เหมือน เป็น เหน็บ ที่หัว อันตรายไหม ต้องรักษายังไงจึงจะหายขาด
เหมือน เป็น เหน็บ ที่หัว เชื่อว่าเป็นภาวะอาการที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่และอาจมีความกังวลใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับ “ศีรษะ” หนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายของเรา ดังนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยอาจกำลังกังวลอยู่ อาจจะเป็นเรื่องที่ว่าระบบประสาทและสมองกำลังมีปัญหาอะไรหรือไม่ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าแม้อาการเหน็บชาเช่นนี้ จะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ บริเวณของร่างกายและเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ควรปล่อยปละละเลยเด็ดขาดเพราะอาจเป็นสัญญาณโรคอันตรายบางอย่างได้นั่นเอง
เหมือน เป็น เหน็บ ที่หัว เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณโรคร้ายหรือไม่?
หากพูดถึงอาการเหน็บชา แน่นอนว่าหลาย ๆ คนต้องนึกถึงอาการของมันออก เพราะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ง่าย ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า “ภาวะเหน็บชา” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน สามารถเป็นและหายได้ ไม่มีอันตราย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าทฤษฎีนี้จะสามารถใช้ได้ตลอด เพราะการเกิดอาการเหน็บไม่ว่าจะบริเวณใดก็ตาม สาเหตุหลัก ๆ นั้นก็มาจากความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งในกรณีนี้เป็นอาการเหน็บที่เกิดกับศีรษะ ซึ่งก็อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาทโดยตรงก็เป็นได้
เป็นเหน็บที่ศีรษะ เกิดจากอะไร?
อาการปวดที่ศีรษะ มีอาการเหน็บชา หรือ มีเรื่องของอาการปวดบริเวณหูสองข้าง หลังตื่นนอนอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ
- หมอนมีส่วนเกี่ยวข้อง หมอนที่สูงเกินไป แข็งเกินไปอาจจะมีเรื่องการกดเส้นประสาทและทำให้มีเรื่องของกล้ามเนื้อต้นคออักเสบ
- กิจกรรมที่อาจจะมีผล เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป
- การนั่งที่ผิดท่า ไม่มีการลุกขึ้นไปยืดกล้ามเนื้อทำให้มีปัญหาเรื่องกล้ามสะบักอักเสบและอาจจะมีผลต่อกล้ามเนื้อต้นคอได้
- มีเรื่องเส้นประสาทอักเสบบริเวณคอ
- มีเรื่องการติดเชื้อในเส้นประสาทส่วนปลายหรือปลายประสาทอักเสบ
ซึ่งผู้อ่านจะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหน็บที่ศีรษะนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนั้น จึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงให้พบเพื่อรักษาอย่างตรงจุด
“ปลายประสาทอักเสบ” โรคทางระบบประสาทที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเหน็บชา
อาการปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหายหรือเกิดโรคบางชนิด จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้
ลักษณะอาการ
- มีอาการชาร้อนวูบ ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีอาการอ่อนแรง
- มีอาการแสบร้อนบริเวณผิวหนัง
- มีอาการแปล๊บ ๆ ที่ผิวหนังเมื่อโดนสัมผัส
โดยอาการเหน็บที่ศีรษะ อาจจะเกิดจากอาการปลายเส้นประสาทอักเสบ หรือการที่เส้นประสาทถูกกดทับอย่างผิดท่านาน ๆ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนมีเหน็บอยู่ที่ศีรษะ มีอาการชา ทั้งนี้ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น วิงเวียน เจ็บแปล๊บบริเวณหนังศีรษะ อ่อนแรง เป็นต้น
เทคนิคการกดจุดแก้อาการเป็นเหน็บที่หัว
กดจุดใต้คิ้วทั้งสองข้าง
เบื้องต้นควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นอาการชาหนา ๆ เหมือนไม่รู้สึก เป็นครึ่งซีก มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ และในขณะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำท่าที่กดทับบริเวณที่เป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ ถ้านอนหมอนสูงแล้วสัมพันธ์กับอาการให้ลองเปลี่ยนเป็นหมอนที่ระดับพอดีกับศีรษะดูก่อน
กดนวดบริเวณขมับ
สำหรับจุดนี้ให้ใช้มือแตะด้านบนของหัว แล้วกางนิ้วโป้งลงกดบริเวณด้านขมับ หรือด้านบนของหู นวดวนด้วยแรงระดับกลาง 30 วินาที จะช่วยบรรเทาในเรื่องอาการเมื่อยล้าทางสายตา อาการวิงเวียนหูอื้อ และลดอาการปวดหัวได้ดี
กดจุดตรงกลางระหว่างคิ้ว
ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วที่ถนัดกดนวดด้วยแรงปานกลาง บริเวณหน้าผาก ตรงกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง นอกจากจะเป็นการกดจุดแก้ปวดหัวแล้ว ว่ากันว่าช่วยให้ความดันโลหิตไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย
การรักษาทางกายภาพบำบัด
เนื่องจากสาเหตุหลัก ๆ ของอาการชาที่ศีรษะเช่นนี้มักมาจากการปวดตึงหนังที่กล้ามเนื้อศีรษะ ซึ่งทางการรักษาทางกายภาพนั้นสามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) เพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดและความถี่ของการกำเริบ
ขั้นตอนการรักษานั้นจะนำหัวส่งคลื่นแม่เหล็กมาวางที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด ใช้เวลาเพียง 10-15 นาที โดยควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันประมาณ 3-5 ครั้ง หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ด้านสมองและระบบประสาทจะเป็นผู้ประเมินว่าต้องทำกี่ครั้งรวมถึงความถี่ในการทำต่อสัปดาห์
เบื้องต้นควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นอาการชาหนา ๆ เหมือนไม่รู้สึก เป็นครึ่งซีก มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ และในขณะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำท่าที่กดทับบริเวณที่เป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ ถ้านอนหมอนสูงแล้วสัมพันธ์กับอาการให้ลองเปลี่ยนเป็นหมอนที่ระดับพอดีกับศีรษะดูก่อน
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดหัวตุ้บ ๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- โรคหลอดเลือดสมอง: สัญญาณอันตรายของอัมพาต
- 5 เหตุผล ที่คนยุคใหม่ต้องไป “คลินิคกายภาพบำบัด” มากขึ้น