กล้ามเนื้ออักเสบจากการกระแทก หายเองได้ไหม จะอันตรายหรือเปล่า?
กล้ามเนื้ออักเสบจากการกระแทก รักษายังไงดี? นับได้ว่าเป็นอาการบาดเจ็บที่พบมากในปัจจุบัน โดยแต่ละเคสก็จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะออฟฟิศซินโดรมที่กล้ามเนื้อถูกใช้มัดเดิมซ้ำ ๆ จึงเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมา โดยนอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่หลาย ๆ คนพบเจอนั่นคือการที่กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบจากการกระแทก โดยบางรายอาจเกิดภาวะรุนแรงจนกลายเป็นอาการเรื้อรังได้ ดังนั้น การรักษาให้หายโดยไวจึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ
กล้ามเนื้ออักเสบจากการกระแทก หายเองได้มั้ย หากรักษาไม่หายจะส่งผลอันตรายรึเปล่า?
กล้ามเนื้ออักเสบ คือ อาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเกิดได้จากอาการเจ็บป่วยหรือภาวะผิดปกติ ที่ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่รู้จักกันในนาม โรค SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฯลฯ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ด้วย
ว่าด้วยเรื่อง กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจาก “การกระแทก”
กล้ามเนื้อบาดเจ็บเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งกล้ามเนื้อที่พบการบาดเจ็บได้บ่อย อาทิเช่น กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อเอ็นหลังหัวเข่า กล้ามเนื้อโคนขาหนีบ และกล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น
การบาดเจ็บส่วนมากเกิดขึ้นเอง มักไม่ได้มีการกระแทกกระเทือนกับอะไรที่ชัดเจน การบาดเจ็บแบบนี้เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและฉับพลันในขณะที่ข้อต่อและรยางค์มีการขยับไปในทิศทางตรงข้าม (excessive eccentric contraction) มีส่วนน้อยที่การบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อเกิดจากการกระแทกโดยตรง
หลังการบาดเจ็บ อาจจะมีอาการเจ็บขึ้นมาทันที ที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด ในบางรายอาจจะพบรอยช้ำหรือจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ ในบางรายอาจจะพบเพียงแค่อาการเจ็บตึง แต่ยังสามารถใช้กล้ามเนื้อได้ปกติ
นอกจากนี้ อาการที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บ อาจจะพบได้ทันทีหลังการบาดเจ็บ หรืออาจจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายชั่วโมงก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดล้า ระบม เมื่อยตึง เป็นอย่างมาก
กล้ามเนื้ออักเสบ อาการ มีลักษณะอย่างไรบ้าง?
อาการของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนใหญ่จะแสดงในลักษณะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ บางครั้งผู้ป่วยอาจสังเกตได้เอง แต่บางครั้งก็อาจรู้ได้จากการตรวจเท่านั้น ซึ่งความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นนี้มักจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก เป็นต้น
และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- อ่อนล้า
- กลืนลำบาก
- หายใจลำบาก
- ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนมากเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
หากปล่อยให้ปวดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังจะเป็นอันตรายหรือไม่?
โรคกล้ามเนื้ออักเสบจำเป็นต้องได้รับการตรวจและดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งหากมีสาเหตุที่แน่ชัด จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขหรือรักษาที่สาเหตุนั้น ๆ ด้วย หากท่านมีอาการปวดและสงสัยว่ากล้ามเนื้ออักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาการนานกว่า 4-6 สัปดาห์ มีความจำเป็นในการตรวจวินิจฉัย เพื่อป้องกันโรคที่ซ่อนอยู่หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ โดยความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายนั้น ขึ้นกับสาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบเอง
กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา
การเลือกใช้วิธีรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบในผู้ป่วยรายนั้น ๆ กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากอาการอักเสบอื่น ๆ อาจต้องรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจากกล้ามเนื้อนั้นสามารถทำการรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดที่มีความเฉพาะทางทั้งในเรื่องของผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการรักษา
การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีวิธีรักษาที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” เป็นการรักษาที่ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และป้องกันการกลับมาของอาการปวด ใช้เวลาในการรักษาเพียงอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง โดยทำประมาณ 4 – 6 ครั้ง
ขั้นตอนในการรักษานั้นมีตั้งแต่ การกินยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด และการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคลที่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อทุก ๆ คนต้องเข้าใจว่า อาการนี้จะไม่หายขาด เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากการทำงาน ทุกคนจึงควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องและการดูแลกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี อาการดังกล่าวก็จะหายไปได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน