3 วิธีแก้ปวดขมับสองข้าง ทริคง่าย ๆ แก้อาการปวดหัวด้วยตัวเอง
วิธีแก้ปวดขมับสองข้าง เชื่อได้ว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังหาคำตอบกันอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการปวดขมับนี้ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยนอกจากภาวะไมเกรนที่ทำให้เรามีอาการปวดขมับได้แล้ว ก็ยังมีอาการตึงของกล้ามเนื้อจากภาวะความเครียดที่ทำให้บางท่านปวดขมับด้วยเช่นกัน ซึ่งในบางเคสที่อาจจะอยู่ในอาการที่ระดับไม่ยังรุนแรงมากนัก ก็ยังพอสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง ซึ่งบทความนี้ Newton Em Clinic นำทริคแก้อาการปวดง่าย ๆ มาฝาก
วิธีแก้ปวดขมับสองข้าง มีอะไรบ้าง คลายอาการปวดด้วยวิธีง่าย ๆ ควรรักษาด้วยวิธีไหน?
อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยและส่งผลให้ใครหลายๆ คนเกิดความรำคาญ และรบกวนในการใช้ชีวิตและการทำงาน แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าอาการปวดศีรษะนี้ เป็นอาการปวดศีรษะธรรมดาที่เกิดจากความเครียด หรือเกิดจากอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งหนึ่งในลักษณะอาการที่มักแสดงออกมาเมื่อเรามีอาการปวดหัวนั้น ก็คือ “อาการปวดขมับ” นั่นเอง ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่เพียงแต่การปวดหัวจากไมเกรนเท่านั้น
สาเหตุของการปวดขมับ
อาการปวดขมับอาจจะเกิดเนื่องจาก การอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ศีรษะ หรือ ปัญหาเรื่องของการหดเกร็งของเส้นเลือดได้ ปัญหาเรื่องของไมเกรน หรือ เป็นเรื่องของความไวของเส้นประสาทรอบ ๆ บริเวณศีรษะทำให้มีอาการปวดได้เช่นกัน
- อาการปวดศีรษะข้างเดียว อาจจะเป็นเรื่องไมเกรน มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดนาน
- ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ปวดรุนแรง ปวดรอบๆ กระบอกตา ลามไปขมับด้านใดด้านหนึ่ง
- ปวดศีรษะสองข้าง เกิดจากความเครียด
- ปวดศีรษะจากไซนัส
- ปวดศีรษะจากเส้นประสาท
ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทางการแพทย์ได้ทำการระบุเอาไว้ ซึ่งหากใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษาให้ตรงจุด
ลักษณะอาการ
อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวพบได้บ่อย มักมีอาการปวดที่ต้นคอ อาจร้าวไปถึงขมับสองข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดตื้อ มึน เหมือนอะไรมาบีบมารัด อาการค่อย ๆ เป็น มักเริ่มตอนบ่ายหรือเย็น อาการปวดอาจเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเครียดและการพักผ่อน
3 แนวทางแก้ปัญหาปวดขมับแบบง่าย ๆ สามารถเริ่มได้ด้วยตนเอง
สำหรับการบรรเทาอาการปวดตึงที่ขมับนั้น สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยตนเองจาก 3 วิธี ดังนี้…
1.การดูแลตัวเอง
หากอาการปวดขมับทั้งสองข้างไม่รุนแรงมาก สามารถดูแลอาการในเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เช่น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียด และทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็น จัดตารางเวลาในการทำงานให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการทำงานนอกเวลางาน ฟังเพลงสบาย ๆ ชมภาพยนตร์ที่ชอบ เล่นโยคะ และนั่งสมาธิ รวมไปถึง การอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนบริเวณที่ปวดด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น จะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวจากความเครียดได้
2.การใช้ยา
อาการปวดขมับทั้งสองข้างสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง เช่น พาราเซตามอล โดยรับประทานตามปริมาณและระยะเวลาที่ระบุบนฉลากยาหรือตามที่เภสัชกรแนะนำ ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดบ่อยหรือรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะการใช้ยามากเกินอาจทำให้ปวดหัวรุนแรงขึ้น
3.นวดบรรเทาอาการ
นวดเบา ๆ บริเวณหน้าผาก ขมับทั้งสองข้าง และต้นคอ จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ หรือกายบริหารง่าย ๆ เพื่อทำการยืดกล้ามเนื้อให้อาการตึงดีขึ้น
ซึ่งนี่เป็นเพียงแนวทางแก้ปวดแบบเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงเท่านั้น ซึ่งหากผู้ประสบปัญหาท่านใดที่มีอาการที่รุนแรงหรือมีแนวโน้มว่าจะเป็นเรื้อรัง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดและหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS เทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวดตึงขมับ
เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) เพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดและความถี่ของการกำเริบ
ขั้นตอนการรักษานั้นจะนำหัวส่งคลื่นแม่เหล็กมาวางที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด ใช้เวลาเพียง 10-15 นาที โดยควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันประมาณ 3-5 ครั้ง หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ด้านสมองและระบบประสาทจะเป็นผู้ประเมินว่าต้องทำกี่ครั้งรวมถึงความถี่ในการทำต่อสัปดาห์
เบื้องต้นควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นอาการชาหนา ๆ เหมือนไม่รู้สึก เป็นครึ่งซีก มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ และในขณะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำท่าที่กดทับบริเวณที่เป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ ถ้านอนหมอนสูงแล้วสัมพันธ์กับอาการให้ลองเปลี่ยนเป็นหมอนที่ระดับพอดีกับศีรษะดูก่อนเพื่อสังเกตอาการต่อไป
อย่างไรก็ดี ในการรักษาอาการปวดขมับนั้น นอกจากการรักษาจากการแพทย์แล้ว ควรมีการดูแลตนเองของคนไข้ร่วมด้วย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ใครที่เคยนอนดึกก็นอนให้เร็วขึ้น หรือใครที่มีความเครียดได้ง่ายก็อาจจะหาทางในการผ่อนคลายความเครียดนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดบีบเช่นนี้ขึ้น เพราะแม้การปวดหัวแบบ Tension จะไม่มีอยู่ในการอาการปวดหัวแบบอันตราย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยควรปล่อยปละละเลยได้ เพราะในอนาคตอาจส่งผลให้เกิดผลเสียได้นั่นเอง
——————————-
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร