3 วิธีแก้ปวดหลังเท้า บรรเทาอาการ แก้ไขปัญหาไม่ให้กลับมาปวดซ้ำ
วิธีแก้ปวดหลังเท้า มีอะไรบ้าง อยากรักษาให้หายขาดควรเลือกวิธีไหน? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่ผู้ประสบปัญหากำลังหาคำตอบอย่างแน่นอน เพราะอาการนี้ แม้จะมีลักษณะที่แสดงแค่ความเจ็บปวด แต่ก็ไม่ควรปล่อยละเลยไว้นานจนเกิดการเรื้อรัง ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการปวดหลังเท้านั้น สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่เราอาจไม่ทันระวังตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกกิจกรรมที่ทำ ไม่เพียงแต่เกิดกับนักกีฬาเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากการที่เส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บที่ซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบและมีอาการปวดในที่สุด ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ประสบปัญหาต้องการรักษาให้หายขาด
วิธีแก้ปวดหลังเท้า บรรเทาอาการ ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำที่ทุกคนควรรู้
อาการปวดหลังเท้า นั้น อาจสัญญาณเอ็นเท้าอักเสบที่หลายคนไม่รู้ตัว ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการบาดเจ็บของเท้าสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบโดยหนึ่งในนั้นก็คืออาการปวดหน้าเท้า ซึ่งมักมีสาเหตุจากการลงน้ำหนักบนฝ่าเท้าด้านหน้า จากกิจกรรมต่างๆที่มากไป เช่น เดิน วิ่ง กระโดด โดยเฉพาะร่วมกับการใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น และเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ประสบปัญหาได้อ่านและศึกษา ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะความเจ็บปวดนี้มาฝาก จะเป็นอย่างไร มาติดตามพร้อม ๆ กัน
ทำความรู้จักอาการปวดหลังเท้าจาก “เส้นเอ็นอักเสบ”
อาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณหน้าเท้าอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีอาการปวดบริเวณหน้าเท้าหรือจมูกเท้า พบได้บ่อยบริเวณระหว่างนิ้วเท้าที่ 3 กับนิ้วเท้าที่ 4 บางคนบอกว่า รู้สึกเหมือนเดินบนก้อนกรวดเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือเดินบนพื้นหินเย็น ๆ
สาเหตุของเส้นประสาทเท้าอักเสบ มีอะไรบ้าง?
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ มีแต่ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นได้ โดยแบ่งได้ดังนี้
- อุบัติเหตุที่ทำให้มีการกระแทกบริเวณหน้าเท้าอย่างแรง
- ใช้งานหน้าเท้าอย่างหนัก เช่น วิ่ง กระโดด เล่นกีฬาที่ต้องมีการดัน ปะทะ กระแทก อย่างหนัก และนาน
- มีความเสื่อมของเยื่อบุข้อ เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อ หรือกระดูกหักและติดผิดรูป ทำให้ช่องเส้นประสาทแคบลง และมีการเคืองเส้นประสาทได้ง่าย
- มีการอักเสบบริเวณหน้าเท้าเรื้อรัง
- รองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เป็นโรคเส้นประสาทหน้าเท้าอักเสบได้ เช่น รองเท้าที่คับเกินไป, รองเท้าที่หน้าเท้าแคบ และรองเท้าส้นสูงทำให้ต้องจิกเท้าเดิน เป็นต้น
ซึ่งสาเหตุดังที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น สำหรับผู้ประสบปัญหาท่านใดที่ต้องการทราบสาเหตุอย่างละเอียด ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการพบแพทย์ต่อไป
ลักษณะอาการ
อาการเส้นประสาทหน้าเท้าอักเสบนั้นสามารถแสดงออกได้หลากหลายอาการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น…
- อาการปวดจะมีลักษณะ ร้อน ๆ, เหมือนถูกเข็มแทง, ไฟช็อต, จี๊ด ๆ เป็นต้น
- อาจมีอาการปวดร้าวมาที่นิ้วเท้า, หลังเท้า, หรือฝ่าเท้าก็ได้
- อาจมีอาการชาที่หน้าเท้า หรือชานิ้วเท้าร่วมด้วย
- ใช้งานเท้าหนักๆจะทำให้มีอาการมาก เช่น เดิน วิ่ง ยืนนาน ๆ
- ใส่รองเท้าคับ ๆ รองเท้าหน้าแคบ รองเท้าส้นสูง จะทำให้มีอาการกำเริบขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจไม่แสดงในทุกคน เพราะแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ สำหรับใครที่มีอาการดังกล่าวปรากฏและสงสัยว่าตนเองกำลังมีภาวะเส้นเอ็นหลังเท้าอักเสบ ก็ควรรีบเข้าปรึกษากับแพทย์เพื่อหาทางรักษาโดยเร็วที่สุด
3 วิธีแก้ปัญหาอาการปวดหลังเท้าจากการอักเสบของเส้นเอ็น มีอะไรบ้าง มาดูกัน!
สำหรับการรักษาอาการปวดหลังเท้าที่มีประสิทธิภาพให้เห็นผลจริง สามารถแบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้…
1.การผ่าตัด (Tendon transfer)
การผ่าตัดแบบส่องกล้องเท้าและข้อเท้า สามารถทำการเชื่อมกระดูกได้โดยการผ่าตัดแบบแผลเล็กได้ในหลายจุดของกระดูก ไม่จำเป็นต้องเปิดแผล การส่องกล้องจึงเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ต้องเปิดแผลกว้าง ลดอาการบาดเจ็บของร่างกายในบริเวณใกล้เคียง และระยะเวลาการพักฟื้นก็น้อยลงกว่าการผ่าตัดแบบสมัยก่อน
2.กายภาพบำบัด (Physicle therapy)
เป็นวิธีบำบัดรักษาด้วยใช้การออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ หรือใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อลดอาการปวด เช่น อัลตราซาวด์ (Ultrasound), การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical stimulation) และประคบร้อน (Heat therapy) เป็นต้น
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Activity modification)
นอกจาก การผ่าตัดและการทำกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการให้คุณแล้ว ยังช่วยคุณวางแผนป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วย โดยแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้หัวไหล่ไม่ทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ทำให้อาการปวดกลับมาเป็นซ้ำอีก
อย่างไรก็ดี นี่เป็น 3 วิธีการรักษาภาวะปวดหลังเท้าจากเอ็นอักเสบที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาการอักเสบเรื้อรังของเอ็นกล้ามเนื้อก็จริง แต่หากมีอาการเจ็บหนักเกินกว่าวิธีการทำกายภาพบำบัดจะควบคุมได้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเช็กอาการให้ละเอียด จะดีที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน