ้ำดังเช่นที่กล่าวไปในข้างต้น
อาการข้างเคียงหลังผ่าตัดนิ้วล็อค
- ปวดเล็กน้อยบริเวณแผลผ่าตัด สามารถทานยาแก้ปวดทุเลาได้
- มือข้างที่ผ่าตัดบวม แนะนำให้ยกแขนสูง ไม่ห้อยแขนนาน
- นิ้วติด เนื่องจากไม่ขยับนิ้วหลังผ่าตัด อาจจะเพราะกลัวเจ็บ หรือกลัวแผลแยก แนะนำให้ขยับนิ้วกายภาพทันทีหลังผ่า (ตามที่คุณหมอแนะนำ)
- แผลผ่าตัดติดเชื้อ แนะนำให้รักษาความสะอาด อย่าให้แผลโดนน้ำ ทานยาฆ่าเชื้อตามคำแนะนำของคุณหมอ
การดูแลหลังผ่าตัดนิ้วล็อค
การดูแลหลังผ่าตัดนิ้วล็อค การผ่าตัดนิ้วล็อคจะมีแผลประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณโคนนิ้ว
-
- ดูแลแผลไม่ให้โดนน้ำ
- ปิดแผล 10-14 วัน สามารถตัดไหมได้
- หลังผ่าตัดพยายามทำกายภาพงอเหยียดนิ้ว ป้องกันการเกิดข้อนิ้วติด
- ทานยาแก้ปวดตามอาการ
- ทานยาฆ่าเชื้อโรคที่คุณหมอให้ตามคำแนะนำ
อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยการผ่าตัดจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่มือและนิ้วนั้นเป็นจุดรวมของเส้นประสาทอีกจุดหนึ่ง ซึ่งถ้าหากเกิดการผิดพลาดระหว่างการผ่าตัดก็อาจทำให้เกิดผลเสียได้ ดังนั้น คนไข้ควรพิจารณาและเลือกสถานที่รักษาให้ดี เพื่อความปลอดภัยของตัวคนไข้และผลลัพธ์ทางการรักษาตามที่คาดหวัง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง