เจ็บนิ้วเท้า ไม่มีสาเหตุ สัญญาณของโรคเกาท์ที่คุณอาจไม่รู้ตัว
“เจ็บนิ้วเท้า ไม่มีสาเหตุ” เชื่อได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่แต่อย่างที่บอกว่าเป็นอาการที่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมาแบบไม่รู้สาเหตุ จึงทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่าควรทำอย่างไรหรือรักษาอย่างไรดีให้อาการนี้หายขาดได้ เพราะแม้จะเป็นแค่อาการปวดแต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ดังนั้น เพื่อให้ไขข้อสงสัยดังกล่าวของทุกคนให้หมดไป ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเกาท์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดนิ้วปวดข้อดังกล่าวที่เกิดขึ้นมาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้ลองศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
เจ็บนิ้วเท้า ไม่มีสาเหตุ สัญญาณของ “โรคเกาท์” ที่ต้องทำความเข้าใจ
เชื่อเหลือเกินว่า เมื่อพูดคำว่า โรคเกาท์ หลายคนคงเคยได้ยิน หรือ รู้จักกันมาบ้าง และบางคนอาจจะกำลังประสบปัญหาอาการปวด บวม แดงบริเวณข้อและกระดูกอย่างเฉียบพลันเป็นระยะ รวมไปถึงอาการที่ จู่ ๆ ก็เกิดอาการปวดตามนิ้วเท้าขึ้นมาเฉย ๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งนั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรคข้ออักเสบ หรือโรคเกาท์ เข้าแล้ว
โรคเกาท์ คือ…
“เกาท์” เป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่าง ๆ ทำให้มีอาการปวดแสบร้อน บวม แดงตามข้อต่ออย่างเฉียบพลันเป็นระยะๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อมกันได้
สาเหตุของโรคเกาท์ มาจากอะไร?
สำหรับสาเหตุของ โรคเกาท์ นั้น เป็นผลมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ซึ่งเป็นภาวะของร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อต่างๆ จนเกิดอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรงและอาการอื่น ๆ ของโรคตามมา
ปวดนิ้วเท้า ปวดตามข้อ แบบไม่มีเหตุผล สัญญาณโรคเกาท์ที่หลายคนคาดไม่ถึง
โดยปกติแล้วอาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า แต่ก็สามารถเกิดกับข้อต่อหลายส่วนตามร่างกายได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ หรือข้อมือ โดยจะปวดรุนแรงในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก จากนั้นจะเริ่มปวดน้อยลงและมีอาการดีขึ้นภายใน 7-10 วัน บางรายอาจมีอาการปวดได้นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น บวมแดง แสบร้อน เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวกได้อีกด้วย
อาการโรคเกาท์ ที่แสดงเบื้องต้น
จากที่ทราบกันไปแล้วว่าอาการปวดตามนิ้วเท้าเป็นอาการของโรคเกาท์ เรามาดูอาการอื่น ๆ กันบ้างว่ามีอะไรอีก
- ความรู้สึกติดขัดไม่สบายในข้อ หลังอาการปวดและอักเสบอย่างรุนแรงของข้อแล้ว ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกว่าข้อติดขัด ตึงแน่น ได้อีกนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์
และอาจกระทบหลายข้อในร่างกายไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อที่เคยมีการอักเสบมาก่อน - ข้อบวมแดงร้อน
- ข้อขยับได้น้อยลง
ซึ่งผู้เป็นโรคเกาท์อาจจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเกาท์จะมีอาการบวม แดง และปวดรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาจจะมีอาการปวดตามข้อมากกว่า 1 – 2 ข้อ
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเกาท์สามารถแบ่งออกได้ 2 กรณี ดังนี้…
1.การรักษาในระยะเฉียบพลัน
สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่อาการอยู่ในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ การประคบ และควรพักการใช้ข้อ โดยวิธีรักษาโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้ยารักษาอาการและบรรเทาอาการเจ็บปวด
2.การรักษาเพื่อป้องกันในระยะยาว
การรักษาโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาเพื่อลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลงมา โดยการรักษาเพื่อป้องกันการอักเสบซ้ำในระยะยาวผู้ป่วยโรคเกาท์จำเป็นต้องรับประทานยาโคลชิซินขนาด 0.6 – 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน (ตามดุลพินิจของแพทย์) จนกว่าจะตรวจไม่พบตุ่มโทฟัส และระดับกรดยูริกในเลือด
การรักษาโรคเกาท์ด้วยการทำ “กายภาพบำบัด”
สำหรับการรักษาโรคเกาท์ด้ายการทำกายภาพบำบัดนั้น ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อลดอาการอักเสบภายในข้อ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการ ดังนี้…
- การใช้ความร้อนตื้นและความร้อนลึก
- การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์
- การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง
- การคลายกล้ามเนื้อ และพังผืดด้วยมือของนักกายภาพบำบัด
อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาจากแพทย์และการทำกายภาพบำบัดแล้ว อีกสิ่งที่สามารถป้องกันการเกิดโรคเกาท์หรือคุมไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบขึ้นมาได้ดีอีกปัจจัยหนึ่งก็ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนการดูแลตัวเองของผู้ป่วยหากมีอาการปวดเฉียบพลันให้พักการใช้ข้อที่อับเสบ แล้วใช้วิธีประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน