ปวดขา กินยาพาราได้ไหม หากกินแล้วไม่หาย จะเป็นอันตรายรึเปล่า?
ปวดขา กินยาพาราได้ไหม ? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยว่าเจ้ายาสามัญประจำบ้านที่เราคุ้นเคยกันอยู่นี้สามารถรักษาอาการปวดเฉพาะจุดแบบนี้ได้หรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าจุดโดดเด่นของยาพาราคือสามารถบรรเทาอาการปวดและลดไข้ได้เป็นอย่างดี นั่นจึงทำให้กลายเป็นข้อสงสัยขึ้นมาอีกว่า หากเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น อาการปวดขาหรือกล้ามเนื้อขา นี้ ยาพาราสามารถรักษาได้หรือไม่ เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว Newton Em Clinic มีคำตอบมาฝาก
ปวดขา กินยาพาราได้ไหม ยาสามัญประจำบ้านตัวนี้แก้ได้ทุกอาการปวดจริงหรือเปล่า?
ปวดขา (Leg Pain) คืออาการปวดบริเวณขาที่เกิดขึ้นบางจุดหรือทั่วทั้งขา โดยอาจมีอาการชา ปวดแปลบ หรือปวดร้าวร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคบางชนิด การบาดเจ็บ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้ขามากเกินไป เช่น การเดินนาน ๆ หรือการออกกำลังกาย การวินิจฉัยจากแพทย์จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดขา เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้อง
มาดูกัน “ปวดขา” เกิดจากอะไรได้บ้าง?
การบาดเจ็บ การใช้ขามากเกินไป กระดูกหัก กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาด คือสาเหตุหลักของอาการปวดขา แต่เนื่องจากขามีโครงสร้างและเนื้อเยื่อจำนวนมาก อาการปวดขาจึงอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นเช่นกัน ซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังต่อไปนี้
- ปวดกล้ามเนื้อ มักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การเดินหรือยืนนาน ๆ การออกกำลังกายอย่างหนักหรือปวดกล้ามเนื้อจากการติดเชื้อในร่างกาย เป็นต้น
- ปวดข้อ อาจเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือโรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบ และโรคเก๊าท์
- เอ็นอักเสบ คือการอักเสบของเส้นเอ็น ซึ่งกระทบข้อต่อบริเวณใกล้เคียง โดยมักเกิดขึ้นที่เอ็นร้อยหวาย หรือกระดูกส้นเท้า
- การห้อเลือด การบาดเจ็บอาจทำให้มีเลือดออกภายในเนื้อเยื่อและข้อต่อ จึงทำให้เกิดอาการบวมและเจ็บปวดได้
- ตะคริว ตะคริวมีลักษณะเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนังและอาจมีอาการบวมแดงร่วมด้วย มักเกิดขึ้นเองโดยเฉียบพลัน โดยมีสาเหตุจากการขาดน้ำในร่างกาย กล้ามเนื้อตึงหรืออ่อนแรงจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเวลานานหรือหนักเกินไป
ซึ่งนี้เป็นสาเหตุของอาการปวดขาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หากมีอาการปวดแบบรุนแรงหรือเรื้อรังควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงอย่างละเอียดต่อไป
อาการปวดขา มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร?
ปวดขามักมีลักษณะอาการและบริเวณที่ต่างกันไป โดยอาจรู้สึกปวดเสียด หรือปวดแสบบริเวณต้นขา หน้าแข้ง หรือน่อง การปวดขาอาจเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ หรือต่อเนื่อง และอาจดีขึ้นได้เองขณะพัก หรืออาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น เหน็บชา ตะคริว ปวดร้าว หรือปวดตุบ ๆ เป็นต้น
หรืออาจแบ่งได้ตามลักษณะอาการต่าง ๆ ดังนี้…
- ปวดขามากขึ้นเรื่อย ๆ
- ปวดขาขณะทำหรือหลังทำกิจกรรม เช่น การเดิน
- ปวดต้นขาขณะนั่งเป็นเวลานาน
โดยอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นเพียงลักษณะอาการเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งในบางรายอาจรับประทานยาพาราแล้วหาย แต่ถ้าจะให้ตอบโจทย์ที่สุด ควรเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อโดยตรงจะดีที่สุดเพราะจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
ไขข้อสงสัย “ยาพารา” ช่วยแก้อาการปวดขาได้จริงหรือไม่?
เป็นที่รู้จักกันดีกับ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะเซตามีโนเฟน จัดเป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ชนิดหนึ่งที่ได้ผลดีช่วยในการบรรเทาอาการปวดได้หลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดน้อยถึงปวดปานกลางเท่านั้น ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง
ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปว่า แม้พาราเซตามอลจะมีฤทธิ์บรรเทาปวดได้หลายอย่างจนเหมือนจะรักษาปวดได้ครอบจักรวาล แต่ก็มีอาการปวดบางชนิดที่พาราเซตามอลไม่มีผลรักษาหรืออาจไม่ใช่ยาที่เหมาะสม เช่น อาการปวดขั้นรุนแรง ดังนั้น เมื่ออาการปวดขาส่งผลรุนแรงจนเกิดอาการ เดินไม่ได้, เจ็บหรือปวดต้นขามาก ประกอบกับอาการบวมแดง, มีเสียงเปราะดังขึ้นที่ขาขณะเกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
แนวทางการรักษาอาการ “ปวดกล้ามเนื้อขา” ด้วยกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้อขาอักเสบ สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้…
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนลึดออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm. ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก ลดอาการบวม และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น โดยการประคบนั้นช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง ช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้ดีอีกด้วย ซึ่งก็จะมีการใช้แตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม อาการปวดขา สามารถบรรเทาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีภาวะอาการควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่เหมาะกับระดับอาการของตนเองและถูกจุดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่คาดหวังด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- “โรครองช้ำ” คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน?
- “เทปบำบัด” หนึ่งเทคนิคลดอาการปวดที่นักกีฬาควรรู้