เอ็นข้อมืออักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น ประคบแบบไหนอาการหายไวกว่ากัน
เอ็นข้อมืออักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น ? เชื่อได้ว่าเมื่อมีอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ “การประคบ” มักเป็นอีกแนวทางแรก ๆ ที่หลายคนเลือกเพราะเป็นการปฐมพยายามขั้นต้นแบบง่าย ๆ ที่ผู้ประสบปัญหาสามารถทำได้เองและช่วยบรรเทาอาการปวดได้จริง อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการประคบเหมือนกันแต่การประคบแบบร้อนและเย็นนั้นมักถูกนำมาใช้ในการบาดเจ็บที่แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป และเพื่อให้ทุก ๆ คนใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการปวดข้อมือ ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำข้อมูลมากฝาก
เอ็นข้อมืออักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น ประคบแบบไหนปลอดภัยและบรรเทาให้อาการดีขึ้น?
“เอ็นข้อมืออักเสบ” การบาดเจ็บของข้อมือที่มักพบในคนวัยทำงาน เนื่องจากการใช้ข้อมือทำงานบ่อยๆ และซ้ำๆ กันในระยะเวลาที่ยาวนาน โดยการบาดเจ็บชนิดนี้แม้จะฟังดูไม่อันตราย แต่แท้จริงแล้วไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก เพราะหากปล่อยอาการไว้จนเรื้อรังก็อาจส่งผลต่อการใช้งานของข้อมือโดยตรงรวมถึงส่งผลในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาถึงสาเหตุ และอาการของโรคนี้เพื่อนำไปสู่การป้องกันที่ถูกวิธีและการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง
สาเหตุของอาการ “เอ็นอักเสบ”
เอ็น (Tendons) มีโครงสร้างคล้ายเชือก มีหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกเข้าด้วยกัน โดยเอ็นสองเส้นหลักบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือถูกห่อหุ้มด้วยปลอกเยื่อหุ้มเอ็นที่มีลักษณะเป็นอุโมงค์เล็ก ๆ การใช้แรงข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาและบวมขึ้น ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเมื่อเกิดการเสียดสีของปลอกเยื่อหุ้มเอ็นและเอ็น ขยับข้อมือทำได้จำกัด และเกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อมือ
อาการของภาวะเอ็นข้อมืออักเสบที่สามารถสังเกตได้
สำหรับอาการแสงของภาวะเอ็นข้อมืออักเสบนั้นมีหลายลักษณะด้วยกัน ประกอบด้วย…
- ขยับข้อมือ นิ้วมือ ลำบาก
- ปวดเมื่อยขยับข้อมือหรือใช้มือในการหยิบจับสิ่งของ
- บวม แดง ร้อน บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
- อาจมีอาการปวดร้าวลงไปปลายนิ้ว หรือขึ้นมาถึงข้อศอก
- อาจมีอาการชาที่นิ้วหัวแม่มือและโคนนิ้วหัวแม่มือ
- อาจคลำเจอก้อนบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ
- ปวดเมื่อกดบริเวณใต้รอยต่อข้อมือ
อย่างไรก็ตาม นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมา ระดับอาการจะรุนแรงหรือไม่นั้นสามารถวินิจฉัยได้จากอาการอักเสบหากมีอาการเจ็บเมื่อกดหรือขยับข้อมือเพียงเล็กน้อยอาการแบบนี้ก็จะไม่รุนแรงมาก แต่หากเกิดจากการกระชากและมีอาการบวมขึ้นมาทันทีจนเห็นได้ชัดถือว่าเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรงควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี
เอ็นข้อมือเกิดการอักเสบ ประคบร้อนหรือเย็น ถึงจะหาย?
แช่มือในน้ำอุ่น ประมาณ 15-30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น (ยกเว้นกรณีเป็นใหม่ ๆ มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อนมาก ควรประคบเย็น 5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ในช่วง 1-2 วันแรก จนอาการอักเสบคงที่ หรือลดลง จึงเปลี่ยนเป็นประคบอุ่น)
แนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่ผู้ปัญหาควรรู้จัก
โดยส่วนใหญ่แล้ว แนวทางการรักษาของอาการเส้นอักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทาง คือ
1.รักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าตัดแบบวันเดียว ผู้ป่วยมักไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และสามารถกลับบ้านได้หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น โดยแพทย์จะทำการผ่าเปิดปลอกหุ้มเอ็นข้อมือออก เพื่อลดการกดเบียดของเส้นเอ็น
2. รักษาด้วยการทานยา
เพื่อระงับอาการเจ็บปวด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่บริเวณปลอกหุ้มเอ็นข้อมือเพื่อลดอาการปวดบวม
3. รักษาด้วยกายภาพบำบัด
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการทำกายภาพบำบัด โดยจะมีนักกายภาพบำบัดช่วยตรวจดูการใช้งานข้อมือของผู้ป่วย พร้อมทั้งให้คำแนะนำถึงวิธีการใช้งานข้อมืออย่างเหมาะสมโดยไม่ให้ข้อมือทำงานหนักจนเกินไป อย่างไรก็ดี การระมัดระวังในการใช้งานข้อมือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะตอนที่บาดเจ็บแล้วหรือยังไม่บาดเจ็บ เราก็ควรให้ความสำคัญให้มาก เนื่องจากหากอาการมีความรุนแรงและผู้บาดเจ็บปล่อยให้เรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง ดังนั้น การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า หรือถ้าหากยังไม่มั่นใจว่าควรดูแลตัวเองอย่างไร ควรปรับท่าทางการเล่นกีฬาหรือการทำกิจกรรมอย่างไร ก็สามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อความมั่นใจได้มากขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน