“กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน” ภาวะอันตรายของนักกีฬาที่ควรระวัง
กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน อาการที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากคุณเป็นนักกีฬา ซึ่งต้องบอกก่อนว่า แม้คุณจะทำการอบอุ่นร่างกายหรือคิดว่าเตรียมตัวมาดีแล้ว แต่อาการบาดเจ็บดังกล่าวก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วก็มาก ๆ ที่จะทำให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ปกติในระยะเวลาที่จำกัด โดยเฉพาะในนักกีฬามืออาชีพที่มีตารางแข็งขันที่จริง ดังนั้น การรักษาภาวะกล้ามเนื้อประเภทนี้จึงเป็นเรื่องน่ารู้สำหรับนักกีฬาทุกคน
“กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน” อาการเล็ก ๆ ที่แฝงอันตราย ภัยเงียบที่นักกีฬาควรระวัง
แม้จะเป็นภาวะที่ดูธรรมดา ไม่ได้มีอันตรายอะไรมาก แต่ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบนั้นก็ส่งผลต่อก็ใช้ชีวิตประจำวันของเราอยู่มากพอควร จนบางครั้งจะใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณที่นำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ หากปล่อยไว้นานไปก็อาจเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอาการกล้ามเนื้ออักเสบในนักกีฬาที่อาจส่งผลในระยะยาวจนอาจกระทบไปยังการแข่งขันได้ด้วย ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำและไขคำตอบทุกข้อสงสัยว่าอาการกล้ามเนื้ออักเสบคืออะไร พร้อมแนวทางการรักษากล้ามเนื้ออักเสบที่ควรรู้ให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ตามมาดูไปพร้อม ๆ กัน
กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน คือ…
โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน คือ โรคที่กล้ามเนื้อบริเวณหลังมีความผิดปกติอย่างเฉียบพลัน สามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นคอลงไปจนถึงหลังส่วนล่าง โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นทันที หลังจากที่กล้ามเนื้อได้รับการบาดเจ็บ หรือใช้งานมากเกินไปจนเกิดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบนั้นจะเป็นกระบวนการหนึ่งของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อเซลล์ได้รับบาดเจ็บหรือติดเชื้อ โดยมีการหลั่งสารภายในร่างกายไปยังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการรักษาตัวเอง หรือกำจัดเชื้อโรค แต่ถ้าการบาดเจ็บนั้นมากเกินไปหรือมีการตอบสนองของร่างกายที่มากไปก็จะทำให้ปวดมากขึ้นได้
ว่าด้วยเรื่อง กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันจากการ “เล่นกีฬา”
การเล่นกีฬานั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้ ซึ่งสามารถเกิดได้กับการเล่นกีฬาเกือบทุกประเภท โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจัดอยู่ทั้งในกลุ่มของการได้รับบาดเจ็บโดยตรง และการใช้งานมากเกินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มี
พบได้ในกีฬาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทก หรือแรงกดบริเวณกล้ามเนื้อหลัง อย่างการเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล และยกน้ำหนัก หรือกีฬาอื่นๆ ที่ผู้เล่นมักเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ นอกจากนี้ กล้ามเนื้อหลังอักเสบยังสามารถเกิดจากการเล่นกีฬาหนักเกินไป เล่นผิดท่า หรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บจนเกิดอาการอักเสบได้
กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน อาการ เป็นอย่างไร?
กล้ามเนื้อหลังที่บาดเจ็บก็จะมีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม หรือมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้นในบริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหาได้
- มีอาการปวด
- มีอาการบวม แดง หรือร้อนร่วมด้วย
- กล้ามเนื้อเกร็งตัวขึ้นมาอย่างผิดปกติ
- ไม่สามารถขยับหลังได้ปกติ
- องศาในการขยับตัวลดลง
- ก้มตัว แอ่นตัว หรือบิดตัว จะเกิดความรู้สึกเจ็บ
กล้าม เนื้อ อักเสบ หายเองได้ไหม
นักกีฬาหลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่า ยิ่งเล่นจนเจ็บยิ่งดี ต้องไปเล่นซ้ำให้กล้ามเนื้อได้แข็งแรงแล้วอาการปวดกล้ามเนื้อจะหายไปเอง แต่แท้จริงแล้ว ในการสร้างกล้ามเนื้อนั้นไม่มีความจำเป็นต้องให้เจ็บปวดหรือบาดเจ็บ ดังนั้นเราต้องแยกให้ได้ระหว่างการบาดเจ็บ ความเจ็บปวดกับการฝึกกล้ามเนื้อ และการหยุดพักเพื่อให้กล้ามเนื้อพัฒนาให้แข็งแรง กับการเล่นซ้ำเพื่อความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
ซ้ำร้ายกว่านั้นการเข้าใจผิดเช่นนี้ ทำให้เคสต้องไปเล่นต่อ จนปวดเพิ่มขึ้นๆ ทุกวัน และอาจกลายเป็นอ่อนแอลงมากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแก้ให้หายขาดได้ไม่ยาก ทั้งนี้ อาจจะยิ่งทำให้เจ็บตัว และอาจตามด้วยโรคภัยในอนาคตได้อีกด้วย
กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา มีอะไรบ้าง?
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทางหลัก ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.การรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- ทำการป้องกันส่วนที่บาดเจ็บ โดยการใช้ผ้าพัน หรือการใช้ผ้ายืด elastic bandages หรือการ splint ให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับส่วนที่บาดเจ็บ
- การประคบด้วยน้ำแข็งเป็นวิธีลดการอักเสบที่ดี เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรประคบ ice pack ประมาณ 10-15 นาที
- การกดหรือการรัด จะช่วยลดอาการบวมและการอักเสบได้ เช่นการใช้ elastic bandage
- ต้องได้รับการพักทันทีเมื่อมีอาการบาดเจ็บ เช่น บาดเจ็บหัวไหล่จากการเล่นเทนนิส ก็ควรหยุดเล่นสักพัก เป็นต้น
2.การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ อย่างไรก็ดี ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ
โดยการกายภาพบำบัดประกอบไปด้วย การทำกายบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น คลื่นอัลตราโซนิกส์หรือกระแสไฟฟ้า เพื่อลดการอักเสบหรือกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีพยาธิสภาพให้ดีขึ้นและกลับมาใช้งานได้ปกติ ฉะนั้น หากใครรู้ตัวว่าตนเองมีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน