ปวดหัว ปวดฟันกราม ภาวะอาการที่ไม่น่าไว้ใจ เกิดจากอะไรกันแน่?
ปวดหัว ปวดฟันกราม เชื่อได้ว่าแม้จะเป็นอาการทั่วไปที่หลาย ๆ คนต้องเจอ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโอกาสที่จะเกิดอาการปวดทั้ง 2 บริเวณดังกล่าวพร้อม ๆ กันนั้นถือว่าเป็นไปได้ยาก ซึ่งก็สร้างความสับสนให้กับผู้ที่กำลังประสบปัญหามาก ๆ ว่าแท้จริงแล้วสาเหตุนั้นมันมาจากอะไรกันแน่ นอกจากนี้ อาการปวดดังกล่าวแม้จะไม่มีอันตรายแต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะอาการจะคอยส่งผลให้เกิดความรำคาญใจตลอดทั้งวัน แถมยังไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามต้องการด้วย ซึ่งเราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร Newton Em Clinic มีคำตอบมาฝาก
ปวดหัว ปวดฟันกราม เกิดจากอะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าควรรักษาด้วยวิธีไหน
ต้องบอกก่อนว่า อาการปวดหัว เป็น เป็นอาการตอบสนองทางร่างกายต่อสิ่งเร้าที่เกิดกับร่างกายของเรา ถึงแม้เราจะรู้สึกเหมือนกันว่า ปวดหัวก็คือปวดหัว แต่ความจริงแล้วอาการปวดนั้นแตกต่างกันไปทั้งความรู้สึกและความรุนแรง รวมถึงตำแหน่งที่เกิดอาการปวดด้วย แต่ยังไงก็ตาม นอกจากอากการปวดหัวแล้ว ในบางกรณีก็อาจมีอาการปวดลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะ ฟันและกราม ที่ผู้ประสบปัญหาหลาย ๆ คนคงสงสัยว่าปัญหามันเกิดที่หัว แต่ทำไมถึงลามไปถึงฟัน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
“อาการปวดหัว” ที่ทำให้ “ปวดฟัน” คืออะไร?
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาการปวดหัวนั้นมีได้หลายแบบ แต่ละแบบก็จะมีภาวะอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ปวดแบบคลัสเตอร์ บ้างก็ปวดจากความเครียด และบ้างก็ปวดจากการนอนน้อย เป็นต้น แต่อาการปวดหัวที่ทำให้เราปวดฟันและกรามได้ง่าย ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้นั่นก็คือ “ไมเกรน” นั่นเอง แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ทำไมปวดหัวไมเกรนทำให้มีอาการปวดฟันร่วมด้วย?
หลายคนมีอาการปวดหัวไมเกรนควบคู่กับอาการปวดฟัน บางคนปวดหัวก่อนแล้วจึงปวดฟันตามมา แต่บางคนเริ่มต้นจากปวดฟันแล้วลามไปปวดหัว การปวดทั้งสองส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร นั่นเป็นเพราะอาการปวดที่มักมาควบคู่กันเช่นนี้ ทำให้บางคนเข้าใจว่าตัวเองเป็นโรคไมเกรน เพราะปวดหัวทรมาน ส่วนอาการทางฟันตามมาภายหลัง แต่แท้ที่จริงแล้ว สองอาการที่มาควบคู่กันนี้ มักมีจุดเริ่มต้นจากปัญหาเรื่องฟันนั่นเอง
สาเหตุที่อาการทางฟันทำให้ปวดหัวไมเกรน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีด้วยกัน ดังนี้…
1. อาการปวดบริเวณแนวกราม
ขากรรไกร เมื่อปวดแล้วจะร้าวไปบริเวณหัว กระบอกตา สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากปัญหาการบดเคี้ยว ที่มีผลกับข้อต่อขากรรไกร เมื่อมีปัญหาก็ส่งผลไปถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวอาหาร เช่น กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบดเคี้ยว กล้ามเนื้อช่วงไหล่ ปัญหาจากกล้ามเนื้อก็ลามไล่ขึ้นไปจนบีบศีรษะทำให้เกิดปวดหัวขึ้นมา
2. ปัญหาการเคี้ยวอาหารที่ขาดสมดุล
ซึ่งอาจเกิดจากการสบของฟันที่ผิดปกติ มักมีปัญหาเช่นนี้ในกลุ่มคนที่มีฟันเก ฟันล้ม หรือถอนฟันแล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน การสบของฟันจะเสียสมดุลไป หรืออีกทีก็เกิดจากความถนัดของคน ๆ นั้นที่เคี้ยวอาหารด้วยฟันข้างเดียวตลอดเวลา เมื่อทำงานหนักข้างเดียว กล้ามเนื้อที่ทำงานก็ไม่สมดุล เครียดข้างเดียวจึงดึงรั้งไปถึงศีรษะ ไม่เจ็บฟันแต่ไปปวดจี๊ดที่หัวแทน
รักษาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ตามอาการ
เนื่องจากผู้ประสบปัญหาหลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าอาการปวดต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไรกันแน่ จึงอาจทำให้เกิดความสับสนว่าควรรักษายังไงกันแน่ ซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือ เราต้องทราบให้ได้ก่อนว่าสาสเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะสาเหตุแต่ละแบบจะมีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้…
การรักษาอาการปวดจากสาเหตุ “ฟันและกราม”
อาการปวดฟันและกรามเรื้อรังพยายามรักษาด้วยตนเองโดยใช้ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไปหรือยาแก้ปวดอย่างแรงที่หมอจ่ายให้สมาชิกคนอื่นในครอบครั แต่ที่ถูกต้องคือควรได้รับการวินิจฉัยเพื่อรักษาอาการปวดอย่างเหมาะสม ยาแก้ปวดเป็นเพียงการรักษาตามอาการ ไม่ใช่ที่ต้นเหตุ อาจสร้างปัญหาอื่นๆให้แก่ผู้ป่วย และส่งผลให้การวินิจฉัยซับซ้อนขึ้น การใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง การรับประทานยา ไอบูโพรเฟน หรือ อะเซตามีโนเฟน ที่ซื้อได้ทั่วไปในปริมาณมากเกินไปทำให้ไตและตับวายได้ การรับประทานยาแก้ปวดอย่างแรงทำให้ติดยาได้ หรือถ้ามีอาการปวดฟันและกราม ต้องให้ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากตรวจช่องปากอย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงการถ่ายภาพรังสี การถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และบางครั้งอาจตรวจเลือดด้วย ก่อนจะตรวจเลือด ต้องแน่ใจแล้วว่าอาการปวดไม่ได้มาจากฟัน
การรักษาอาการปวดจากสาเหตุ “ไมเกรน”
หากพูดถึง “กายภาพบำบัด” นั้น เรียกได้ว่าเป็นอีกวิธีการรักษาหนึ่งที่หลายๆ คนเลือก เนื่องจากเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดและใช้ยา แต่ก็ยังสามารถเห็นผลได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยการรักษาโรคต่างๆ ด้วยกายภาพนั้นจะเน้นไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายและบรรเทาอาการเจ็บปวดของอวัยวะตามร่างกายในบริเวณต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งการปวดไมเกรนก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่นิยมเลือกการทำกายภาพบำบัดเป็นการรักษา
ท่ากายภาพบำบัดง่ายๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน
ผู้ที่มีอาการปวด สามารถทำท่ากายภาพเบื้องตันเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ง่าย ๆ ดังนี้
ท่าที่ 1
- นั่งหลังตรง ก้มคางลงชิดอก
- ประสานมือทั้งสองเข้าด้วยกันวางด้านหลังศีรษะ ออกแรงกดค้างไว้ นับ 1 – 10 ทำซ้ำ 3 – 5 ครั้ง
ท่าที่ 2
- นั่งหลังตรง ตั้งข้อศอกทั้งสองข้างขึ้น กางนิ้วมือเป็นรูปตัวแอล โดยกางนิ้วหัวแม่มือออกให้ตั้งฉากกับนิ้วที่เหลือซึ่งเรียงชิดกัน
- วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างใต้ฐานกะโหลกศีรษะซึ่งเป็นแอ่งเล็กๆ ออกแรงกดเล็กน้อยแล้วหมุนวน นับ 1 – 10 ค้างไว้ ทำซ้ำ 3 – 5 ครั้ง
ท่าที่ 3
- เป็นท่ายืดส่วนหลัง โดยเริ่มจากนั่งแล้วเหยียดขาไปข้างหน้าทั้งสองข้าง หายใจเข้ายกมือขึ้นเหนือศีรษะ
- จากนั้นหายใจออกค่อยๆเอื้อมมือทั้งสองข้างไปแตะที่ปลายเท้า
- พยายามให้ขาตึง ห้ามงอขา ก้มให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วนับค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำอีก 10 ครั้ง
ท่าที่ 4
- เป็นท่ากายบริหารที่ออกไปในทางโยคะ เริ่มจากคุกเข่า แขนเหยียดตรง
- ยกกระดูกก้นกบ เกร็งหน้าท้อง โก่งหลังขึ้นให้ได้มากที่สุด
- หลังจากนั้นก้มหัวลงพยายามกดคางให้ชิดหน้าอก ค้างไว้สักครู่แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจ
ท่าที่ 5
- ท่านี้หากให้ลองนึกง่ายๆ จะเป็นท่าก้มตัวให้ศีรษะชิดกับหัวเข่า โดยเริ่มจากหายใจออกแล้วค่อยๆก้มตัวไปด้านหน้า ยืดขาให้ตึง
- หลังจากนั้นให้พยายามทำให้ลำตัวแนบกับต้นขามากที่สุด
- หากสามารถยืดตัวได้มากๆ ให้ใช้มือจับไว้ที่ด้านหลังข้อเท้า ค้างไว้สักครู่แล้วกลับสู่ในท่ายืนตรง
อย่างไรก็ดี อาการปวดหัวไมเกรน เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง จะมีอาการเป็นๆ หายๆ ดังนั้น แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนที่เหมาะสมคือ การปรับจากพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ การรักษาด้วยกายภาพบำบัดก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีเลยทีเดียวในการเริ่มต้นหากผู้ป่วยไม่ต้องการรับยา หรือจากที่ได้กล่าวไป หากสาเหตุมาจากฟันก็ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาแบบเฉพาะทางให้หายขาดจะดีกว่า
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน