อัมพาตบนใบหน้า โรคฮิตในคนอายุน้อยที่ต้องระวัง
อัมพาตบนใบหน้า อาการที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้ยากแต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นยากอย่างที่คิดและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว ทั้งนี้อาการดังกล่าวก็เป็นสัญญาณบอกอะไรได้หลายอย่างมาก ๆ เนื่องจากหลายโรคร้ายแรงก็มีอาการเช่นนี้ที่แสดงให้เห็นได้ชัด แต่หากจะกล่าวกันตามจริงอาการ หน้าเบี้ยว มือชา หรือลิ้นแข็ง จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยทันที โดยมักจะมีอาการเตือนมาก่อน เช่น การปวดหลังหู ปิดตาไม่สนิทและแสบตา ทั้งนี้โรคนี้เกิดขึ้นกับใครก็ได้ พบได้บ่อยในคนทุกวัยทุกเพศ ทุกอาชีพและทุกเชื้อชาติ โอกาสในการเกิดโรคนี้สูงถึง 1 ใน 500 คนเลยทีเดียว
“อัมพาตบนใบหน้า” หนึ่งอาการยอดฮิตที่ก็เกิดขึ้นได้แม้ยังอายุน้อย
สำหรับ โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก นั้น ถือว่าเป็นภาวะอาการที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลาย ๆ คนที่มีชื่อเสียงมีภาวะอาการนี้หลายคนด้วยกัน ซึ่งลักษณะอาการจะมีความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า 1 ข้าง ทำให้ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยวและหลับตาได้ไม่สนิท เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทที่ไปควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า สาเหตุของโรคนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยผู้ป่วยเบาหวานและหญิงตั้งครรภ์พบมีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สูงขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการดีขึ้นและหายสนิท แต่ผู้ป่วยบางรายยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่ไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว
ภาวะใบหน้าอัมพาต คือ…
โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่มาเลี้ยงบริเวณใบหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะเป็นตามหลังการติดเชื้อไวรัส (มักเป็นไวรัสกลุ่มเริมและงูสวัด) ส่วนน้อยเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี โรคปลอกหุ้มปลายประสาทอักเสบ หรือ Multiple sclerosis ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เป็นโรค Bell’s palsy คือ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำและเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ระดับอาการของภาวะอัมพาตที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะบนใบหน้า
จากที่กล่าวไปว่า โรคอัมพาตใบหน้า (Facial palsy) เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต โดยผลที่ตามมานั้นทำให้การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าและการแสดงออกทางสีหน้า เช่น การหลับตา การยิ้ม การเคลื่อนไหวของหน้าผาก และการพูดสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ หรือผู้ป่วยไม่สามารถแสดงออกทางสีหน้าได้
ระดับความรุนแรงของโรคอัมพาตใบหน้า
ถูกแบ่งออกเป็น 6 ระดับตามความรุนแรง ดังนี้
ระดับ 1: ปกติ (ใบหน้าสามารถขยับได้ทุกส่วน ลักษณะริมฝีปากปกติ)
ระดับ 2: สูญเสียการทำงานเล็กน้อย (ใบหน้ามีอาการอ่อนแรงเล็กน้อย และมีมุมปากไม่เท่ากันเล็กน้อย)
ระดับ 3: สูญเสียการทำงานระดับปานกลาง (ใบหน้าเบี้ยวชัดเจน แต่ไม่รุนแรง สามารถหลับตาให้สนิทได้แต่ต้องใช้ความพยายาม และมีมุมปากอ่อนแรงเล็กน้อย)
ระดับ 4: สูญเสียการทำงานค่อนข้างมาก (ใบหน้าอ่อนแรงอย่างชัดเจน ไม่สามารถปิดตาให้สนิทได้ และมีมุมปากตกอ่อนแรงอย่างชัดเจน)
ระดับ 5: สูญเสียการทำงานขั้นรุนแรง (ใบหน้าเบี้ยวเห็นชัดเจน และมีมุมปากเบี้ยว ยกไม่ขึ้น)
ระดับ 6: อัมพาตใบหน้า (ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อใบหน้าได้ และมีมุมปากเบี้ยวชัดเจน)
ซึ่งผู้ประสบภาวะนี้ควรรีบเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ความรุนแรงระดับแรก ๆ เพื่อการรักษาที่ง่ายขึ้นและหายได้ไวขึ้นด้วย
แนวทางการรักษา
การรักษามีเป้าหมายเพื่อลดการอักเสบ บรรเทาอาการ และเสริมการฟื้นตัวของเส้นประสาท ได้แก่
- การรักษาด้วยยา steroid เพื่อลดการอักเสบและบวมของเส้นประสาทใบหน้า และอาจให้ยาต้านไวรัสในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัส
- การดูแลดวงตา เนื่องจากอาการอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกอาจส่งผลต่อความสามารถในการปิดตาได้เต็มที่ จึงแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อป้องกันตาแห้งและปกป้องดวงตาจากการบาดเจ็บ
- กายภาพบำบัด การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณใบหน้าด้วยไฟฟ้า (Facial Nerve Stimulation) สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยในการฟื้นตัวของการเคลื่อนไหวใบหน้า ภายหลังจากที่มีอาการ 2 สัปดาห์
โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก เป็นภาวะชั่วคราวที่ส่งผลต่อเส้นประสาทใบหน้า นำไปสู่การอ่อนแรงของใบหน้าหรือเป็นอัมพาตที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า แม้ว่าสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่แน่นอน แต่การได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จากแพทย์ที่เชี่ยวชาญโดยตรง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคได้มากขึ้น
วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด
สำหรับการรักษาภาวะอัมพาตครึ่งหน้าด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดสามารถแบ่งออก
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า
ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณใบหน้า ลดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อใบหน้า และช่วยให้กล้ามเนื้อใบหน้าผ่อนคลาย โดยเป็นวิธีที่่ได้ผลดี สามารถทำได้จนกว่าอาการจะดีขึ้น ทำได้ง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ หลังจากได้รับการทำกายภาพบำบัด และอัตราการการฟื้นตัวอยู่ที่ร้อยละ 61 – 94
การวางแผ่นประคบร้อน
ช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยจะวางบริเวณใบหน้าด้านที่่มีอาการประมาณ 15 – 20 นาที
การนวดกล้ามเนื้อใบหน้า
ช่วยในการลดความตึงตังของใบหน้า เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการตึงตัวมากกว่าปกติ โดยใช้เวลาการนวด ทั้งใบหน้าประมาณ 10 นาที แบ่งนวดแต่ละส่วนเริ่มจากบนลงล่าง ตั้งแต่หน้าผาก เปลือกตา จมูก แก้ม เหนือริมฝีปาก ริมฝีปาก และคาง โดยจะนวดใบหน้าทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม โดยใช้นิ้ว 3 นิ้ว ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลางของใบหน้า แล้ววนออกมาทางด้านข้าง
การกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยไฟฟ้า
ช่วยชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อระหว่างรอการฟื้นตัวของเส้นประสาท โดยจะกระตุ้นให้เห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเล็กน้อย (minimal contraction) และควรกระตุ้นไฟฟ้า 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีข้อห้ามและข้อควรระวังในการทำ คือ ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของผิวหน้ามาก มีแผลเปิด การรับรู้ความรู้สึกลดลง และการมีการติดเชื้อที่แพร่ได้โดยการสัมผัส
“กายภาพบำบัด” และ “ฝึกพูดใหม่” สามารถช่วยได้
โดยเริ่มจากการทำกายภาพบำบัดด้วยท่าบริหารลิ้นและริมฝีปากอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะสามารถช่วยฟื้นฟูให้สมรรถภาพของการใช้งานลิ้นและปากได้ดีขึ้น
ตัวอย่าง ท่าบริหารลิ้น
1. แลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุด แล้วตวัดลิ้นกลับเข้าไปโดยเร็ว 2. แลบลิ้นออกมาเล็กน้อย แล้วตวัดลิ้นไปมา ซ้าย –ขวา 3. แลบลิ้นแตะที่ริมฝีปากบน แล้วตวัดลงมาแตะที่ริมฝีปากล่าง 4. กวาดลิ้นไปมาภายในปากแตะอวัยวะต่างๆ ภายในช่องปาก เช่น แตะปลายลิ้นที่ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง เพดานอ่อนและโคนฟันบนและโคนฟันล่าง 5. ทำลิ้นให้แบนราบและห่อลิ้นสลับกันไป
ตัวอย่าง ท่าบริหารริมฝีปาก
1. ทำท่ายิ้ม
2. ทำปากจู๋
3. เคลื่อนไหวริมฝีปากไปซ้าย- ขวา
4. ฝึกออกเสียง อา-อี-อู
5. การอ้าปาก- ปิดปาก สลับกัน
ฝึกพูดใหม่ ด้วยการบำบัดการพูด
หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากต้นตอของสาเหตุแล้ว หลังจากนั้นควรได้รับการบำบัดการพูด และการสื่อภาษาโดยทันที ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพัฒนาทางการพูดและภาษาได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการบำบัด หรือเริ่มการฝึกบำบัดช้า และการฝึกบำบัดควรจะต้องฝึกภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญในด้านการแก้ไขการพูด เพื่อให้มีทักษะทางภาษาที่ถูกต้อง โดยประเมินตามความบกพร่องของผู้ป่วยในแต่ละรายนั่นเอง
อย่างไรก็ดี เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว การดูแลและป้องกันตนเองจากโรคเส้นเลือดสมองตีบย่อมดีกว่าการเข้ารับการรักษาเมื่อเป็นผู้ป่วยโรคนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นทุกคนจึงควรหมั่นสังเกตตนเอง ร่วมด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ หรือหากไม่แน่ใจว่าควรเริ่มต้นอย่างไรก็สามารถปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบัด ที่แนะนำแนวทางที่ถูกต้องได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการป้องกันที่แท้จริง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน