ปวดหลังเวลานอนหงาย ปรับท่านอนยังไงให้นอนสบายขึ้น?
“ปวดหลังเวลานอนหงาย” อีกหนึ่งสาเหตุที่หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่าสามารถเกิดขึ้นได้ แม้ในความเป็นจริงแล้วอาการปวดหลังมักเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ในทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในกลุ่มคนวัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยสาเหตุอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 80 เลยทีเดียว) อุบัติเหตุ ภาวะโรคบางอย่าง และอิริยาบถของร่างกายในแต่ละวันที่ผู้ประสบปัญหาอาจเผลอทำผิดท่าและส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อในที่สุด หนึ่งในอิริยาบถที่มักนำสู่อาการปวดเมื่อยมากที่สุดก็ไม่พ้น “ท่านอน” ที่แม้ว่าจะเป็นท่านอนหงายที่น่าจะไม่ส่งผลอะไรเพราะเป็นท่าที่นอนสบายที่สุดแล้วก็ตาม แต่อาการปวดหลังก็ยังคงตามมาได้เช่นกันและหากปล่อยให้เป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้เป็นอาการปวดเรื้องรังได้
ปวดหลังเวลานอนหงาย รีบปรับถ้านอนหากไม่อยากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง
อาการปวดหลัง นั้นสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยทำงานที่เรียกได้ว่าเป็นอาการยอดฮิตเลยก็ว่าได้ เพราะปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งทำงานที่ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึงบริเวณหลัง คอ บ่า และไหล่ตามมาด้วยนั่นเอง
สาเหตุของอาการปวดหลัง เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง?
สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การอยู่ในท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน (เช่น อาการปวดหลังแบบออฟฟิศซินโดรมในคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ด้วยท่านั่งหลังงอ ห่อไหล่ และก้มคอนาน ๆ หรือ งานที่ต้องยกของหนักโดยใช้การก้มหลัง) การตึงอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณหลังและโครงสร้างโดยรอบ การบาดเจ็บบริเวณหลังจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา หรือพยาธิสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังเอง ทั้งปัญหาของหมอนรองกระดูก ปัญหาของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ผู้ที่ปวดหลังจึงจำเป็นต้องมีการทำกายภาพบำบัดในกรณีที่เกิดปัญหาเรื้อรังขึ้น
ไขข้อสงสัย “ทำไมนอนหงายแล้วปวดหลัง”?
สำหรับสาเหตุของอาการปวดหลังที่มาจากการนอนหงายนั้นถือว่าเป็นจุดบกพร่องของคนที่มีเนื้อก้นเยอะ เพราะว่า หากนอนหงายเมื่อไหร่ จะช่องว่างระหว่างก้นกับหลัง ตรงบริเวณเอวด้านหลังค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้การนอนของบุคคลลักษณะดังกล่าวนั้น กลายเป็นการเมื่อยหลังไปโดยปริยายนั่นเอง
3 ตัวอย่างท่านอนลดอาการปวดหลัง จากการนอนหงาย ปรับท่าแล้วนอนง่ายขึ้น
จริง ๆ แล้วท่านอนที่ผู้มีอาการปวดหลังจากการนอนหงายนั้นสามารถปรับได้หลายท่าและหลายอิริยาบถ แต่ทุกคนสามารถเริ่มตนด้วย 3 ท่านอนง่าย ๆ ดังนี้…
1.นอนตะแคง
แนะนำให้นอนตะแคง เพราะเป็นท่าที่กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะโค้งอย่างเหมาะสม และควรจะนอนตะแคงแบบงอเข่าเล็กน้อย พร้อมกับหนุนหมอนที่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้สะโพกอยู่ในระนาบเดียวกันกับกระดูกสันหลัง ไม่เกิดการคดงอที่ผิดไปจากปกติและทำให้นอนหลับสนิทมากขึ้น
2.ท่านอนตะแคงขวางอเข่า
ท่านอนตะแคงขวาเป็นท่านอนที่ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ โดยเฉพาะหากนอนงอเข่าข้างหนึ่งโดยมีหมอนข้างกอดไว้ หรือจะงอเข่าทั้งสองข้างจะทำให้ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้มากขึ้น
3.นอนตะแคงเอาแขนแนบลำตัว
ท่านอนนี้เป็นท่าที่ดีต่อกระดูกสันหลังมากที่สุด เพราะจะทำให้ร่างกายอยู่ในท่าทางที่เป็นธรรมชาติ ช่วยลดอาการปวดหลังและปวดคอได้ในคราวเดียวกัน รวมถึงช่วยลดปัญหานอนกรนด้วย แต่หากนอนทับแขนนานๆ อาจได้รับผลกระทบเป็นอาการปวดไหล่และแขนได้ ดังนั้นอาจเลี่ยงโดยการเปลี่ยนท่านอนเป็นพัก ๆ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติจากการปวดรุนแรงหรือไม่ เพราะถ้าหากมีก็ควรรีบพบแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเพราะอาจมีอาการปวดจนไม่อยากขยับร่างกาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดแผลกดทับและนำไปสู่โรคร้ายได้ในที่สุด
และนอกจากการเปลี่ยนท่านอนแล้ว ผู้มีอาการอาจรักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ เช่น การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด เพราะจะช่วยให้อาการปวดหายได้ไวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การรักษาอาการปวดหลังด้วยการทำ “กายภาพบำบัด”
เป้าหมายของการกายภาพบำบัดรักษาอาการปวดหลัง คือ เพื่อบรรเทาอาการปวด และให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติที่สุด โดยวิธีการรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การทำกายภาพบำบัด นั่นเอง โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นการรักษาที่ต้นเหตุของอาการ รวมถึงบรรเทาอาการเจ็บปวดให้เหลือน้อยที่สุด
การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหลัง มีวิธีใดบ้าง?
เป็นวิธีรักษาอาการปวดหลังที่มีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดมีหลายประเภท เช่น
- การใช้ความร้อน โดยการประคบร้อน
- อัลตราซาวด์
- การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
- กายภาพบำบัดด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังรวมไปถึงการปรับปรุงท่าทางการใช้งานหลังของผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน หลังจากอาการปวดดีขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรฝึกตามมา คือ การบริหารและกายภาพบำบัดด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นโดยการนวด ดัด ยืด และฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง สะโพก และหน้าท้อง ด้วยวิธีการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เพื่อช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
อย่างไรก็ตาม การทำกายภาพบำบัดรักษาปวดหลัง จะช่วยรักษาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี เมื่อนักกายภาพบำบัดตรวจร่างกายและหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้แล้ว ก็จะเริ่มต้นการรักษาโดยเน้นบรรเทาอาการเจ็บปวดที่หลัง คืนความสมดุลให้แก่ร่างกาย ฟื้นฟูสุขภาพบริเวณหลังให้ดีขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง