อยู่ดีๆ ก็ปวดเข่า เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร?
“อยู่ดีๆ ก็ปวดเข่า” เชื่อได้ว่าเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ไม่ว่าจะอยู่ในเพศหรือวัยไหนก็ตาม สาเหตุที่ต้องบอกแบบนี้ก็เพราะว่า การเจ็บหัวเข่า มักมีภาพจำว่ามักจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นแค่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นแต่แท้จริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีกลุ่มเสี่ยงนอกจากผู้สูงวัยอีกมากมาย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทุก ๆ คนรู้เท่าทันว่าอาการนี้เกิดจากอะไรและควรดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเกิดอาการเจ็บดังกล่าว ในบทความนี้เรามาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
อยู่ดีๆ ก็ปวดเข่า เกิดจากอะไรได้บ้าง หากปวดบ่อย ๆ ควรดูแลตนเองยังไงดี?
อาการเจ็บข้อเข่า หรือปวดเข่า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจเกิดจากสาเหตุเล็กๆอย่างอาการแพลง เคล็ด ที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไปจนถึงอาการเสื่อมสภาพของข้อเข่าจากการใช้งาน ดังนั้น จึงสามารถแปลได้ว่า การที่อยู่ดี ๆ ก็มีอาการปวดเข่าขึ้นมานั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ อย่างไรก็ตาม สาเหตุเหล่านั้นมาจากอะไรได้บ้าง และถ้าหากเกิดอาการเจ็บข้อเข่าขึ้นมาแล้วเราควรดูแลตนเองอย่างไรดี ในบทความนี้ Newton Em Clinic มีคำตอบ
ปวดเข่า เจ็บเข่า เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
จากที่บอกไปว่าอาการเจ็บเข่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แม้จะอยู่ดี ๆ ก็มีอาการขึ้นมาก็ใช่ว่าจะไม่มีสาเหตุเลย ซึ่งต้นตอของอาการเจ็บอาจเกิดได้จาก…
1. เจ็บข้อเข่าจากความเสียหายจากอวัยวะที่หัวเข่า
ความเสียหายจากอวัยวะภายในข้อเข่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่ใช้เข่ามากเกินไป น้ำหนักตัวมากจนเข่าทำงานหนัก เล่นกีฬาที่กระแทกน้ำหนักตัวลงไปที่เข่าบ่อยๆ อายุมากจนร่างกายเสื่อมสภาพไปตามวัย หรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดก็ได้ โดยอวัยวะเหล่านั้น ประกอบด้วย เส้นเอ็น, หมอนรองข้อเข่า, กระดูกลูกสะบ้า, ถุงน้ำในข้อเข่า, กระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง เป็นต้น
2. เจ็บข้อเข่าจากโรคที่ส่งผลกับข้อเข่า
โรคที่ส่งผลกับข้อเข่า เช่น โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ทั้งสองโรคทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อเข่าจากสาเหตุที่ต่างกัน อาการอักเสบที่เกิดจากโรคดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการเจ็บข้อเข่าได้ โรคทั้งสองสามารถบรรเทาอาการของโรคลงได้หากได้รับการรักษาจากแพทย์
3. เจ็บข้อเข่าจากเหตุผลด้านสรีระจากความเสียหายของอวัยวะส่วนอื่นๆ
ผู้ป่วยที่ปวดข้อเข่าบางคนไม่ได้ปวดแค่ที่ข้อเข่า แต่จะมีอาการปวดร้าวตั้งแต่ที่หลังลงไปจนถึงข้อเข่า หรือขาในส่วนที่ต่ำลงไปกว่าเข่าด้วย โดยอาการนี้เป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น หากต้องการแก้ไขต้องแก้ที่อาการปวดหลัง แล้วอาการเจ็บข้อเข่าจะหายไปเอง
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว หากเป็นสัญญาณจากอาการของโรคข้อเข่าต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ละเลย เพราะอาการข้อเข่าในระยะแรก ๆ คนไข้จะยังทำงานทุกอย่างได้ตามปกติ ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติแล้วไม่แน่ใจว่าเสี่ยงโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับข้อเข่าหรือไม่ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันเวลา
ใครบ้างที่อยู่กลุ่มเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหรือเจ็บหัวเข่าได้ง่าย?
หลาย ๆ คนอาจคิดว่าอาการปวดเข่าหรือเจ็บหัวเข่าแบบไม่มีสาเหตุนั้นจะมีกลุ่มเสี่ยงแค่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่ม เช่น…
- ผู้สูงอายุ
- คนอายุน้อยที่ใช้เข่ามาก
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
- ผู้ออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักกับเข่ามากๆ
- ผู้ที่เป็นโรคข้อ
- ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุกับข้อเข่า
ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะได้รับการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการเจ็บด้วย
แนวทางการรักษา
โดยปกติแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะข้อเสื่อม โดยจะเริ่มต้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนซึ่งได้แก่ การให้ความรู้ ลดน้ำหนัก บริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง และกินยาลดการอักเสบแก้ปวดตามอาการ
การป้องกันและดูแลตนเองเมื่อเกิดอาการเจ็บที่หัวเข่า
สำหรับแนวทางการป้องกันและดูแลตนเองนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังนี้…
- ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อ
- ใช้เครื่องช่วยเดิน เพื่อผ่อนการลงน้ำหนัก ลดแรงกระทำต่อข้อ เช่น ไม้ค้ำ ไม้เท้า
- การประคบร้อนเมื่อมีอาการปวดในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และประคบเย็นช่วง 48 ชั่วโมงหลังมีอาการปวด การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิว การเลเซอร์ หรือฝังเข็ม
- การใช้ยากลุ่มต่างๆ ที่รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างเช่น พาราเซตามอล บรรเทาอาการปวดในเบื้องต้น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยลดอาการปวด และช่วยการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี โรคข้อเข่าโรคนี้ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด ดังนั้น นอกจากปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมเองได้ เราจึงควรดูแลในส่วนทีค่เราสามารถทำได้ให้ดีที่สุด หมั่นออกกำลังกาย ดูแลเรื่องรับประทานอาหารและคอยระมัดระวังตัวในเรื่องของอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เพื่อสุขภาพและความแข็งแรงของข้อเข่าที่เราต้องใช้ไปได้อีกนานแสนนาน เพราะเข่านั้นไม่ใช่เพียงอวัยวะชิ้นหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นฟันเฟืองของร่างกายที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของเราด้วยนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน