กายภาพ ไหล่ติด เทคนิครักษาที่นักกีฬาควรรู้
กายภาพ ไหล่ติด รักษาหายหรือไม่? เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังเผชิญปัญหาไหล่ติด ไม่ว่าจะเป็นบุคลคลทั่วไป หรือ นักกีฬา ที่ต้องเร่งรักษาเพื่อให้หายทันเวลาเพื่อการแข่งขัน แน่นอนว่าเป็นที่ทราบการดีว่าการรักษาไหล่ติดมีปลายทางเดียวคือต้อง “ผ่าตัด” หากรักษาโดยการรับประททานหรือฉีดยาไม่หาย ซึ่งยิ่งเป็นฝันร้ายของนักกีฬาเพราะต้องพักฟื้นนานกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้น การทำกายภาพจึงเป็นเทคนิคที่ตอบโจทย์ที่สุด
กายภาพ ไหล่ติด เกิดจากอะไร รักษาด้วยกายภาพฯ จะหายหรือเปล่า?
ปัญหาโรคข้อไหล่ สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเกิดจากอุบัติเหตุและไม่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุ หนึ่งในนั้นคือภาวะการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลำบากหรือ ข้อไหล่ติด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ข้อไหล่ได้เต็มความสามารถและมีการใช้งานข้อไหล่ลดลง โดยอาจไม่สามารถยกไหล่หรือกางแขนออกได้สุด ทำให้นักกีฬาแสดงความสามารถทางกีฬา (Sports – Performance) ได้ไม่เต็มที่ด้วย
“ไหล่ติด” เกิดจากสาเหตุอะไร
ภาวะข้อไหล่ติดนั้นเกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบทำให้เส้นเอ็นเหล่านั้นหนาตัวขึ้นและเมื่อเรายกแขนหรือเอามือไขว้หลังจะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดจนทำให้เราไม่กล้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะเมื่อเราหลีกเลี่ยงการยกแขนการเคลื่อนไหวหัวไหล่ก็จะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่หนาตัวมากขึ้นองศาการเคลื่อนไหวของเราก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ
สาเหตุ “ไหล่ติด” ในนักกีฬา
จากสาเหตุเบื้อต้นที่กล่าวไป ทุกคนจะเห็นได้ว่าสาเหตุของภาวะไหล่ติดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมง่าย ๆ รวมถึงนักกีฬาที่สามารถเกิดภาวะไหล่ติดได้จาก…
- อาจเกี่ยวพันกับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องบางอย่าง เช่น โรคข้อรูห์มาตอย (Rheumatoid arthritis) โรคข้อเอสแอลอี หรือโรคข้อพุ่มพวง (SLE arthritis) และ โรคเบาหวาน เป็นต้น
- การบาดเจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ็บไหล่จากการเล่นกีฬา มักพบบ่อยในการใช้กล้ามเนื้อช่วงไหล่และแขน เช่น เทนนิส กอล์ฟ ฯลฯ
ข้อไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร?
เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ระยะอาการของภาวะไหล่ติดที่ต้องเฝ้าระวัง
ข้อไหล่ติด แบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่…
- ระยะปวด โดยจะมีอาการปวดมาก แม้ยกไหล่เพียงนิดเดียว ในระยะนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 2-9 เดือน
- ระยะข้อไหล่ติด โดยจะมีพิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง มักจะมีอาการปวดตึงไหล่เมื่อขยับไหล่ใกล้สุด ทำให้มีปัญหาเรื่องการใช้งาน เช่น การรับปรปวดไหล่, ไหล่ะทานอาหาร อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า โดยผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ในระยะนี้นานแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ 2 เดือนไปจนถึง 1 ปีครึ่ง
- ระยะฟื้นคืนตัว เมื่อผ่านระยะติดมาแล้วจะเข้าสู่ระยะฟื้นคืนตัว โดยธรรมชาติจะรักษาตัวเอง อาจใช้เวลาตั้งแต่ 1-3 ปี
หลักการรักษาข้อไหล่ติด
โรคไหล่ติดมีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง
โรคนี้สามารถหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามหากไม่รีบรักษา จะทำให้กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ลีบลงได้ ดังนั้นหากเป็นข้อไหล่ติดระยะแรกที่ข้อไหล่ยังติดไม่มากนัก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรค และรักษาอาการปวดให้หายก่อน
ให้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ
สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกเจ็บบริเวณหัวไหล่ แพทย์จะให้ยาแก้ปวดและลดการอักเสบไปรับประทานเพื่อบรรเทา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ขั้นตอนข้อที่ 1, 2 และ 3 จะทำไปพร้อมกันในการตรวจดูอาการตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากนั้นแพทย์จะนัดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ
ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ
เป็นการฉีดยาในกลุ่มยาลดอักเสบหรือกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ ทำให้การอักเสบลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้การกายภาพบำบัดดัดหัวไหล่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การผ่าตัด
จะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไหล่ติดอย่างมาก รักษาด้วยวิธีก่อนหน้าแล้วยังไม่ได้ผล จึงจะแนะนำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออก ทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้น และทำการดัดข้อไหล่ได้ง่ายขึ้น
รักษาไหลติดด้วยการทำ “กายภาพบำบัด”
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับขั้นตอนการรักษาภาวะไหล่ติด ขั้นตอนแรก ๆ ก่อนเข้ารับการดูแลจากแพทย์นั้น ผู้บาดเจ็บหรือนักกีฬาที่มีภาวะนี้อยู่จะได้รับคำแนะนำให้ทำออกกำลังกายด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำจากแพทย์ก่อน ซึ่งเมื่อทำอย่างต่อเนื่อง อาการไหล่ติดจะค่อย ๆ หายไปเอง ในกรณีที่ข้อไหล่ติดมีอาการเอ็นอักเสบร่วมด้วย ในปัจจุบันมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การทำ Shock Wave การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในการทำกายภาพบำบัดนั้น นักกายภาพฯ จะทำการดัดหัวไหล่ที่ติดเพื่อเพิ่มพิสัยการขยับให้มากขึ้น เนื่องจากอาการไหล่ติดเกิดจากเยื่อบุข้อไหล่หนาตัวและแข็ง การรักษาจึงต้องค่อยๆ ยืดเพื่อให้เยื่อบุนิ่มลงและยืดหยุ่นขึ้น แนะนำให้ทำกายภาพวันละ 8-10 ครั้ง จะทำให้สามารถขยับหัวไหล่ได้มากขึ้น อาการเจ็บจากไหล่ติดก็จะลดลง
ท่าบริหาร บรรเทาอาการไหล่ติด
สำหรับท่ากายบริหารเพื่อบรรเทาอาการไหล่ติดนั้น สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้
ท่าที่ 1 แกว่งแขนแบบลูกตุ้มนาฬิกา
ยืนหันข้าง โดยให้ไหล่ที่ดีหันข้างให้โต๊ะและท้าวแขนไว้บนโต๊ะ โน้มตัวไปด้านหน้า และปล่อยแขนด้านที่มีปัญหาลง แกว่งเป็นรูปวงกลมเบาๆช้าๆ
ท่าที่ 2 ท่ากางไหล่
นั่งหันข้างโดยให้แขนข้างที่มีปัญหาชิดกับโต๊ะ นั่งกางไหล่ วางแขนไว้บนโต๊ะ ค่อยๆเลื่อนๆตัวออกในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านหน้า
นอนหงาย เอามือไขว้รองศีรษะ ยกศอกตั้งขึ้นในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
ท่าที่ 4 ท่ายกไม้
จับปลายไม้ด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วยกขึ้นลงเหนือศีรษะ
ท้ายที่สุด ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า อาการไหล่ติดสามารถรักษาได้หลายวิธีแต่บางรายอาจหายได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาซึ่งอาจกินเวลานาน 18-24 เดือนหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของอาการโดยจุดประสงค์ของการรักษาต้องการให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและใช้งานหัวไหล่ได้ใกล้เคียงกับสภาพปกติมากที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “โรคกระดูกสันหลัง” โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “ผ่าตัดกระดูกสันหลัง” กับ 8 คำถามที่ต้องรู้คำตอบ