“ชานิ้วก้อยมือซ้าย” เกิดเพราะปัญหากล้ามเนื้อหรือระบบประสาทกันแน่
ชานิ้วก้อยมือซ้าย อาการเล็ก ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด เพราะเป็นอาการแสดงของความผิดปกติบางอย่างของร่างกายนั่นเอง ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการชานั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความผิดปกติจากกล้ามเนื้อไปจนถึงสาเหตุสำคัญอย่างความผิดปกติของระบบประสาท ดังนั้น จึงสามารถแปลได้ว่าแม้จะเป็นอาการชาที่ปลายนิ้วเหมือนกัน แต่สาเหตุที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันได้นั่นเอง และเพื่อให้ทุกคนทราบถึงรายละเอียดภาวะอาการนี้มากขึ้น ในบทความนี้ Newton Em Clinic มีคำตอบมาฝาก
ชานิ้วก้อยมือซ้าย เกิดจากอะไร? ภาวะอาการเล็ก ๆ ที่อาจส่งผลเสียใหญ่กว่าที่คิด
“เหน็บชา” ภาวะที่หลาย ๆ คนเป็นกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทับไว้นานๆ และไม่ได้ใช้เคลื่อนไหวไปในชั่วขณะหนึ่ง จึงทำให้เกิดอาการเหน็บขึ้นตามอวัยวะนั้นๆ ได้สักครู่อาการจึงหายไป อย่างไรก็ดีแม้ไม่ได้ดูจะเป็นตรายอะไรแต่ใช่ว่าการเกิดอาการเหน็บหรือชาบ่อย ๆ จะเป็นสิ่งที่ดีเพราะนั่นอาจกำลังเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะบางอย่างก็เป็นได้ โดยเฉพาะอาการชาเฉพาะที่ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซึ่งจะมีสาเหตุที่ค่อนข้างเฉพาะเช่นกัน ดังนั้น เพื่อไขข้อข้องใจคำถามข้างต้น เรามาดูคำตอบของอาการชาดังกล่าวไปพร้อม ๆ กัน
มาทำความเข้าใจกันก่อน “มือชา” คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?
อาการนี้เป็นอาการเหน็บชาที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ อาจทำให้นิ้วมือและมือไม่มีแรงหยิบจับสิ่งของ เกิดขึ้นกับมือเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และในบางครั้งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างรู้สึกเจ็บแปลบคล้ายถูกเข็มตำที่ปลายนิ้ว หรือปวดแสบปวดร้อนที่ปลายนิ้ว โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงมือ หรือเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือ
สาเหตุของอาการชาที่มือ
อาการชาชนิดนี้เกิดจากเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงมือหรือเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือถูกกดทับ ได้รับการกระทบกระเทือน หรือเกิดความเสียหาย หรืออาจเป็นเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคและภาวะต่าง ๆ เช่น
- โรคการกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณมือถูกกดทับหรืออุดตัน ทำให้เกิดอาการชาโดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง
- ภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical Radiculopathy) เกิดจากเส้นประสาทบริเวณคออักเสบหรือถูกกดทับ จนทำให้เกิดอาการชาคล้ายกับโรคการกดทับเส้นประสาทข้อมือ
- การกดทับเส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve Entrapment) เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาทอัลนาร์ที่หล่อเลี้ยงควบคุมการทำงานของนิ้วนางและนิ้วก้อย ทำให้เกิดอาการชาที่นิ้วดังกล่าว
- โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) เป็นอาการป่วยที่หลอดเลือดแดงเล็กที่อยู่ในนิ้วเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงปลายนิ้ว จึงเกิดอาการชาและอาจกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้ด้วย
- โรคเบาหวาน (Diabetes) ภาวะอาการเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าได้
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการอักเสบบวม และสร้างความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อกระดูก ซึ่งทำให้เกิดอาการชา รู้สึกเหมือนเข็มตำ หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณมือและนิ้วมือได้
อาการชาปลายนิ้ว
- ชาที่นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วโป้ง เกิดจากการกดทับเส้นประสาทข้อมือ หรืออาจเกี่ยวกับกระดูกคอทับเส้นประสาท
- ชาตามมือและนิ้วมือ ร่วมกับอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณกระดูกและข้อ มีสาเหตุมาจากกรดยูริกในร่างกายสูงกว่าปกติ หรือโรคเกาต์นั่นเอง
- ชาที่นิ้วก้อย อาจเกิดจากกิจกรรมที่ต้องงอ และเกร็งข้อศอกเป็นเวลานาน เช่น การถือสายโทรศัพท์ เป็นต้น
- ชาบริเวณปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า มีสาเหตุมาจากภาวะน้ำตาลสูง ซึ่งจะส่งผลให้เส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการทำงานของมือ และเท้าเสียหาย
จะเห็นได้ว่านิ้วแต่ละนิ้วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น สาเหตุที่กล่าวมา
ไขข้อข้องใจ “อาการชาที่ปลายนิ้วก้อยข้างซ้าย” เกิดจากอะไรกันแน่?
อาการชาเป็นบางส่วนของมือด้านนี้ มีสาเหตุเกิดจากมีการกดเบียดต่อเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลังส่วนคอส่วนล่างซึ่งทอดยาวออกมาถึงปลายมือบริเวณนี้ ดังนั้นหากมีสาเหตุใดๆ ก็ตามที่มากดเบียดทางเดินเส้นประสาทส่วนนี้สามารถทำให้เกิดอาการชาในบริเวณนี้ได้ เช่นเดียวกันกับการกดเบียดต่อเส้นประสาทในตำแหน่งอื่นๆ อาการชาเป็นอาการหลัก แต่สามารถพบอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการปวดเป็นลักษณะปวดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ที่มีอาการปวดแบบเฉพาะที่มีลักษณะปวดตื้อ ปวดเหมือนถูกไฟดูด หรือปวดแสบร้อน อาการชาหรือปวดนี้จะสัมพันธ์กับกิจกรรมหรือท่าบางท่าตามแต่สาเหตุที่กดเบียดเส้นประสาท ซึ่งโรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ประกอบด้วยหลายกลุ่มอาการด้วยกัน เช่น กลุ่มอาการเส้นประสาทอัลน่าถูกกดทับที่ข้อศอก,
กลุ่มอาการเส้นประสาทอัลน่าถูกกดทับที่ข้อมือ และ โรคหมอนรองกระดูกส่วนคอส่วนล่างกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
อาการสำคัญที่ควรไปพบแพทย์
หากผู้ป่วยมีอาการชาปลายนิ้ว ควรสังเกตลักษณะอาการที่เกิดขึ้น หรืออาการที่เกิดร่วมกับชาปลายนิ้ว แล้วไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาหากมีภาวะอาการดังต่อไปนี้
- อาการชาลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หรือลามไปทั่วร่างกาย
- ชาปลายนิ้วเป็นเวลานานแล้วอาการไม่หายไป หรือมีอาการหนักขึ้น
- มีอาการชาปลายนิ้วบ่อย ๆ แบบเป็น ๆ หาย ๆ
- มีอาการชาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ชานิ้วเพียงนิ้วเดียว
- อาการเหล่านั้นรบกวนการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกาย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ หรือขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หากมีอาการชาปลายนิ้วร่วมกับภาวะอาการป่วยที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายอื่น ๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยร้ายแรงอย่างภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน ซึ่งทำให้เกิดอาการอัมพาตได้
การรักษาอาการชาที่ปลายนิ้ว มีวิธีใดบ้าง?
- พยายามขยับนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เส้นประสาทเกิดการกดทับ หรือเกิดพังผืดที่เส้นประสาท
- งดทำกิจกรรม หรือใช้งานมือ แขน หรือเท้าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก เพราะอาจส่งผลให้อาการเจ็บยิ่งเพิ่มขึ้น
- รับประทานยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
- ฉีดสเตียรอยด์ วิธีนี้จะใช้สำหรับกรณีผู้ป่วยรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล
- การผ่าตัด จะใช้ในกรณีเส้นประสาทกดทับ หรือเส้นประสาทได้รับความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม อาการชาที่ปลายนิ้วหากไม่รุนแรงผู้ป่วยจะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่หากอาการเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนลามไปที่อวัยวะอื่น เราไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคทางเส้นประสาท จึงควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
——————————-
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน