เหน็บชาที่แขน มือ ตอนนอน สัญญาณทางระบบประสาทที่ไม่ควรละเลย
เหน็บชาที่แขน มือ นั้น แม้จะเป็นภาวะที่ดูเล็กน้อยและไม่อันตราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรครุนแรงบางโรคอยู่ก็เป็นได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวของกับระบบประสาทอย่างโรค “ปลายประสาทอักเสบ” ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ประสบปัญหาเป็นอย่างมากหากปล่อยไว้ไม่รักษา ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและรู้เท่าทันเกี่ยวกับอาการเหน็บชาที่กล่าวมานี้มากขึ้น ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำข้อมูลมาให้ทุกคนได้ศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
เหน็บชาที่แขน มือ อาการเล็ก ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนจากภาวะ “ปลายประสาทอักเสบ”
“เหน็บชา” ภาวะที่หลายๆ คนเป็นกันบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทับไว้นานๆ และไม่ได้ใช้เคลื่อนไหวไปในชั่วขณะหนึ่ง จึงทำให้เกิดอาการเหน็บขึ้นตามอวัยวะนั้นๆ ได้สักครู่อาการจึงหายไป อย่างไรก็ดีแม้ไม่ได้ดูจะเป็นตรายอะไรแต่ใช่ว่าการเกิดอาการเหน็บหรือชาบ่อยๆ จะเป็นสิ่งที่ดี กลับกันที่ว่าอาการเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่เรายังไม่รู้ตัว ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจอาการนี้เอาไว้ เพื่อรู้สาเหตุที่แท้จริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือชา แขนชา มีอะไรบ้าง?
แขนชา มือชาที่พบบ่อยพอจะแบ่งออกตามสาเหตุเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) กับ อาการชาที่มีสาเหตุจากโรคทางกายร่วมอื่นๆ
อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy)
เกิดจากเส้นประสาทหลักของมือถูกกดทับในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ทำให้บริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงนั้นเกิดอาการชาและปวด กลุ่มนี้สังเกตได้จากอาการชามือมักเป็นที่ด้านใดด้านหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดเบียดในตำแหน่งที่ชัดเจน
อาการชาที่มีสาเหตุจากโรคทางกายร่วม
นอกจากนี้ยังมีอาการชาที่เป็นสาเหตุจากโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ปลายประสาทอักเสบ หรือขาดวิตามินบีรุนแรง โดยในกลุ่มนี้มักมีอาการชาส่วนปลายทั้งมือและเท้า มีอาการชามือทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ซึ่งแนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม อาการมือชาไม่ใช่โรค แต่เรียกว่าเป็นกลุ่มอาการ เนื่องจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือมีอาการหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนมือชาน้อยแต่ปวดเยอะ บางคนปวดเยอะแต่ชาน้อย หรือบางคนมีอาการกล้ามเนื้อมือลีบลง ใช้งานได้ไม่ถนัด
ทำความรู้จัก “ปลายประสาทอักเสบ” ภาวะผิดปกติที่ควรระวัง
ปลายประสาทอักเสบ เป็นกลุ่มอาการของเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับคำสั่งจากสมองและไขสันหลัง ไปยังอวัยวะต่างๆ หากเส้นประสาทจุดใดจุดหนึ่งมีปัญหา อาจส่งผลให้อวัยวะส่วนนั้นทำงานผิดปกติ และเกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ไม่สามารถรับรู้ได้ถึงอาการเจ็บปวด แสบร้อน สั่นสะเทือน หรือไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้
แขนชา มือชา รักษายังไง แบ่งออกได้กี่วิธีบ้าง?
โดยปกติแล้ว การรักษานั้นจะขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค แนวทางการรักษาประกอบด้วยการรักษาโดยไม่ผ่าตัดและการรักษาโดย การผ่าตัด
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ๆ คือ…
- การรักษาโดยการใช้ยา ได้แก่ วิตามินบีเข้มข้น เพื่อบำรุงปลายประสาทยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่ยาประเภทสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบ นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ ฉีดเข้าบริเวณอุโมงค์ ข้อมูลเพื่อลดอาการอักเสบ
- การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพ ได้แก่ การทำอัลตราซาวด์ หรือแช่น้ำร้อน เป็นต้น
การรักษาโดยการผ่าตัด
หากมีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือมือลีบและอ่อนแรง หรือทำการรักษาโดยใช้ยาไม่ได้ผลอาจพิจารณารักษาโดยวิธีการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคนี้ไม่ใช่การผ่าตัดที่น่ากลัว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลซึ่งจะมีแผลผ่าตัดยาวประมาณ 1 นิ้ว บริเวณฝ่ามือส่วนต้น
3 ท่ายืดเหยียดที่ทำได้เองที่บ้าน แก้อาการเหน็บชาที่มือและแขน
เนื่องจากอาการเหน็บชานั้นมีหลายระดับอาการ สำหรับผู้ประสบปัญหาที่ภาวะอาการยังไม่รุนแรงมากก็สามารถทำกายบริหารเพื่อบรรเทาอาการก่อนได้ ประกอบด้วย 3 ท่าง่าย ๆ ดังนี้…
- นวดเบาๆ 3-5 นาที บริเวณเส้นประสาทข้อมือ และกล้ามเนื้อ เพื่อยืดคลาย
- ยืดเหยียด ผ่อนคลายข้อมือด้วยการดึงมือไปด้านบน และลงด้านล่าง ทำค้างไว้ราว 15-20 วินาที
- ออกกำลังกายยืดข้อมือ ด้วยการยกดัมเบลขนาดตามความเหมาะสมของแต่ละคน ยกขึ้นและลง เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อมือแข็งแรงขึ้น
ทั้งนี้การยืดเหยียดและออกกำลังกายข้อมือควรทำตามกำลังของแต่ละคน เพราะหากทำผิดท่า หรือหักโหมเกินไปอาจส่งผลเสียต่อข้อมือมากกว่าข้อดี แนะนำว่าควรปรึกษาทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และทีมนักกายภาพบำบัดร่วมด้วย
สรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับ “อาการเหน็บชาที่แขนและมือ”
นอกจากนี้ นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว ในเรื่องของการรับประทานอาหาร ควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเหน็บชาให้น้อยลงได้ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายในการดูดซึมวิตามิน บี 1 ซึ่งเป็นวิตามินที่ขาดไปร่างกายจะเกิดเหน็บและชานั่นเอง อย่างไรก็ดี การดูแลตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาการน้อยหรือมากเราทุกคนก็ควรใส่ใจและไม่ละเลยที่จะดูแลสุขภาพของตนให้ดี เพราะมิเช่นนั้นอาจจะสายเกินไปได้เพราะเมื่อรู้ตัวอีกทีก็อาจเกิดโรคร้ายแรงขึ้นแล้ว
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน