นวดศีรษะ ไมเกรน นวดยังไงให้ถูกวิธี บรรเทาอาการปวดได้จริง?
นวดศีรษะ ไมเกรน ถือเป็นแนวทางที่ผู้ประสบปัญหาหลาย ๆ คนกำลังสนใจอยู่ ซึ่งต้องบอกก่อนว่า “ไมเกรน” เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน เกิดขึ้นบ่อยกับคนวัยทำงาน หรือคนที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง นอกจากไมเกรนแล้ว มนุษย์ออฟฟิศยังชอบเวียนศีรษะ หน้ามืด ได้บ่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน หรือโดนลมเย็นจากแอร์มากระทบ ทำให้ คอ บ่า ไหล่ ปวดตึง แล้วมักจะมีอาการปวดหัว เวียนหัวตามมา บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะปวดศีรษะแบบไหน ปวดไมเกรน หรือปวดทั่วไป หมดกังวลไป เพราะในบทความนี้ Newton Em Clinic มีวิธีการนวดแก้ปวดหัวแบบ การนวดกดจุด ที่ช่วยบรรเทาอาการบำบัด อาการปวดหัว เวียนศีรษะมาฝากกัน
“นวดศีรษะ ไมเกรน” แชร์การนวดที่ถูกต้อง ใช้แล้วได้ผล บรรเทาอาการปวดได้จริง
ไมเกรน (Migraine) แท้จริงแล้วไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นโรคแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปกติ ในคนปกติหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีอยู่มากมายในสมองจะมีการบีบตัวและคลายตัวอยู่เป็นประจำ แต่ไม่มากจึงไม่ปวดหัว ในผู้ปวดไมเกรนจะไม่พบพยาธิใดๆ ในหลอดเลือดแดงของสมองจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอัมพาตหรือพิการแต่อย่างใด
สาเหตุของการปวดไมเกรน
เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัวตุ๊บๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน
- แสงไฟสว่าง แสงไฟกระพริบ หรือแสงแดดที่จ้า
- อากาศที่ร้อนเกินไป หรืออากาศที่ร้อนชื้น เช่น ช่วงเวลาก่อนฝนจะตก
- ออฟฟิศซินโดรม หรือ โรคพังผืดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือใช้มือถือ ก้มหน้านาน ๆ จนกล้ามเนื้อเกิดพังผืดขึ้น รวมถึงอาการกล้ามเนื้อบริเวณคอตึง ก็สามารถกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรน ปวดร้าวรอบกระบอกตา คลื่นไส้มึนหัวได้
- อาหารที่สามารถกระตุ้นไมเกรนได้ เช่น ชีส แอลกอฮอล์ ผงชูรส อาหารที่ผสมไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน น้ำตาลเทียม นอกจากนี้ ยังพบว่า คาเฟอีน ถือเป็นสารที่กระตุ้นอาการไมเกรนได้ ใครที่กินกาแฟอยู่แล้วมีอาการไมเกรน ควรลดปริมาณการกินกาแฟลง อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียง 20% เท่านั้น ที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
- ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการอดนอนจะกระตุ้นให้อาการปวดไมเกรนกำเริบไวขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรระวังไม่ให้ตนเองเครียดจนเกินไปรวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ
อาการของการปวดไมเกรน
2 ข้อที่มักถูกเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปวดไมเกรน
1. ปวดไมเกรนไม่จำเป็นต้องปวดข้างเดียวเสมอไป
แท้จริงแล้วมีความเป็นไปได้ที่ว่าการปวดศีรษะข้างเดียวนั้นคืออาการไมเกรน แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือหลายๆ คนเข้าใจผิดว่าอาการนี้ต้องปวดศีรษะของเดียวเท่านั้นจึงจะเรียกว่าปวดไมเกรนซึ่งแท้จริงแล้วภาวะเช่นนี้สามารถปวดหัวได้ทั้ง 2 ข้างหรือปวดสลับข้างก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีผู้ป่วยต้องสังเกตตนเองให้ดีเนื่องจากในบางครั้งการจะเป็นไมเกรนได้นั้นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้น หากไม่แน่ใจให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการให้แน่ใจจะดีที่สุด
2.ปวดไมเกรนไม่จำเป็นต้องมีอาการรุนแรง
ร่างกายและจิตใจของแต่ละคนสามารถทนรับกับความเจ็บปวดได้แตกต่างกัน นอกจากนี้อาการปวดหัวไมเกรนยังมีความรุนแรงหลายระดับ คนที่มีอาการนี้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องปวดหัวจนกระทั่งทนไม่ไหวเสมอไป แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ หรือมีระยะเวลายาวนาน หรือเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ก็ควรเข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ อาการที่สามารถสังเกตได้
- ปวดหัวตุ๊บๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
- ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
- บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว
ระยะของการปวดไมเกรน
สำหรับอาการปวดของไมเกรนนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้…
- ระยะแรก Prodrome อาการเตือน อาจมีอาการเตือนจากภาวะทางอารมณ์ เช่น การรู้สึกวิตกกังวล อารมณ์ดีหรือเศร้าผิดปกติ มีอาการปวดตึงคอ กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ระยะที่สอง Aura อาการนำ จะมีอาการหลายแบบ โดยจะมีอาการทางการมองเห็นถึง 90% เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ หรือสายตาพร่ามัว เป็นต้น กล้ามเนื้อจะรู้สึกอ่อนแรง รู้สึกชาที่มือหรือเท้า
- ระยะที่สาม Headache ปวดหัว อาการปวดหัวไมเกรนอาจปวดหัวข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และมีลักษณะอาการปวดแบบตุบ ตุบ และเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน
- ระยะที่สี่ Postdrome หลังปวดหัว ระยะสุดท้ายของไมเกรนซึ่งจะเกิดหลังจากเป็นไมเกรนแล้ว มักมีภาวะอารมณ์ผิดปกติ สับสนมึนงง อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสียร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงข้อควรรู้เบื้องต้นที่ผู้ประสบปัญหาควรทำความเข้าใจและศึกษาเพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมา แน่นอนว่าผู้ประสบปัญหาหลาย ๆ คนคงอยากทราบแนวทางในการบรรเทาอาการปวดว่าสามารถทำได้ด้วยวิธีไหนบ้าง “การนวด” จึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ที่สุด แต่ต้องนวดด้วยวิธีที่ถูกต้องด้วยจึงจะสามารถบรรเทาอาการได้จริง ซึ่งจะมีแนวทางในการนวดอย่างไร มาติดตามกันต่อไป
การนวดกดจุดเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวที่เกิดจากภาวะไมเกรน
สำหรับการนวดบริเวณศีรษะเพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรนนั้น สามารถลองทำได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
กระตุ้น Third Eye Point
แต่ละจุดที่ต้องกดก็จะมีชื่อแตกต่างกันไป เป็นชื่อที่เรียกกันมาแต่โบราณ กับอีกแบบคือชื่อสมัยใหม่ที่เพิ่งมี ซึ่งอย่างหลังจะเป็นตัวอักษรผสมกับตัวเลข อย่าง Third Eye Point ก็เรียกว่า GV 24.5 เป็นจุดที่กดแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและแน่นหน้า จุดนี้จะอยู่ที่หว่างคิ้ว เป็นจุดที่เชื่อมสันจมูกกับหน้าผากนั่นเอง
วิธีการกด:
- ค่อยๆ กดลงไปที่จุดนี้ให้ลึก แล้วค้างไว้ 1 นาที จะกดลงไปตรงๆ หรือนวดวนก็ได้ ลองดูว่าแบบไหนได้ผลสำหรับคุณที่สุด
กดจุด Drilling Bamboo
Drilling Bamboo บางทีก็เรียก Bright Lights Points หรือ B2 เป็นจุดที่กดแล้วแก้อาการปวดหัวที่อยู่ค่อนไปทางด้านหน้า จุดนี้จะอยู่ที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเปลือกตานิดหน่อย บริเวณกระดูกเบ้าตา
วิธีการกด:
- ให้ใช้ปลายนิ้วชี้ 2 ข้างกดทั้ง 2 จุดพร้อมกันเป็นเวลา 1 นาที
- หรือจะกระตุ้นทีละข้างก็ตามความชอบ แค่ทำให้ครบ 1 นาทีทั้ง 2 ข้างเท่านั้น
กดจุด Welcome Fragrance
Welcome Fragrance บางทีก็เรียก Welcome Perfume หรือ LI20 เป็นจุดที่กดแล้วช่วยแก้อาการปวดหัวไมเกรนและแน่นหน้าเพราะไซนัส จุดนี้จะอยู่ด้านนอกของรูจมูกทั้ง 2 ข้าง ใกล้กับด้านล่างของโหนกแก้ม
วิธีการกด:
- กดลงไปตรง ๆ ลึก ๆ หรือนวดวนก็แล้วแต่ ให้ครบ 1 นาที
อย่างไรก็ตาม แม้อาการปวดหัวเช่นนี้จะสามารถหายได้ แต่ก็ไม่สามารถหายขาด ยิ่งหากผู้ประสบปัญหามีภาวะทางร่างกายที่มีความ Sensitive กับอากาศร้อนอยู่แล้ว หากดูแลตนเองไม่ดีก็อาจจะกลับไปมีอาการอีกได้ ดังนั้น ทุกคนจึงควรคอยสังเกตุการณ์สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หากใครที่มักจะเป็นไมเกรนเมื่ออากาศร้อนแนะนำให้สังเกตุดูสภาพอากาศด้วยสมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นสภาพอากาศที่หาได้ง่ายในปัจจุบัน เมื่อคุณเห็นว่าอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้น คุณจะสามารถเตรียมตัวในการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ เครื่องเพิ่มความชื้น หรือเครื่องลดความชื้นเพื่อให้อุณหภูมิในบ้านหรือที่ทำงานของเราไม่ให้เปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาอุณภูมิของอากาศให้คงที่ได้มากที่สุด
การรักษาอาการ ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา จากไมเกรน ด้วยกายภาพบำบัด
เนื่องจากอาการปวดศีรษะ เกิดจากจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ (Muscle Trigger Point) ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสม คือ การลดความตึงตัว ลดการอักเสบหรือจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว ซึ่งทางกายภาพบำบัดมีวิธีลดอาการปวด ดังตัวอย่างเบื้องต้นนี้
1.การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ลดความตึงตัวและเกร็งของกล้ามเนื้อ ได้แก่ Ultrasound Therapy และ Laser Therapy)
2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การกดคลายด้วยมือ (Manual therapy) การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) การนวดคลาย (Massage) เป็นต้น
3. การบริหารและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening) ที่เป็นสาเหตุและจัดท่าทางของร่างกายให้ดี (Ergonomics) เพื่อผลลดอาการในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าอาการปวดเกิดจากสาเหตุใด หากเกิดอาการปวดอย่างมากในระยะแรก อาจไม่สามารถแยกแยะอาการด้วยตนเองได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกวิธี เพราะการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจเป็นที่มาของอาการเรื้อรังได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหัวข้างเดียว” เป็นอะไรแน่ รักษายังไงดี?
- ปวดหัวตุ้บๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- “ปวดหลังคอ”มีหลายแบบ-ปวดแบบไหนที่เสี่ยงอันตราย