ออกกําลังกายแล้วปวดหลังล่าง อาการธรรมดาที่ไม่ควรละเลย
ออกกําลังกายแล้วปวดหลังล่าง ถือเป็นภาวะบาดเจ็บที่สามารถพบเจอได้บ่อย ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยมีอาการ “ปวดหลัง” บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย อาจจะมีอาการเป็นวัน หรือบางคนอาจมีอาการเป็นเดือน เช่น ปวดจากการทำงานหนัก มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ มักเกิดจากการทำท่าทางซ้ำ ๆ ในท่าเดิม ๆ และปวดจากการออกกำลังกาย โดยทั่วไปเป็นอาการปวดหลังที่ไม่อันตราย ส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังพัก และไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาการปวดที่รุนแรง หรือมีอาการนานเป็นเดือน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ควรละเลยไว้นาน ๆ
ออกกําลังกายแล้วปวดหลังล่าง สัญญาณที่ไม่ควรปล่อยไว้นาน ๆ เพราะอาจรักษายากกว่าที่คิด
การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย แต่ในบางครั้ง การออกกำลังกายมากเกินไป หรือการออกกำลังกายผิดวิธี ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะ อาการปวดหรือเจ็บหลัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่มักพบได้ และที่สำคัญสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
ทำไมออกกำลังกายแล้วถึงมีอาการปวดหลัง?
แผ่นหลังของมนุษย์นั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดที่ช่วยผยุงกระดูกสันหลังและลำตัวให้ตั้งตรง นั่นแปลได้ว่า เรามีการใช้กล้ามเนื้อหลังอยู่ตลอดเวลาอย่างเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง โดยทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การนั่ง และแน่นอนว่าการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการใช้กล้ามเนื้อหลังทั้งสิ้น เนื่องจากมนุษย์เราใช้แผ่นหลังเพื่อพยุงลำตัวและช่วยในการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย หรือแม้แต่การยกน้ำหนัก โยน ขว้าง หรือตี ดังนั้น เมื่อเราใช้งานร่างกายด้วยบริบทดังกล่าวผิดวิธีหรือมากเกินไป จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดได้
“ปวดหลังล่าง” หลักจากออกกำลังกาย อาการ…
สำหรับอาการปวดหลังช่วงล่างหลังจากออกกำลังกายนั้น มีหลัก ๆ อยู่ 2 ภาวะอาการด้วยกัน ดังนี้..
- ความปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหลังผิดวิธี มีการออกแรงมากเกินไป ไม่มีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
- ปวดกลางบั้นเอว เกิดจากการเคลื่อนของกระดูกอ่อนบริเวณหลังส่วนที่เชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่าบริเวณอื่น
อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ เหล่านี้ แม้จะดูเผิน ๆ แล้วไม่ได้เป็นภาวะที่อันตรายอะไร แต่หากปล่อยไว้ก็มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากในการเป็นภาวะเรื้อรัง ดังนั้น เพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตระยะยาว ผู้ประสบปัญหาก็ควรรีบปรับพฤติกรรมการวิ่งและรีบรักษาให้หายโดยเร็วก่อนสายไป
แนวทางการรักษาปวดหลังล่าง มีวิธีใดบ้าง?
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้
ยา
การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาท จะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรค และข้อควรระวังในการใช้ยา แต่หากรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการปวดหลังส่วนล่างยังไม่ดีขึ้น ก็จะต้องเพิ่มการรักษาโดยการกายภาพบำบัด หรือทำการรักษาควบคู่กันไป
การผ่าตัด
การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล และเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
กายภาพบำบัด
เป็นการรักษาที่เน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวด ฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง แพทย์อาจเพิ่มการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟิ้นฟูแบบต่างๆ ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
- การประคบแผ่นร้อน
- การใช้อัลตราซาวนด์ลดปวด
- การใช้เลเซอร์
- การช็อกเวฟ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด
- การใช้ธาราบำบัด เป็นการออกกำลังกาย และฟื้นฟูร่างกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่หลังมากเกินไป โดยจะมีโปรแกรมให้คนไข้ออกกำลังกายในน้ำ พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ
ท้ายที่สุด นี่เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น หากไม่แน่ใจว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่นั้นเป็นเพราะความผิดปกติของกระดูกสันหลังหรือไม่ ควรตรวจหาสาเหตุของอาการปวดหลัง ด้วยการเอกซเรย์หรือการวินิจฉัยด้วย MRI ซึ่งจะทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆ ของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ช่วยให้การวินิจฉัยโรคง่ายขึ้น ทำให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็ว
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “โรคกระดูกสันหลัง” โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “ผ่าตัดกระดูกสันหลัง” กับ 8 คำถามที่ต้องรู้คำตอบ