กายภาพบําบัด ระบบประสาท เทคนิครักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
กายภาพบําบัด ระบบประสาท อีกหนึ่งเทคนิคที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการใช้รักษาผู้ป่วยในระบบประสาทและสมอง เพราะนอกจะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดที่อาจเกิดความเสี่ยงแล้ว ผลของการรักษายังส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวอีกด้วย ทั้งในเรื่องของการทำงานของกล้ามเนื้อที่ดีขึ้นและการเคลื่อนไหวของร่างกายที่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบประสาทและสมองมีความเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีนี้มาก ๆ นั่นเอง
กายภาพบําบัด ระบบประสาท ทางออกของการรักษาของผู้ป่วยระบบประสาทในระยะยาว
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยระบบประสาท ให้บริการโดยการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ปัญหา และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทาง ระบบประสาท ได้แก่ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว เป้าหมายของการรักษาทางกายภาพบำบัด คือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกควบคุมการเคลื่อนไหว ฝึกการทรงตัวขณะนั่ง ยืน และฝึกเดินด้วยเทคนิคเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดนั่นเอง
กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท คือ..
คือ การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาทางโรคระบบประสาท ได้แก่ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ และผู้สูงอายุ การรักษาทางกายภาพบำบัด คือ การฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการกลับไปทำงานและทำกิจกรรมทางสังคม ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การบริหารร่างกาย การฝึกการทรงตัว การฝึกเดิน และการใช้กิจกรรมเป็นการฝึกร่วมด้วย ขั้นตอนและแผนการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละคน ทั้งนี้ ยังรวมถึงผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่ทำให้สมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บด้วย
กลุ่มโรคทางระบบประสาทที่สามารถรักษาได้ด้วย “กายภาพบำบัด”
กลุ่มโรคทางระบบประสาทนั้นแบ่งออกเป็นหลายภาวะอาการ ซึ่งนอกจากกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาตนั้นก็มีหลายโรคที่หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูไปพร้อม ๆ กัน
กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต
ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke), เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury), เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษา จะช่วยลดอาการเกร็งในผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตดีขึ้น
กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง
กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีผลต่อเส้นประสาทจากไขสันหลังหรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดนี้ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมืออื่น เนื่องจากการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนถึงรากประสาทได้
กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือ ออฟฟิศซินโดรม
การบำบัดอาการปวด อาการเคล็ดขัดยอก การบาดเจ็บหรืออาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรง เช่น อาการปวดบริเวณคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือข้อเท้า และหากทำอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำจะทำให้อาการปวดค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด
กลุ่มอาการชา
หรือ ผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาทหรือการกดทับเส้นประสาท คือกลุ่มปลายประสาทอักเสบ โดยส่วนใหญ่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% ในแต่ละครั้งที่รักษา
ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคประสาทด้วยกายภาพบำบัด
จากอาการของผู้ป่วยในโรคกลุ่มที่กล่าวมา ทุกคนจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะมีผลต่อกล้ามเนื้อร่วมด้วย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีความผิดปกติ ซึ่งตามขั้นตอนของการรักษาโดยการเข้ารับการทำกายภาพบำบัด จะมีขั้นตอนในการรักษาต่าง ๆ เหล่านี้
- ฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ
- ฝึกการทรงตัวในท่านั่งและยืน
- ฝึกเดินในท่าทางที่ถูกต้อง หรือฝึกเดินร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินอย่างถูกวิธี
- ฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL Training)
- การบริหารข้อต่อเพื่อป้องกันข้อยึดติด
- การรักษาด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training)
- การกระตุ้นด้วยเครื่องไฟฟ้า
5 เครื่องมือกายภาพสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคประสาท
สำหรับเครื่องมือทางกายภาพในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่การออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมาย เช่น
1.พาราฟิน (paraffin)
พาราฟินเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการชามือ นิ้วล็อก เหน็บชา ข้อนิ้วมือติดแข็ง มือกระด้าง ใช้ลดปวดโดยจะเพิ่มความยืดหยุ่นในบริเวณข้อต่อนิ้วมือและข้อมือ/เท้า ช่วยให้มือเนียนนุ่มน่าสัมผัส ลดการแข็งตัวของพังผืดข้อมือและข้อนิ้วให้นิ่มตัวลง และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
2.เครื่องดึงหลังและเครื่องดึงคอ (Pelvic and Cervical Traction)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ จากการแคบตัวลงของช่องว่างระหว่างกระดูก หรือเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่บริเวณกระดูกต้นคอและกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยจะมีอาการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น อาการเจ็บปวดร้าวลงไปตามแขนหรือขา อาการชาร้าวลงไปตามแขนหรือขา ความรู้สึกตามบริเวณผิวหนังที่ผิดปกติไปจากเดิม หรืออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือกล้ามเนื้อขา ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ ด้วยการใช้เครื่องดึงคอหรือดึงหลังด้วยน้ำหนักในการดึงที่เหมาะสม และมากพอที่จะเปิดช่องว่างของกระดูกสันหลังที่แคบลง ให้เปิดกว้างมากขึ้น เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท โดยใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20-25 นาที ต่อการรักษา 1 ครั้ง
3.บาร์คู่ขนาน (parallel bar)
บาร์คู่ขนาน เป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือด อาทิ โรคอัมพฤกษ์, อัมพาต, พาร์กินสัน, เด็กพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดสำหรับฝึกยืนและเดิน โดยสามารถปรับระดับความสูงและความกว้างได้ตามระดับความต้องการ ตามความสามารถและเหมาะสมในการยืนหรือเดินของผู้ป่วย
4.เตียงฝึกยืน (tilt table)
เตียงฝึกยืน เป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถทรงตัวเองได้ เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดสำหรับฝึกยืนและทำกิจกรรมร่วมกันในการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยเป็นเตียงที่สามารถปรับระดับความตั้งเอียงได้
5.เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)
เทคโนโลยี PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic เพื่อบำบัดรักษาอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบประสาท
สำหรับประโยชน์ในการเข้ารับการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบประสาทและสมอง ประกอบด้วย..
- ผู้ป่วยสามารถกลับไปช่วยหลือตนเอง และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
- ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
- เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนในครอบครัว
อย่างไรก็ดี การทำกายภาพบำบัดระบบประสาทจะดูแลเฉพาะเจาะจงลงไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาวะโรค หรือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคสมองที่ได้รับการกระทบกระเทือน, โรคสมองพิการแต่กำเนิด,โรคเส้นเลือดในสมองตีบ/แตก,โรคไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ สูญเสียรูปแบบการทำงานที่เคยทำเองได้ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะทำการเพิ่มพัฒนาการในส่วนที่เสียไป ทั้งนี้ในการทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วย นักกายภาพบำบัดต้องทำการพิจารณาความรุนแรงของภาวะอาการของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย เพื่อให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษา
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “โรคกระดูกสันหลัง” โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “ผ่าตัดกระดูกสันหลัง” กับ 8 คำถามที่ต้องรู้คำตอบ