กล้ามเนื้ออักเสบ ยืดได้ไหม ควรยืดยังไงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง?
กล้ามเนื้ออักเสบ ยืดได้ไหม? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนต้องการทราบ แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า “การยืดกล้ามเนื้อ” เป็นวิธีหนึ่งที่หลายคนใช้เพื่อลดอาการตึงเครียดและป้องกันการบาดเจ็บ แต่เมื่อกล้ามเนื้อเกิดอาการอักเสบ แต่การยืดกล้ามเนื้ออาจส่งผลทั้งในทางบวกและทางลบได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราใช้ และระยะเวลาของอาการอักเสบ ดังนั้น การยืดกล้ามเนื้อในช่วงที่มีอาการอักเสบต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจทำให้อาการแย่ลง ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการยืดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง และข้อควรระวังในการทำ เพื่อช่วยให้การฟื้นตัวเร็วขึ้นโดยไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มเติมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร Newton Em Clinic มีคำตอบมาฝาก
กล้ามเนื้ออักเสบ ยืดได้ไหม ทำความเข้าใจและเรียนรู้การยืดกล้ามเนื้อแบบถูกต้องไปพร้อม ๆ กัน
เชื่อได้ว่าหลายคนต้องมีอาการปวดเมื่อยบางอย่างแน่นอน ซึ่งอาจมองข้ามว่าแค่ปวดเมื่อยเดี๋ยวก็หาย แต่เมื่อนานเข้าอาการที่เป็นอาจเริ่มแปรเปลี่ยน จากแค่เมื่อยก็กลายเป็นกลุ่มอาการของโรคได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี การนวด ยังคงเป็นหนทางที่เรามักใช้เป็นทางออกอยู่เสมอเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งในบางครั้งในขณะที่นวดเราอาจเจอก้อนบางอย่าง หรือจุดตึงๆ ก็ยิ่งนวดลงไปแรงขึ้นเพราะรู้สึกว่าบรรเทาได้ดี แต่แท้จริงแล้วก็ทำเช่นนั้นอาจมีอาการร้าวไปยังส่วนอื่นของร่างกาย อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อทำงาน หรือมีการเคลื่อนไหวได้ด้วย
“Trigger point” หรือ “จุดกดเจ็บ”
เป็นจุดปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งซึ่งมีขาดประมาณ 3-6 เซนติเมตรและมีความไวต่อการกระตุ้น ซึ่งจุดกดเจ็บเช่นนี้ถือเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อเพราะมันไม่เพียงเกิดอาการปวดเพียงจุดเดียว แต่อาจแผ่ไปยังจุดอื่นๆ ได้ด้วย หรือที่เรียกว่า referred pain เช่น กดที่ไหล่ แต่ไปรู้สึกที่ขมับ เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของ “จุดกดเจ็บ”
- อาการปวดจะสามารถร้าวไปบริเวณกล้ามเนื้อมัดข้างเคียงร่วมได้ (Refer Pain)
- สาเหตุที่ทำให้เกิด “จุดกดเจ็บ”
- อยู่ในท่าทางใด ท่าทางหนึ่ง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน (มากกว่า1ชั่วโมง) เช่น การใช้สมาร์ทโฟน และ การนั่งจ้องหน้าคอม เป็นต้น
- ท่าทาง สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์สำนักงาน ที่ไม่เหมาะในการทำงาน
กล้ามเนื้ออักเสบ ยืดได้หรือไม่?
การยืดกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการปวดและตึงจากกล้ามเนื้ออักเสบได้ดี แต่ควรทำอย่างระมัดระวังและไม่ฝืนจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อ “จุดกดเจ็บ” ที่กล่าวมานั่นเอง
จุดกดเจ็บแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ACUTE MPS
กล้ามเนื้ออักเสบซึ่งพึ่งเป็นมาไม่นานวันแต่ไม่เกิน 2 เดือน เช่นมีอาการปวดทันทีหลังยกของ การแก้ไขหากคุณเองพึ่งมีอาการ ใน 24 ชั่วโมง ก็คือการประคบด้วยน้ำแข็งและการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น หรืออาจพ่นสเปรย์ อย่าพยายามนวดเพราะการนวดหรือกดแรง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอักเสบมากขึ้น
2. SUB-ACUTE MPS
มีอาการปวดที่มากกว่า 2 เดือน แต่ไม่ถึง 6 เดือน การแก้ไขคือหากเลยระยะเวลาอักเสบหรือปวด บวม แดง ร้อน แล้วสามารถประคบด้วยความร้อนหรือใช้เจลร้อนที่เป็นยาทา ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับนวดบริเวณดังกล่าวเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเลือดและลดการคั่งค้างของของเสีย
3. CHRONIC MPS
มีอาการปวดมากกว่า 6 เดือนที่มีการรบกวนต่อกิจวัตรหรือการทำงาน การนอน และสุขภาพจิตอาจทำวิธีจาก Sub-acute แต่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือคุณเองต้องสำรวจด้วยว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และพยายามหลีกเลี่ยงก่อน หากกิจกรรมดังกล่าวไม่สามารถหยุดหรือเลิกทำ สิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขในระยะยาวคือหลังจากอาการปวดดีขึ้นคุณจะต้องเริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่กล้ามเนื้อ ซึ่งจุดกดเจ็บแต่ละประเภทที่กล่าวมาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งท้ายที่สุดหากไม่แน่ใจที่จะนวดเองจริง ๆ ก็ควรเข้าพบแพทย์ดีกว่า เพื่อความปลอดภัย
4 ท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับผู้มีปัญหากล้ามเนื้ออักเสบ
ซึ่งผู้ประสบปัญหากล้ามเนื้ออักเสบสามารถทำตามได้ตามท่ากายภาพง่าย ๆ ดังนี้…
1. คอและบ่า
ท่ายืดกล้ามเนื้อคอด้านข้าง (Lateral Neck Stretch)
- นั่งหรือยืนตรง เอียงศีรษะไปด้านข้างช้า ๆ (เหมือนจะให้หูแตะไหล่)
- ใช้มือข้างเดียวกับทิศที่เอียงศีรษะกดเบา ๆ เพื่อเพิ่มการยืด
- ค้างไว้ 15-30 วินาที แล้วสลับข้าง
ท่ายืดสะบักหลัง (Upper Trapezius Stretch)
- นั่งหลังตรง ใช้มือขวาจับใต้เก้าอี้
- เอียงศีรษะไปทางซ้ายเล็กน้อย และก้มคางลง
- ใช้มือซ้ายจับเหนือหูขวาแล้วกดเบา ๆ ค้างไว้ 15-30 วินาที
2. ไหล่และแขน
ท่ายืดไหล่และแขนด้านข้าง (Cross-Body Shoulder Stretch)
- ยกแขนขวาขึ้น แล้วไขว้ไปทางซ้าย
- ใช้มือซ้ายดึงข้อศอกขวาเข้าหาตัวเบา ๆ
- ค้างไว้ 15-30 วินาที แล้วสลับข้าง
3. หลังและสะโพก
ท่ายืดหลังช่วงล่าง (Child’s Pose)
- คุกเข่าลง แล้วนั่งบนส้นเท้า
- ก้มตัวไปข้างหน้า เหยียดแขนไปข้างหน้าให้สุด
- ค้างไว้ 20-30 วินาที
ท่ายืดสะโพกและหลัง (Seated Piriformis Stretch)
- นั่งบนเก้าอี้ วางข้อเท้าขวาบนเข่าซ้าย
- ก้มตัวไปข้างหน้าช้า ๆ เพื่อให้รู้สึกตึงที่สะโพก
- ค้างไว้ 20-30 วินาที แล้วสลับข้าง
4. ขาและน่อง
ท่ายืดน่อง (Calf Stretch)
- ยืนหันหน้าเข้ากำแพง วางมือบนกำแพง
- ก้าวเท้าขวาไปข้างหลัง ยืดขาขวาตรง กดส้นเท้าติดพื้น
- งอเข่าซ้ายเล็กน้อยเพื่อให้รู้สึกตึงที่น่องขวา
- ค้างไว้ 15-30 วินาที แล้วสลับข้าง
ท่ายืดต้นขาด้านหลัง (Hamstring Stretch)
- นั่งลง ยืดขาขวาตรง และงอเข่าซ้ายให้ฝ่าเท้าแตะต้นขาขวา
- ก้มตัวไปข้างหน้าเพื่อจับปลายเท้า (หรือจับหน้าแข้งถ้าจับไม่ถึง)
- ค้างไว้ 15-30 วินาที แล้วสลับข้าง
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังในการยืดกล้ามเนื้อ คือ ควรทำอย่างช้า ๆ และค่อยเป็นค่อยไป เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บหรือทำให้กล้ามเนื้อเสียหาย ควรยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกตึงเล็กน้อย แต่ไม่ควรฝืนจนรู้สึกเจ็บ หากรู้สึกเจ็บให้หยุดทันทีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม นอกจากนี้ ควรหายใจเข้าออกลึก ๆ ขณะยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดกล้ามเนื้อ หากอาการอักเสบของกล้ามเนื้อยังคงรุนแรง ควรพักการยืดกล้ามเนื้อและปรึกษาแพทย์ก่อนทำการยืดหรือออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัยและการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น
การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ อย่างไรก็ดี การปวดกล้ามเนื้อเช่นนี้แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอันตรายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น หากใครที่กำลังพบกับปัญหานี้อยู่ ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรรีบเข้าพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาโดยเร็ว เพราะนอกจากจะรักษาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลันแล้วก็ยังส่งผลดีต่อกล้ามเนื้อในระยะยาวอีกด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ชนิดของกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้าง? ส่วนไหนเกิดโรคได้ง่ายที่สุด
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- รักษาด้วยเลเซอร์- วิธีทางกายภาพบรรเทาอาการปวด