ปวดหัวแบบจี๊ดๆ ปวดหัวจุดเดียว ปวดหัวจี๊ด สัญญาณอันตรายที่อย่าชะล่าใจ
ปวดหัวแบบจี๊ดๆ สักพักหายแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ หลาย ๆ คนอาจคิดว่าเป็นอาการปวดหัวแบบปกติ คงไม่ได้เป็นอะไรมากเพราะถึงเป็นก็คงหายได้เอง แต่แท้จริงแล้วแม้จะเป็นอาการปวดเล็กน้อย แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าสิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนของภาวะโรคที่รุนแรงได้หลายอย่าง ซึ่งในช่วงแรกอาการของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับระบบประสาทมักจะมาในรูปแบบของอาการปวดหัวเช่นนี้อยู่เสมอ ดังนั้นแม้จะเป็นการปวดแบบจี๊ดๆ ตึง ๆ เล็กน้อย ก็ไม่ควรมองข้ามทั้งสิ้น
ปวดหัวแบบจี๊ดๆ ตึง ๆ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
อาการปวดศีรษะทั้งปวดศีรษะจี๊ดๆ ปวดตุบ ๆ และอีกสารพัดปวด ซึ่งรูปแบบและอาการที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุหลากหลายออกไป ทั้งจากความเครียด กิจวัตรประจำวัน อาหาร ระยะเวลาการพักผ่อน รวมถึงโรคภัยต่าง ๆ มาดูกันว่าอาการปวดศีรษะที่คุณเผชิญอยู่มาจากปัจจัยใดบ้าง? และอันตรายมากน้อยแค่ไหน?
ปวดหัวจี๊ดๆ เกิดจากอะไร ปวดที่กลางศีรษะ จี๊ดๆ 1-3 วินาที แล้วหาย คืออะไรกันแน่?
อาการปวดศีรษะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การปวดศีรษะแบบเทนชัน, การปวดศีรษะไมเกรน, พยาธิสภาพที่สมอง, ปวดจากการมีไข้, ปวดศีรษะจากความเครียด, จากการอักเสบรอบ ๆ ศีรษะ เช่น ฟันผุ หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ กล้ามเนื้อคออักเสบ เป็นต้น หรือหากจะเป็นอาการที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ Stroke หรือภาวะที่เกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองนั่นเอง
ลักษณะอากาปวดหัวจี๊ดที่พบบ่อย
- ปวดมีลักษณะตึง ๆ ตื้อ ๆ
- บางคนอาจปวดจี๊ดๆ
- ปวดหัวข้างเดียว
- ปวดหัวแบบร้าวจากขมับไปกลางศีรษะ จนถึงท้ายทอย (ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้)
สาเหตุของอาการปวดหัวจี๊ด
ปัญหาปวดหัวจี๊ดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เช่นคนที่มีพฤติกรรมอดนอน เครียด ใช้สมองหรือสายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ฯลฯ ในบางกลุ่มอาจมีอาการปวดหัวขณะมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Headache) ได้ เช่น ปวดหัวขณะประกอบกิจ ปวดหัวขณะช่วยตนเอง ปวดหัวขณะออรัลเซ็กส์ และปวดหัวขณะถึงจุดสุดยอด
ปวดหัวจี๊ดๆ ขมับ 2 ข้าง แตกต่างกันมั้ย เป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติอะไรบ้าง?
ปวดหัวจี๊ดๆ เหมือนเข็มทิ่ม ถือเป็นอาการที่แสดงออกมากที่สุดในหลาย ๆ เคส ซึ่งแต่ละเคสก็จะมีบริเวณที่แสดงแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นขมับด้านขวาและซ้าย โดยการปวดจี๊ดที่ขมับแต่ละข้างมีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ มาดูไปพร้อม ๆ กัน
ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “อาการปวดหัว จี๊ดๆ ข้างขวา” หรือ “อาการปวดหัว จี๊ดๆ ข้างซ้าย” อาจเป็นอาการของ “ปวดหัวไมเกรน” ได้ โดยมักมีอาการอื่นร่วม เช่น ปวดร้าวไปถึงท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียน จะมีอาการมากขึ้นเมื่อลุกเดิน ซึ่งอาการนี้สามารถหายได้เมื่ออยู่ในที่มีอากาศเย็นหรือแสงไม่จ้ามาก เพราะอากาศที่ร้อน หรือแสงแดดที่สว่างเกินไปมักเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นดังกล่าว สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้นั่นเอง
ปวดหัวจี๊ดจากโรคทางระบบประสาท มีอะไรบ้าง?
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการปวดหัวจี๊ดๆ นั้นสามารถเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทได้หลายชนิด เช่น
การปวดศีรษะแบบ Tension
อาการปวดศีรษะจากความเครียด มักมีอาการปวดที่ท้ายทอย อาจร้าวไปถึงขมับสองข้างหรือปวดทั่วศีรษะ เหมือนอะไรมาบีบมารัด
การปวดศีรษะไมเกรน
เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ มักจะเกิดข้างเดียว แต่ก็อาจเกิดทั้งสองข้างก็ได้
ปวดศีรษะจากความเครียด
อาการปวดหัวจากความเครียดนั้นมีอาการที่หลากหลาย ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดที่ศีรษะ มีตั้งแต่เล็กน้อยถึงปานกลาง ปวดตื้อ ๆ ปวดบีบ ๆ รู้สึกเหมือนมีอะไรมารัดศีรษะ อาจเจ็บแปล๊บ ๆ ที่หนังศีรษะ บางคนปวดข้างเดียว ปวดมากที่กระบอกตา คล้ายไมเกรนแต่มักไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น ไม่มีอาการทางสายตา ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดศีรษะจาก Stroke
วิธีแก้อาการปวดหัวจี๊ดๆ เบื้องต้น
การรักษาเบื้องต้นให้ใช้น้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวดนานประมาณ 20 นาที ประคบให้ได้ 3-5 ครั้งต่อวัน รับประทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ควรรับประทานอาหารอ่อนนิ่ม และหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือกัดของแข็ง เพราะการเคี้ยวอาหารหนัก ๆ จะยิ่งกระตุ้นให้มีอาการปวดหัวยิ่งกว่าเดิม
แนวทางการรักษาจากแพทย์
ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นอาการปวดหัวที่มีลักษณะเช่นนี้และเมื่อวินิจฉัยแล้วพบว่ายังไม่มีภาวะรุนแรงอะไร แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) เพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดและความถี่ของการกำเริบ วิธีการรักษาโดยเครื่อง TMS มีวิธีการรักษาโดยนำหัวส่งคลื่นแม่เหล็ก มาวางที่ศีรษะ แขนหรือขาหรือจุดที่ต้องการรักษา วิธีการดังกล่าวไม่ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเจ็บหรือเกร็งใด ๆ เพราะกระบวนการรักษานั้นไม่มีการผ่าตัด หรือฉีดสิ่งใดเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งการทำTMS สามารถรักษาเป็นครั้ง ๆได้ ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา ไม่ต้องนอนพักฟื้นและสามารถกลับบ้านได้เลยทันที
ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
- ลดและป้องกันภาวะปวดศีรษะไมเกรน
- เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน
- ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร
- ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์
วิธีการนวดกดจุดช่วยแก้ปวดหัวแบบจี๊ด ๆ ตึง ๆ ด้วยตนเอง
การนวดเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ดีและง่ายที่สุด วิธีการนวดให้นวดบริเวณขมับ ต้นคอ และช่วงไหล่ โดยนวดไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายลง เส้นเลือดก็จะคลายตึง ไม่หดเกร็ง ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนทุเลาลง และถ้าจะให้ได้ผลดีมากขึ้น อาจหาพวกน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันการบูร หรือน้ำมันลาเวนเดอร์ เป็นต้น มาใส่ในขณะที่นวดด้วยจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้เพิ่มขึ้น
ประโยชน์โดยรวมของการนวดกดจุด
อาการปวดศีรษะเช่นนี้ ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะแทน และวิธีการนวดจึงเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ใช้บรรเทาอาการปวดได้ดี
ผ่อนคลายความเครียด
การนวดกดจุดจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัว เวียนหัวได้ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อคอบ่า ระหว่างนวดกดจุดนั้น ยังช่วยบำบัดอาการทางจิตใจได้ ช่วยให้คลายเครียด
กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
การนวดที่ได้ผลดีนั้น เมื่อกดไปแล้วต้องรู้สึกตึง ๆ หน่วง ๆ บริเวณตำแหน่งที่กด เพราะความรู้สึกเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นระบบประสาท ให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึน ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารสามารถเลี้ยงร่างกายได้ทั่วถึง
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัว
การรักษาอาการปวดหัวแบบ Tension นั้นต้องอาศัยทั้งการรักษาจากการแพทย์ และการดูแลตนเองของคนไข้ร่วมด้วย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ใครที่เคยนอนดึกก็นอนให้เร็วขึ้น หรือใครที่มีความเครียดได้ง่ายก็อาจจะหาทางผ่อนคลายความเครียดนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดหัวเช่นนี้ขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการกลับมาปวดหัวซ้ำอีกด้วย
FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดหัวจี๊ดๆ
ปวดหัวจี๊ดๆเป็นอะไร
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การปวดศีรษะแบบเทนชัน, การปวดศีรษะไมเกรน, พยาธิสภาพที่สมอง, ปวดจากการมีไข้, ปวดศีรษะจากความเครียด, จากการอักเสบรอบ ๆ ศีรษะ เช่น ฟันผุ หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ กล้ามเนื้อคออักเสบ เป็นต้น
ปวดหัวข้างเดียว จี๊ดๆ เกิดจากอะไร
อาจเป็นเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ มักจะเกิดข้างเดียว แต่ก็อาจเกิดทั้งสองข้างก็ได้
ทำยังไงให้หายปวดหัวจี๊ด
การดูแลตนเองเบื้องต้นคือทำการนวดบริเวณที่ปวด ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ดีและง่ายที่สุด วิธีการนวดให้นวดบริเวณขมับ ต้นคอ และช่วงไหล่ โดยนวดไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายลง เส้นเลือดก็จะคลายตึง ไม่หดเกร็ง หรือทางการแพทย์ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว
ปวดหัวข้างซ้ายจี๊ดๆเกิดจากอะไร
อาจเกิดจากโรคปวดศีรษะโดยตรง เช่น โรคไมเกรน หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ ทั้งนี้อาจรวมถึงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ อดอาหาร มีความเครียด เป็นต้น
ทำไมอยู่ๆก็ปวดหัว
ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากที่ผู้ป่วยมีภาวะปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน ทั้งนี้อาจรวมถึงความผิดปกติบางอย่าง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพอง โพรงจมูกอักเสบ ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการปวดหรือมึนหัวได้เช่นกัน
เนื้องอกในสมอง ปวดหัวแบบไหน
ปวดหัวแบบไหนควรพบแพทย์ทันที
ปวดหัวรุนแรงบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ด้านหน้า เบ้าตาแล้วกระจายไปทั่วปวดหัวจนทนไม่ไหวขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดจี๊ดๆ เป็นจุดๆ เป็นๆ หายๆ มาเป็นเวลานาน หรือปวดหัวข้าวเดียวกลางดึก ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรพบแพทย์ทันทีเพราะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เลือดออกในสมอง และหลอดเลือดหัวใจตีบ
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดหัวตุ้บ ๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- โรคหลอดเลือดสมอง: สัญญาณอันตรายของอัมพาต
- นั่งนานปวดเอว หากไม่รีบแก้อาจเป็นเรื้อรัง