6 ท่านอนแก้ปวดคอบ่าไหล่ ปรับท่านอนง่าย ๆ หายได้ด้วยตนเอง
“ท่านอนแก้ปวดคอบ่าไหล่” อีกหนึ่งแนวทางที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าสามารถบรรเทาอาการได้มากกว่าที่คิด ซึ่งแม้จะเป็นแนวทางการป้องกันเบื้องต้น แต่ถ้าหากผู้ที่ประสบปัญหาสามารถปรับได้ ก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะปวด คอ บ่า ไหล่ ได้มากทีเดียว ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนได้ลองศึกษาและนำไปปรับใช้กัน บทความนี้ Newton Em Clinic จึงรวบรวมท่านอนลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ทั้ง 6 ท่า มาฝาก ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง มาดูพร้อม ๆ กัน
ท่านอนแก้ปวดคอบ่าไหล่ 6 ท่าง่าย ๆ ปรับได้ด้วยตัวเอง
ปวดไหล่ขวา ต้นคอ อาการเล็ก ๆ ที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งดูเหมือนว่าลักษณะอาการนี้จะเกิดขึ้นเยอะในผู้ที่ทำงานออฟฟิศหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม จากที่ได้บอกไปว่า แม้อาการนี้จะดูเป็นอาการเล็ก ๆ แต่ถ้าหากปล่อยไว้เรื้อรัง คงไม่ดีแน่เพราะอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ดังนั้น ผู้มีอาการปวดควรเริ่มศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาที่ต้นตอเพื่อให้อาการปวดนี้หายไปในที่สุด และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
พฤติกรรมเสี่ยง ส่งผลให้ปวดไหล่และต้นคอ ที่หลาย ๆ คนไม่รู้ตัว
พฤติกรรมชวนปวดคอและหัวไหล่ ที่พบเห็นได้ทั่วไป อย่างเช่น การนอนคว่ำเป็นประจำ นอนหมอนสูงเกินไป การสะบัดคอ สะบัดผม การใช้งานคอกับไหล่เป็นเวลานานเกินไป เช่น การใช้คอกับบ่าหนีบโทรศัพท์ หรือเล่นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้บ่าหรือคอ การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางไม่เหมาะสม หรืองานที่ต้องเกร็งไหล่ทั้งสองข้าง อยู่ในอิริยาบถของคองุ้ม ไหล่งุ้ม ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น
พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าสะสมระยะเวลานานๆ โดยไม่แก้ไขนั้น จะทำให้เกิดอาการปวด และอาจเกิดโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้นตามมา อย่างเช่น หน้ายื่น ไหล่ห่อ หรืออาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ ที่ส่งผลไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
อาการปวดหัวไหล่และต้นคอ มีกี่แบบ?
อาการปวดกล้ามเนื้อเช่นนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย…
แบบเฉียบพลัน
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ผิดท่าทางจากปกติ เช่น การนอนตกหมอน จนทำให้บริเวณคอบ่าไหล่ตึงไม่สามารถขยับคอหรือหันหน้าได้อย่างอิสระเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเกิดอาการเกร็งตัวนั่นเอง
แบบเรื้อรัง
มักเกิดกับผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้งานคอ บ่า ไหล่ นานจนเกิดไป ไม่ได้หยุดพัก หรือมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงพอจากการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าภาวะอาการจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง แต่ผู้ประสบปัญหาอาการปวดก็ไม่ควรละเลยหรือปล่อยให้อาการปวดคอ บ่า ไหล่ นี้ให้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น จึงควรปรับพฤติกรรมหรือเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
6 ท่านอนพิชิตอาการปวด คอ บ่า ไหล่ ที่ทุกคนควรรู้!
ท่านอนที่คนทั่วไปนอนจะมีด้วยกัน 3 ท่าคือ นอนหงาย นอนตะแคง และนอนคว่ำ ซึ่งถือเป็นท่านอนที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดอาการปวดได้ง่าย แต่หากลองปรับท่านอนให้เหมาะสม ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการปวดได้มากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ จาก 6 ท่านี้…
1.ท่านอนกางแขนและขาคล้ายปลาดาว
ท่านอนปลาดาว เป็นท่านอนที่มีลักษณะคล้ายกับการนอนหงาย แต่จะกางแขนสองข้างราบไปทางเหนือศีรษะ และกางขาทั้งสองออกไปเหมือนกับปลาดาว พร้อมกับปล่อยตัวให้สบาย ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อได้รู้สึกผ่อนคลาย รวมถึงสามารถกระจายน้ำหนักตัวออกไปได้อย่างทั่วถึงเช่นกัน ซึ่งหากนอนท่านี้ในท่านอนที่ถูกต้องได้ จะสามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยในส่วนต่างๆ ของร่างกายและช่วยทำให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
2. ท่านอนคว่ำหน้า
ท่านอนคว่ำหน้า เป็นท่านอนที่ต้องคว่ำหน้าลงไปบนหมอน เป็นท่าที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักเช่นกัน เพราะทำให้หายใจได้ไม่สะดวก อาจทำให้รู้สึกอึดอัด จนนอนหลับได้ไม่สบายตัว โดยท่านอนคว่ำหน้าเป็นท่าที่ไม่ควรนอนเป็นระยะเวลานาน
หากต้องการนอนก็ควรนอนในท่านอนที่ถูกต้อง ด้วยการหันหน้าออกทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น หรือหากต้องการคลายความเมื่อยล้าหรืออาการปวดเมื่อยให้กับร่างกาย สามารถใช้ท่านอนนี้ได้ แต่จะต้องใช้หมอนหนุนศีรษะที่ไม่สูงมากและใช้หมอนเสริมเพื่อหนุนในบริเวณท้อง สะโพก และคอทุกครั้ง
3. ท่านอนขดตัวแบบทารก
ท่านอนขดตัวแบบทารก เป็นท่านอนที่จะงอขาทั้งสองข้างขึ้นมาจนเข่าชิดหน้าอก และก้มหน้าลงไปหาหัวเข่า โดยอาจจะนอนตะแคงขวา หรือตะแคงซ้ายก็ได้ ซึ่งการนอนท่านี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก เพราะเกิดอาการเมื่อยได้ง่าย อาจจะต้องยืดตัว หรือต้องขยับตัวเปลี่ยนไปนอนท่าอื่นอยู่บ่อยๆ จนส่งผลให้นอนหลับได้ไม่สนิท ทำให้รู้สึกเพลียได้ แต่หากจัดท่าทางในการนอนที่ถูกต้องก็มีประโยชน์เช่นกัน
4. ท่านอนหงาย
ท่านอนหงาย เป็นอีกท่านอนที่หลายคนนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นท่านอนที่สบาย สามารถนอนปล่อยตัวได้เต็มที่ กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และกระจายน้ำหนักตัวได้อย่างทั่วถึง หากนอนในท่านอนที่ถูกต้อง ด้วยการใช้หมอนเสริมจะยิ่งทำให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยในส่วนหลังได้เป็นอย่างดี
5.ท่านอนตะแคงขวา
ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่อยู่ในลักษณะหันตัวตะแคงไปทางขวา โดยเป็นท่านอนที่หลายๆ คนนิยมและโปรดปรานมาก เป็นท่านอนที่ดีที่สุด เพราะมีท่าทางที่ทำให้นอนสบาย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดี
6.ท่านอนตะแคงด้านซ้าย
ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่มีลักษณะคล้ายกับท่านอนตะแคงขวา แต่จะหันหน้าไปทางด้านซ้ายแทน โดยท่านอนนี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในผู้ที่ชอบตะแคงขวา เพราะท่านี้จะช่วยลดแรงกดทับจากการนอนตะแคงขวามาตลอดทั้งคืน
อย่างไรก็ตาม การปรับท่านอนนั้นสามารถช่วยบรรเทาและป้องกันอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับเคสที่ผู้ประสบปัญหามีภาวะอาการที่รุนแรงกว่าปกติ ก็ควรเข้ารับการดูแลและรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวหรือนักกายภาพบำบัดโดยเฉพาะเพื่อรักษาอาการปวด คอ บ่า ไหล่ นี้ได้ตรงจุดมากขึ้น
การรักษา อาการปวดไหล่-ต้นคอ ด้วย “เครื่องมือทางกายภาพบำบัด” อื่น ๆ
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยศาสตร์ทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้เครื่องมือทันสมัย เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีประสิทธิภาพสูง โดยทีมนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เพื่อรักษาผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ พร้อมทั้งช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหา ให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ โดยมีโปรแกรมหลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสมกับปัญหาและอาการของแต่ละท่าน
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็มีหลากหลายด้วยกัน ซึ่งก็จะถูกนำมาใช้ให้เหมาะสมตามระดับอาการของแต่ละท่านตามที่กล่าวไปข้างต้น ยกตัวอย่างเครื่องมือ เช่น
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrotherapy)
กระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการหดตัว ชะลอการลีบเล็กของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนและลดบวมจากการหดตัวเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
เครื่องช็อคเวฟ (ShockWave Therapy)
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก เหมาะสำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการปวดออฟฟิศซินโดรม อาการอักเสบเรื้อรัง รักษามานานยังไม่หาย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ อาการปวดลดลง
เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)
สำหรับลดอาการปวดออฟฟิศซินโดรม บวมอักเสบของระบบกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูกและเส้นเอ็น
เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound therapy)
ลดปวด ลดการอักเสบและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดการยึดตรึงของข้อต่อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อ เอ็นอักเสบ รวมทั้งออฟฟิศซินโดรม
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น จะใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดหลายอย่าง เช่น อัลตร้าซาวนด์ ซึ่งเป็นความร้อนลึก, เลเซอร์ที่มีความแรงสูง ช่วยให้รักษาระดับลึกและมีประสิทธิภาพดีขึ้น และการใช้ Shockwave (คลื่นกระแทก) ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่จะเลือกเครื่องมือทำกายภาพบำบัดให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ดังนั้น ผู้ประสบปัญหาควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “โรคกระดูกสันหลัง” โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “ผ่าตัดกระดูกสันหลัง” กับ 8 คำถามที่ต้องรู้คำตอบ