เจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกําลังกาย เสี่ยงอันตรายหากดูแลไม่ถูกต้อง
“เจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกําลังกาย” แม้จะเป็นภาวะที่ดูธรรมดา ไม่ได้มีอันตรายอะไรมาก แต่ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบนั้นก็ส่งผลต่อก็ใช้ชีวิตประจำวันของเราอยู่มากพอควร และถึงจะทำการอบอุ่นร่างกายหรือคิดว่าเตรียมตัวมาดีแล้ว แต่อาการบาดเจ็บดังกล่าวก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณที่นำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ หากปล่อยไว้นานไปก็อาจเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำข้อน่ารู้และวิธีรักษาภาวะอาการนี้มาฝากให้ทุกคนได้อ่านและศึกษากัน
เจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกําลังกาย คืออะไร ควรดูแลตนเองอย่างไรให้ฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ไวขึ้น?
ต้องบอกก่อนว่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย นั้นถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายมีการใช้งานกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว เกิดกระบวนการดึงพลังงานออกมาใช้ และเกิดกรดแลคติก (Lactic Acid) ในกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า (Muscle Fatigue) แต่บางครั้งเราอาจพบว่ามีอาการบางอย่างผิดปกติ เช่น มีการบาดเจ็บร่วมด้วย หรือปวดเมื่อยจนเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะอาการนี้มากขึ้น ลองมาดูกันว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร และอาการแบบไหนที่ปกติและแบบไหนไม่ปกติและหากเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมาจริง ควรดูแลและรักษาอย่างไรดี
กล้ามเนื้ออักเสบ คือ
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว เป็นโรคในกลุ่มโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการอักเสบของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ในรายที่เป็นอย่างรุนแรงอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถลุกจากเตียงหรือเดินได้ มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอักเสบ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งมักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและล้ามากหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน และอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรังก็ได้
ว่าด้วยเรื่อง กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบจากการ “ออกกำลังกาย”
การออกกำลังกายนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้ ซึ่งสามารถเกิดได้กับการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเกือบทุกประเภท โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจัดอยู่ทั้งในกลุ่มของการได้รับบาดเจ็บโดยตรง และการใช้งานมากเกินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มี
พบได้ในกีฬาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทก หรือแรงกดบริเวณกล้ามเนื้อหลัง อย่างการเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล และยกน้ำหนัก หรือกีฬาอื่นๆ ที่ผู้เล่นมักเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ นอกจากนี้ กล้ามเนื้อหลังอักเสบยังสามารถเกิดจากการเล่นกีฬาหนักเกินไป เล่นผิดท่า หรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บจนเกิดอาการอักเสบได้
กล้ามเนื้ออักเสบ อาการ เป็นอย่างไร?
สำหรับอาการกล้ามเนื้ออักเสบหลังจากการออกกำลังกายนั้น แบ่งออกเป็น 2 ภาวะอาการด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.อาการปวดเฉพาะจุด หรือ ขยับแล้วเจ็บแปลบ ๆ
โดยอาการปวดในข้อแรก คือการปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการออกกำลังกายผิดท่า จนส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาดรุนแรง, เอ็นฉีก, หัวเข่าบาดเจ็บ เป็นต้น ซึ่งหากใครมีอาการแบบนี้ ยังไม่ควรกลับไปออกกำลังกายซ้ำโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้บริเวณที่บาดเจ็บอักเสบมากยิ่งขึ้น และควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยทันที
2.อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อตึง ระบม
เป็นอาการปวดปกติที่พบได้ทั่วไป โดยจะมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า DOMs หรือ Delayed Onset Muscle soreness ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังยกเวทมาหนักๆ วิ่งแบบหนักหน่วง หรือมีการใช้กล้ามเนื้อในจุดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน จะเกิดขึ้นหลังออกกำลังกายประมาณ 12-24 ชั่วโมง และจะปวดมากขึ้นในช่วง 24-72 ชั่วโมง หลังจากนั้นร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองจนอาการปวดค่อย ๆ หายไปเองในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าลักษณะอาการจะเป็นแบบใด ก็มักจะส่งผลให้ไม่สามารถออกกำลังกายได้ในวันต่อๆ มา ซึ่งถือว่าเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่หนักเกินความสามารถของกล้ามเนื้อ วิธีที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่เริ่มหันมาออกกำลังกายคือ ค่อยๆ ออกกำลังกายเบาๆ ก่อนในช่วงแรก และค่อยเพิ่มความหนักขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มแคยชินกับความหนักนั้น ซึ่งสังเกตได้จากการไม่รู้สึกล้าหรือเจ็บเมื่อออกกำลังกายในความหนักเท่าเดิมและระยะเวลาเท่าเดิม การค่อยๆ ปรับเพิ่มความหนักจะทำให้กล้ามเนื้อปรับตัวและค่อยๆ พัฒนาให้แข็งแรงมากขึ้น
กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา มีอะไรบ้างที่ผู้ประสบปัญหาควรทราบ?
การเลือกใช้วิธีรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบในผู้ป่วยรายนั้น ๆ กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากอาการอักเสบอื่น ๆ อาจต้องรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจากกล้ามเนื้อนั้นสามารถทำการรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดที่มีความเฉพาะทางทั้งในเรื่องของผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการรักษา
กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา มีอะไรบ้าง?
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทางหลัก ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.การรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- ทำการป้องกันส่วนที่บาดเจ็บ โดยการใช้ผ้าพัน หรือการใช้ผ้ายืด elastic bandages หรือการ splint ให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับส่วนที่บาดเจ็บ
- การประคบด้วยน้ำแข็งเป็นวิธีลดการอักเสบที่ดี เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรประคบ ice pack ประมาณ 10-15 นาที
- การกดหรือการรัด จะช่วยลดอาการบวมและการอักเสบได้ เช่นการใช้ elastic bandage
- ต้องได้รับการพักทันทีเมื่อมีอาการบาดเจ็บ เช่น บาดเจ็บหัวไหล่จากการเล่นเทนนิส ก็ควรหยุดเล่นสักพัก เป็นต้น
2.การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ อย่างไรก็ดี ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ
กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้ไหม?
อาการกล้ามเนื้ออักเสบนั้นสามารถบรรเทาด้วยการนวด แต่ต้องนวดให้ถูกจุด ซึ่งจุดที่ว่านี้ก็คือ “จุดกดเจ็บ” นั่นเอง
ซึ่งจุดกดเจ็บนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ACUTE MPS
กล้ามเนื้ออักเสบซึ่งพึ่งเป็นมาไม่นานวันแต่ไม่เกิน 2 เดือน เช่นมีอาการปวดทันทีหลังยกของ การแก้ไขหากคุณเองพึ่งมีอาการ ใน 24 ชั่วโมง ก็คือการประคบด้วยน้ำแข็งและการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น หรืออาจพ่นสเปรย์ อย่าพยายามนวดเพราะการนวดหรือกดแรง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอักเสบมากขึ้น
2. SUB-ACUTE MPS
มีอาการปวดที่มากกว่า 2 เดือน แต่ไม่ถึง 6 เดือน การแก้ไขคือหากเลยระยะเวลาอักเสบหรือปวด บวม แดง ร้อน แล้วสามารถประคบด้วยความร้อนหรือใช้เจลร้อนที่เป็นยาทา ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับนวดบริเวณดังกล่าวเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเลือดและลดการคั่งค้างของของเสีย
3. CHRONIC MPS
มีอาการปวดมากกว่า 6 เดือนที่มีการรบกวนต่อกิจวัตรหรือการทำงาน การนอน และสุขภาพจิตอาจทำวิธีจาก Sub-acute แต่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือคุณเองต้องสำรวจด้วยว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และพยายามหลีกเลี่ยงก่อน หากกิจกรรมดังกล่าวไม่สามารถหยุดหรือเลิกทำ สิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขในระยะยาวคือหลังจากอาการปวดดีขึ้นคุณจะต้องเริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่กล้ามเนื้อ
ซึ่งจุดกดเจ็บแต่ละประเภทที่กล่าวมาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งท้ายที่สุดหากไม่แน่ใจที่จะนวดเองจริง ๆ ก็ควรเข้าพบแพทย์ดีกว่า เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ดี การปวดกล้ามเนื้อเช่นนี้แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอันตรายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น หากใครที่กำลังพบกับปัญหานี้อยู่ ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรรีบเข้าพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาโดยเร็ว เพราะนอกจากจะรักษาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลันแล้วก็ยังส่งผลดีต่อกล้ามเนื้อในระยะยาวอีกด้วย
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดหัวตุ้บ ๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- โรคหลอดเลือดสมอง: สัญญาณอันตรายของอัมพาต
- 5 เหตุผล ที่คนยุคใหม่ต้องไป “คลินิคกายภาพบำบัด” มากขึ้น