เอ็นข้อมืออักเสบนวดได้ไหม นวดแล้วจะหายหรือเจ็บกว่าเดิมกันแน่?
เอ็นข้อมืออักเสบนวดได้ไหม? แม้การนวดจะเป็นหนทางที่หลาย ๆ คนเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ต้องบอกก่อนว่าหากนวดผิดวิธีก็อาจทำให้อาการหนักขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งคนที่ไปนวดแล้วดีขึ้นส่วนมากมักจะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวเดี๋ยวก็ต้องไปนวดซ้ำไปซ้ำมา อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการแค่ชั่วครั้งชั่วคราวแต่ก็ควรนวดด้วยวิธีหรือแนวทางที่ถูกต้องไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดรุนแรงกว่าเดิมนั่นเอง
เอ็นข้อมืออักเสบนวดได้ไหม ต้องนวดด้วยวิธีไหนไม่ให้อาการหนักกว่าเดิม?
เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis) เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกกิจกรรมที่ทำ ไม่เพียงแต่เกิดกับนักกีฬาเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากการที่เส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บที่ซ้ำๆ จนเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด กดเจ็บ บริเวณเส้นเอ็น โดยปกติอาการของเส้นเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากกว่า 3 วัน อาจเกิดภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้ โดยแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องซ่อมแซมเอ็นฉีกขาด (Arthroscopic Surgery) เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
เอ็นอักเสบ คืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
เอ็นนั้นเป็นส่วนประกอบหลักที่ใช้ขยับข้อมือและนิ้วมือ โดยเอ็นนี้ถูกใช้งานอย่างหนักในแต่ละวัน เช่น การพิมพ์งาน การเล่นโทรศัพท์มือถือ ก็ต่างเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้งานเส้นเอ็นบ่อยๆ ซ้ำๆ ทั้งสิ้น นั่นจึงทำให้มีความเสี่ยงขึ้นไปอีกในการที่เอ็นข้อมือจะเกิดอาการอักเสบได้นั่นเอง
สาเหตุของการอักเสบ
เอ็น (Tendons) มีโครงสร้างคล้ายเชือก มีหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกเข้าด้วยกัน โดยเอ็นสองเส้นหลักบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือถูกห่อหุ้มด้วยปลอกเยื่อหุ้มเอ็นที่มีลักษณะเป็นอุโมงค์เล็ก ๆ การใช้แรงข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาและบวมขึ้น ส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเมื่อเกิดการเสียดสีของปลอกเยื่อหุ้มเอ็นและเอ็น ขยับข้อมือทำได้จำกัด และเกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อมือ
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงกับอาการเอ็นข้อมืออักเสบ
สำหรับผู้ที่มีควา่มสุ่มเสี่ยงที่จะประสบปัญหานี้ ถูกจำแนกออกได้หลายกลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย…
- ผู้ที่มีอายุในช่วง 30-50 ปี จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเอ็นข้อมืออักเสบมากกว่าคนในช่วงอายุอื่น และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ผู้ที่มีอาชีพกับการทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เช่น นักจัดสวน นักกีฬากอล์ฟ เทนนิสหรือแบดมินตัน ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เป็นต้น
- หญิงผู้มีภาวะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด เนื่องจากหญิงหลังคลอดต้องรับมือกับการเลี้ยงดูบุตร จึงทำให้ต้องอุ้มเด็กเป็นเวลานานๆ และส่งผลให้เกิดอาการเส้นเอ็นข้อมืออักเสบได้
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับข้อต่าง ๆ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อข้อมีพื้นฐานที่ไม่แข็งแรง จึงส่งผลไปถึงส่วนอื่นๆ ของข้อมือ รวมไปถึงเส้นเอ็นนั่นเอง
3 อันดับเส้นเอ็นอักเสบบริเวณข้อมือ ที่มักพบบ่อย
เส้นเอ็นที่มักเกิดการอักเสบที่พบได้บ่อยนั้น ประกอบด้วย…
1.เอ็นหัวแม่มือ
เอ็นหัวแม่มือนี้จะทอดผ่านตัวข้อมือและถูกใช้งานมากที่สุด เป็นปริมาณร้อยละ 50 ถึง 60 ของมือข้างนั้นๆ และต้องยอมรับว่าสมาร์ทโฟนนั้น ถูกดีไซน์มาให้ใช้กับหัวแม่มือเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดอาการเอ็นหัวแม่มืออักเสบได้บ่อยที่สุด โดยการอักเสบจะเป็นบริเวณโคนหัวแม่มือหรือเป็นบริเวณข้อมือก็ได้
2.เอ็นหลังข้อมือ
เกิดจากการที่กระดกข้อมือไปทางด้านหลังเป็นระยะเวลานานโดยมักจะพบกับมือขวา หรือมือข้างที่ถนัด ที่ต้องกระดกเพื่อใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตนั่นเอง
3.เอ็นหน้าข้อมือ
ซึ่งเป็นเอ็นที่ใช้สำหรับการงอข้อมือหรือนิ้วมือ การอักเสบนี้ มักจะพบที่บริเวณมือซ้าย หรือมือข้างที่ไม่ถนัด เนื่องจากว่าต้องถือโทรศัพท์ในท่าเกร็งข้อมือและงอนิ้วมือเป็นระยะเวลานาน
เอ็นข้อมืออักเสบ อาการเป็นอย่างไร
นอกจากปลอกหุ้มเอ็นข้อมือและเอ็นข้อมือ ยังมีกระดูกที่อยู่ลึกลงไป หากมีการบาดเจ็บของกระดูกอาจส่งผลให้เจ็บปวดบริเวณข้อมือได้เช่นกัน แต่มีอาการแสดงที่แตกต่างออกไป เช่น กระดูกข้อมือหักหรือร้าว ข้อโคนนิ้วโป้งเสื่อม เป็นต้น
สำหรับอาการเอ็นข้อมืออักเสบ จะมีอาการดังนี้
- อาการเจ็บข้อมือ ขณะมีการเคลื่อนไหวในแนวเส้นเอ็น กรณีมีการอักเสบมากอาจมีภาวะข้อมือบวม แดง
- ปวดบริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้งที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว ปวด บวมมากกว่ามืออีกข้าง และจำกัดการเคลื่อนไหว เช่น เมื่อขยับข้อมือ นอนสะดุ้งตื่นเพราะข้อมือบิดหมุนช่วงหลับโดยไม่รู้ตัว และอาจมีอาการบวมแดงร่วมด้วย
กรณีพบอาการปวดที่รบกวนการทำงานในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ตามปกติ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
เอ็นข้อมือเกิดการอักเสบ นวดแบบไหนถึงจะหาย?
การรักษาด้วยการนวดกดจุดนี้ จะเน้นไปที่การบรรเทาตรงจุด Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้อมือ และฝ่ามือเกิดอาการ ปวด บวม อักเสบ แสบร้อน ชา อ่อนแรง โดยสาเหตุของอาการปวดข้อมือนั้น มักเกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ เมื่อมีการบาดเจ็บ ร่างกายก็จะเริ่มสร้างพังผืดไปเกาะยึดตามจุดที่มีการบาดเจ็บ และเมื่อพังผืดมีจำนวนมากระดับหนึ่ง จะเริ่มไปบีบรัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อกระดูก ทำให้เกิดการปวด ตึง ยึดล็อกของข้อต่อบริเวณข้อมือ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อมือลดลง หรือทำให้เกิดอาการปวดเมื่อขยับข้อมือในอิริยาบถต่าง ๆ
ทั้งนี้ การนวดสลายพังผืดนั้น จะไม่เหมือนกับการนวดแผนไทย ซึ่งเน้นการนวดผ่อนคลายในกล้ามเนื้อบริเวณชั้นบน แต่การนวดกดจุด จะเน้นนวดจุดกดเจ็บในมัดกล้ามเนื้อชั้นลึก รวมถึงเส้นเอ็น และเส้นประสาท โดยจะนวดไล่ตลอดทั้งแนวที่มีพังผืดเกาะยึด จึงถือ ถือเป็นวิธีรักษาแก้อาการปวดข้อมือได้อย่างตรงจุด ผู้ป่วยจึงมีอาการที่ดีขึ้นอย่างแท้จริงและถาวรนั่นเอง
สรุป
ท้ายที่สุด อาการเอ็นข้อมืออักเสบ หรือ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ แม้จะรักษาหายแล้วก็อาจกลับเป็นซ้ำได้อีก หากยังมีพฤติกรรมการใช้ข้อมือหนักซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วควรทบทวนหาสาเหตุของอาการปวดข้อมือ เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว และแม้ภาวะเอ็นข้อมืออักเสบ ไม่สามารถลุกลามไปเป็นโรคอื่นๆ ได้ แต่ภาวะเจ็บปวดบริเวณข้อมือขณะเคลื่อนไหวอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือบางกรณีอาจสร้างปัญหากับการนอนและการทำงาน ดังนั้นหากพบอาการปวดข้อมือ อย่านิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน