วิธีนวดไมเกรนด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนง่าย ๆ คลายอาการปวด
วิธีนวดไมเกรนด้วยตัวเอง นั้น ถือเป็นแนวทางที่ง่ายที่สุดในการบรรเทาอาการปวด ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ไมเกรน เป็นโรคที่พบมากในปัจจุบันและเป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก จะมีอาการปวดหน่วงที่บริเวณขมับ คิ้ว และรอบดวงตา ตาพร่ามัว บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยทั่วไปก็จะทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ และทานยาป้องกันควบคุมการบีบขยายของหลอดเลือด แต่ก็ยากที่จะรักษาให้หายขาด การฝังเข็มรักษาได้ดี บางเคสกำลังปวดอยู่ ฝังไปสักพักยังไม่ทันเอาเข็มออกอาการก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน บอกลายาแก้ปวดไปเลย ซึ่งการดูแลตนเองที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองและได้ผลดี คือ “การนวดกดจุด” ซึ่งจะมีขั้นตอนในการนวดยังไงบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบ
วิธีนวดไมเกรนด้วยตัวเอง มีขั้นตอนอย่างไร นวดกดจุดฉบับง่าย บรรเทาอาการปวดได้จริง มาดูกัน!!
ไมเกรน (Migraine) แท้จริงแล้วไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นโรคแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปกติ ในคนปกติหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีอยู่มากมายในสมองจะมีการบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำ แต่ไม่มากจึงไม่ปวดหัว ในผู้ปวดไมเกรนจะไม่พบพยาธิใดๆ ในหลอดเลือดแดงของสมองจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการแต่อย่างใด
สาเหตุของการปวดไมเกรน
เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัวตุ๊บๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน
- แสงไฟสว่าง แสงไฟกระพริบ หรือแสงแดดที่จ้า
- อากาศที่ร้อนเกินไป หรืออากาศที่ร้อนชื้น เช่น ช่วงเวลาก่อนฝนจะตก
- ออฟฟิศซินโดรม หรือ โรคพังผืดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือใช้มือถือ ก้มหน้านาน ๆ จนกล้ามเนื้อเกิดพังผืดขึ้น รวมถึงอาการกล้ามเนื้อบริเวณคอตึง ก็สามารถกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรน ปวดร้าวรอบกระบอกตา คลื่นไส้มึนหัวได้
- อาหารที่สามารถกระตุ้นไมเกรนได้ เช่น ชีส แอลกอฮอล์ ผงชูรส อาหารที่ผสมไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน น้ำตาลเทียม นอกจากนี้ ยังพบว่า คาเฟอีน ถือเป็นสารที่กระตุ้นอาการไมเกรนได้ ใครที่กินกาแฟอยู่แล้วมีอาการไมเกรน ควรลดปริมาณการกินกาแฟลง อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียง 20% เท่านั้น ที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
- ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการอดนอนจะกระตุ้นให้อาการปวดไมเกรนกำเริบไวขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรระวังไม่ให้ตนเองเครียดจนเกินไปรวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ
อาการของการปวดไมเกรน
2 ข้อที่มักถูกเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปวดไมเกรน
1. ปวดไมเกรนไม่จำเป็นต้องปวดข้างเดียวเสมอไป
แท้จริงแล้วมีความเป็นไปได้ที่ว่าการปวดศีรษะข้างเดียวนั้นคืออาการไมเกรน แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือหลายๆ คนเข้าใจผิดว่าอาการนี้ต้องปวดศีรษะของเดียวเท่านั้นจึงจะเรียกว่าปวดไมเกรนซึ่งแท้จริงแล้วภาวะเช่นนี้สามารถปวดหัวได้ทั้ง 2 ข้างหรือปวดสลับข้างก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีผู้ป่วยต้องสังเกตตนเองให้ดีเนื่องจากในบางครั้งการจะเป็นไมเกรนได้นั้นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้น หากไม่แน่ใจให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการให้แน่ใจจะดีที่สุด
2.ปวดไมเกรนไม่จำเป็นต้องมีอาการรุนแรง
ร่างกายและจิตใจของแต่ละคนสามารถทนรับกับความเจ็บปวดได้แตกต่างกัน นอกจากนี้อาการปวดหัวไมเกรนยังมีความรุนแรงหลายระดับ คนที่มีอาการนี้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องปวดหัวจนกระทั่งทนไม่ไหวเสมอไป แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ หรือมีระยะเวลายาวนาน หรือเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ก็ควรเข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ อาการที่สามารถสังเกตได้
- ปวดหัวตุ๊บๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
- ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
- บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว
ระยะของการปวดไมเกรน
สำหรับอาการปวดของไมเกรนนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้…
- ระยะแรก Prodrome อาการเตือน อาจมีอาการเตือนจากภาวะทางอารมณ์ เช่น การรู้สึกวิตกกังวล อารมณ์ดีหรือเศร้าผิดปกติ มีอาการปวดตึงคอ กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ระยะที่สอง Aura อาการนำ จะมีอาการหลายแบบ โดยจะมีอาการทางการมองเห็นถึง 90% เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ หรือสายตาพร่ามัว เป็นต้น กล้ามเนื้อจะรู้สึกอ่อนแรง รู้สึกชาที่มือหรือเท้า
- ระยะที่สาม Headache ปวดหัว อาการปวดหัวไมเกรนอาจปวดหัวข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และมีลักษณะอาการปวดแบบตุบ ตุบ และเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน
- ระยะที่สี่ Postdrome หลังปวดหัว ระยะสุดท้ายของไมเกรนซึ่งจะเกิดหลังจากเป็นไมเกรนแล้ว มักมีภาวะอารมณ์ผิดปกติ สับสนมึนงง อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสียร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงข้อควรรู้เบื้องต้นที่ผู้ประสบปัญหาควรทำความเข้าใจและศึกษาเพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมา แน่นอนว่าผู้ประสบปัญหาหลาย ๆ คนคงอยากทราบแนวทางในการบรรเทาอาการปวดว่าสามารถทำได้ด้วยวิธีไหนบ้าง “การนวด” จึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ที่สุด แต่ต้องนวดด้วยวิธีที่ถูกต้องด้วยจึงจะสามารถบรรเทาอาการได้จริง ซึ่งจะมีแนวทางในการนวดอย่างไร มาติดตามกันต่อไป
4 ขั้นตอนง่าย ๆ นวดบรรเทาอาการปวดไมเกรนด้วยตนเอง
สำหรับการนวดกดจุดบริเวณศีรษะนั้น
- ค่อย ๆ กดลงไปที่จุดนี้ให้ลึก แล้วค้างไว้ 1 นาที จะกดลงไปตรง ๆ หรือนวดวนก็ได้ ลองดูว่าแบบไหนได้ผลสำหรับคุณที่สุด
- ให้ใช้ปลายนิ้วชี้ 2 ข้างกดทั้ง 2 จุดพร้อมกันเป็นเวลา 1 นาที
- หรือจะกระตุ้นทีละข้างก็ตามความชอบ แค่ทำให้ครบ 1 นาทีทั้ง 2 ข้างก็พอ
- กดลงไปตรง ๆ ลึก ๆ หรือนวดวนก็แล้วแต่ ให้ครบ 1 นาที
อย่างไรก็ตาม แม้อาการปวดหัวเช่นนี้จะสามารถหายได้ แต่ก็ไม่สามารถหายขาด ยิ่งหากผู้ประสบปัญหามีภาวะทางร่างกายที่มีความ Sensitive กับอากาศร้อนอยู่แล้ว หากดูแลตนเองไม่ดีก็อาจจะกลับไปมีอาการอีกได้ ดังนั้น ทุกคนจึงควรคอยสังเกตุการณ์สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หากใครที่มักจะเป็นไมเกรนเมื่ออากาศร้อนแนะนำให้สังเกตุดูสภาพอากาศด้วยสมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นสภาพอากาศที่หาได้ง่ายในปัจจุบัน เมื่อคุณเห็นว่าอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้น คุณจะสามารถเตรียมตัวในการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ เครื่องเพิ่มความชื้น หรือเครื่องลดความชื้นเพื่อให้อุณหภูมิในบ้านหรือที่ทำงานของเราไม่ให้เปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาอุณภูมิของอากาศให้คงที่ได้มากที่สุด
การรักษาอาการ ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา จากไมเกรน ด้วยกายภาพบำบัด
เนื่องจากอาการปวดศีรษะ เกิดจากจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ (Muscle Trigger Point) ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสม คือ การลดความตึงตัว ลดการอักเสบหรือจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว ซึ่งทางกายภาพบำบัดมีวิธีลดอาการปวด ดังตัวอย่างเบื้องต้นนี้
1.การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ลดความตึงตัวและเกร็งของกล้ามเนื้อ ได้แก่ Ultrasound Therapy และ Laser Therapy)
2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การกดคลายด้วยมือ (Manual therapy) การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) การนวดคลาย (Massage) เป็นต้น
3. การบริหารและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening) ที่เป็นสาเหตุและจัดท่าทางของร่างกายให้ดี (Ergonomics) เพื่อผลลดอาการในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าอาการปวดเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดอาการปวดอย่างมากในระยะแรก อาจไม่สามารถแยกแยะอาการด้วยตนเองได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกวิธี เพราะการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจเป็นที่มาของอาการเรื้อรังได้ ——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหัวข้างเดียว” เป็นอะไรแน่ รักษายังไงดี?
- ปวดหัวตุ้บๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- “ปวดหลังคอ”มีหลายแบบ-ปวดแบบไหนที่เสี่ยงอันตราย